อำนาจ ชนะวงศ์
อำนาจ ชนะวงศ์ | |
---|---|
ไฟล์:อำนาจ ชนะวงศ์.jpg | |
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ดำรงตำแหน่ง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ ชนะวงศ์ เป็นอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 2 สมัย และเป็น 1 ใน 3 คนที่คิดริเริ่มการจัดทำนโยบายกองทุนหมู่บ้านของพรรคกิจสังคม[1]
ประวัติ
[แก้]ดร.อำนาจ ชนะวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของนายนิวัตร ชนะวงศ์ กับนางสมบูรณ์ ชนะวงศ์ และ เป็นหลานของนาย กระแส ชนะวงศ์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซานคาร์ลอส ประเทศฟิลิปปินส์ ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอก สาขาการบริหารการศึกษา จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2550 และ นายอำนาจ ชนะวงศ์ มีบุตรสาว 1 คน และบุตรชาย 1 คน
การทำงาน
[แก้]ดร.อำนาจ ชนะวงศ์ เริ่มทำงานเป็นเลขานุการประธานที่ปรึกษา UNFPA ประจำสำนักงาน ณ ประเทศบังคลาเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2526 ต่อมาเป็นผู้จัดการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของบริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น รวมทั้งเป็นโฆษกพรรคพลังธรรม[2] ในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และสังกัดพรรคกิจสังคม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา[4][5] และในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[6] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
หลังจากนั้นเขาได้วางมือทางการเมือง และเข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำที่วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 จึงย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[7][8][9][10] โดยมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2561
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[11]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คุณฟ้าลั่น ณ วิชัย
- ↑ เปิดแฟ้มย้อนรอย : เส้นทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร (3)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๗/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายอำนาจ ชนะวงศ์)
- ↑ https://db.sac.or.th/clipping/public/library/1996/11/253904424.pdf
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๙๔/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการเมือง (นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล, นายอรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์, นายเรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์, นายอำนาจ ชนะวงศ์)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๒๔/๒๕๓๙ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายวราเทพ รัตนากร, นายสุนัย จุลพงศธร, นายอำนาจ ชนะวงศ์, นางกนลา ขันทปราบ)
- ↑ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลเชิงระบบในการดำเนินงานของ คณะกรรมการสถานศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์
- ↑ "วารการบริหารและพัฒนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-31. สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
- ↑ http://cheqa.rmuti.ac.th/rmuti_3200/2556/FTE4/4.4.1/4.4.1-6.pdf
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๔๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดขอนแก่น
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
- พรรคพลังธรรม
- พรรคกิจสังคม
- พรรคมหาชน
- พรรคชาติไทย
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- บุคคลจากวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย