พรรณสิริ กุลนาถศิริ
พรรณสิริ กุลนาถศิริ ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม 2553 – 9 มิถุนายน 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | มานิต นพอมรบดี |
ถัดไป | ต่อพงษ์ ไชยสาส์น |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | รำเพย เทพสุทิน 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย |
พรรค | เพื่อไทย |
คู่สมรส | ถาวร กุลนาถศิริ |
ศาสนา | พุทธ |
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ นามเดิม รำเพย เทพสุทิน (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นน้องสาวของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา
ประวัติ[แก้]
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เป็นน้องสาวของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย แกนนำกลุ่มมัชฌิมา พรรคภูมิใจไทย สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรการศึกษา (ปกศ.) จากวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ระดับปริญญาตรีด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก (พ.ศ. 2523) ปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา และสาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาเอก สาขาพัฒนาสังคม จากมหาวิทยาลัยนเรศวร (พ.ศ. 2553)
การทำงาน[แก้]
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ เริ่มรับราชการครู ในปี พ.ศ. 2523 ในตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งสุดท้ายหลังจากเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในปี พ.ศ. 2552 คือ รองผู้อำนวยการโรงเรียนอุดมดรุณี จังหวัดสุโขทัย[1]
งานการเมือง[แก้]
ต่อมาภายหลังจากที่นายมานิต นพอมรบดี ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีกระแสข่าวในการแต่งตั้งบุคคลเป็นรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างหลายคน อาทิ ประศาสตร์ ทองปากน้ำ อุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ แต่สุดท้ายเพื่อเป็นทางออกของปัญหาภายในพรรคภูมิใจไทย จึงมีมติเสนอชื่อ ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ ดำรงตำแหน่งนี้แทน[2] ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553[3] แต่จากการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพล ในปี พ.ศ. 2553 กลับพบว่า ดร.พรรณสิริ ยังเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก ในอันดับที่ 3 (ร้อยละ 40.1)[4] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี (ในขณะรักษาการ) เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย[5] และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัยในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2549 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "น้องสมศักดิ์ รมช.สธ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-21. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
- ↑ นายกฯเตรียมนำชื่อ5รมต.ใหม่ ทูลเกล้าฯ "สมศักดิ์"กล่อมน้องสาวนั่ง รมช.สธ. "ประจักษ์"ยอมรับถูกปลดพ้นรมต
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ เอแบคโพลล์เผย 5 รมต.โลกลืม" นริศรา -ชัยวุฒิ - พรรณสิริ - ศุภชัย -ไชยยศ "
- ↑ ""พรรณสิริ" ลาออกรมช.สธ.หวังชิงนายกอบจ.สุโบทัย ปัดปูทางพี่ชายกลับมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2011-06-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๒๘๐, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสุโขทัย
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- ครูชาวไทย
- ผู้บริหารสถานศึกษาชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
- พรรคภูมิใจไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- บุคคลจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์