นิคม แสนเจริญ
นิคม แสนเจริญ ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2485 อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี |
เสียชีวิต | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 (49 ปี) อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา |
พรรค | พรรคกิจสังคม (2526 - 2534) พรรคสามัคคีธรรม (2535) |
คู่สมรส | รัศมี แสนเจริญ |
นายนิคม แสนเจริญ (7 ตุลาคม พ.ศ. 2485 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 3 สมัย
ประวัติ[แก้]
นายนิคม แสนเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เป็นบุตรของนายฝอย กับ นางทองเพียร แสนเจริญ และเป็นน้องชายของนางสติล คุณปลื้ม ภรรยานายสมชาย คุณปลื้ม[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จาก โรงเรียนชลราษฎรอำรุง[2] และกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่ วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา สมรสกับ นางรัศมี แสนเจริญ (สกุลเดิม คุณจักร) มีบุตร-ธิดา 4 คน [3]
นิคม แสนเจริญ เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะเดินทางไปช่วยปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดในภาคอีสาน พร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน ตรงบริเวณแยกแสนเจริญ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 สิริอายุรวม 49 ปี
การทำงาน[แก้]
หลังจากจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นิคม ได้ช่วยกิจการทางบ้านด้วยการดำรงอาชีพชาวประมง จนได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมประมงจังหวัดชลบุรี[4] รวมถึงการเป็นรองประธานกรรมการสมาคมประมงแห่งประเทศไทย
งานการเมือง[แก้]
นิคม เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ใน พ.ศ. 2524 ต่อมาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 3 สมัย[5]
นิคม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2531 ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
นิคม แสนเจริญ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2533 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2532 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เจาะชีวิต'เจ้าพ่อภาคตะวันออก'สูงสุดสู่สามัญ
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2531. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2531
- ↑ หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นายนิคม แสนเจริญ ณ เมรุวัดแจ้งเจริญดอน จ.ชลบุรี 23 พฤษภาคม 2535
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดชลบุรี. รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2552
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2535
- บุคคลจากอำเภอพานทอง
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
- พรรคกิจสังคม
- พรรคสามัคคีธรรม
- บุคคลจากโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย