สายสุรี จุติกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สายสุรี จุติกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2535
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (90 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสกวี จุติกุล

รองศาสตราจารย์ ดร.สายสุรี จุติกุล ที่ปรึกษาด้านสตรี เด็ก เยาวชน การศึกษาและพัฒนาสังคมสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2534 – 2535 รัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ในคณะรัฐมนตรีที่ 47 และคณะรัฐมนตรีที่ 49 และอดีตคณบดีคนแรกของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประวัติ[แก้]

รศ. ดร.สายสุรี จุติกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ( Cum Laude ) สาขาดนตรีและสาขาการศึกษา จาก Whitworth College, Spokane, Washington สหรัฐอเมริกา ในระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษาจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาเอก สาขาจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนวจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 26

ด้านชีวิตครอบครัว รศ.สายสุรี สมรสกับ รองศาสตรจารย์ ดร.กวี จุติกุล อดีตคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บุตรธิดา 2 คน คือ

  • นายกานต์ จุติกุล
  • นางสาวสิรี จุติกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน[แก้]

  • ที่ปรึกษาด้านสตรี เด็ก เยาวชน การศึกษาและพัฒนาสังคมสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน
  • ที่ปรึกษานายกสมาคมโซคาในประเทศไทย

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • ที่ปรึกษานายกสมาคมโซคาในประเทศไทย พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน
  • นายกสมาคมโซคาในประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2561
  • อุปนายกสมาคมโซคาในประเทศไทย พ.ศ. 2536 – 2541
  • ที่ปรึกษาด้านสตรี เด็ก เยาวชน การศึกษาและพัฒนาสังคม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คณะรัฐบาล ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน 1 และ 2) พ.ศ. 2534 – 2535
  • ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีด้านสตรีและเด็ก เยาวชน การศึกษา และพัฒนาสังคม พ.ศ. 2532 – 2535
  • เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงาน เยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2526 – 2532
  • รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2523 – 2526
  • รองโฆษกรัฐบาล สำนักนายกรัฐมนตรี (คณะรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 1) พ.ศ. 2523 – 2524
  • ผู้อำนวยการโครงการจัดทำนโยบายและแผนพัฒนาเด็ก ระยะยาว อายุ 0 – 14 ปี พ.ศ. 2523 – 2524
  • UNIGEF Consultant ด้านวางแผนพัฒนาสังคม United Nations Asian and Pacitic Development Institute, ESCAP พ.ศ. 2518 – 2521
  • UN Consuitant ด้านการวางแผนพัฒนาการศึกษา Trust Teritory Of the Pacitic Islands พ.ศ. 2519
  • คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2512 – 2518
  • ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2513 – 2517
  • อาจารย์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2500-2511
  • ประธานคณะอนุกรรมการด้านครอบครัว ในคณะกรรมการ ส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) สำนักนายกรัฐมนตรี
  • ประธาน คณะอนุกรรมการการศึกษา อาชีพ และวัฒนธรรม ในคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) สำนักนายกรัฐมนตรี
  • ประธาน คณะอนุกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนปัญญาเลิศ
  • ประธานอนุกรรมการวางแผนการศึกษาเพื่อเด็กเร่ร่อน
  • ประธานคณะอนุกรรมการวงดุริยางค์เยาวชนไทย สำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
  • ประธานคณะกรรมการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น (แต่งตั้งโดย นายกรัฐมนตรี)
  • นายกสภามหาวิทยาลัยพายัพ
  • กรรมการคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.)
  • กรรมการคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กรรมการสภาวิทยาลัยคริสเตียน
  • กรรมการ Board of Governors, International Development Research Centre (IDRC : Canada )
  • กรรมการ Board of Trustees, Thailand Development Research Institute (TDRI)
  • กรรมการ Board of Trustees, United Board for Christian Higher Education in Asia ( U.S.A.)
  • กรรมการ Board of Trustees, Asian Institute of Technology (AIT)
  • กรรมาธิการ สหประชาชาติว่าด้วยสถานภาพสตรี (UN Commission of the Status of Women)
  • ประธานคณะอนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับการคุ้มครองครูสิทธิเด็ก สำนักงานข้าราชการครู กระทรวงศึกษาธิการ

ประสบการณ์ทางการเมือง[แก้]

ในสมัยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ปี พ.ศ. 2534-2535[1][2] ได้ริเริ่มและผลักดันงานที่เกี่ยวกับสตรี เด็ก เยาวชน การศึกษาและพัฒนาสังคม โดย

  • ริเริ่มรณรงค์และผลักดันคณะรัฐมนตรียกเลิก ปร.ฉบับที่ 337 ตลอดจนการออกพระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 ให้บุตรที่เกิดแก่สตรีไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติได้รับสัญชาติไทย
  • แก้ไขระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการสตรี ในประเด็นการลาคลอดบุตร โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ลาคลอดได้ 90 วัน (จากเดิม 60 วัน) โดยใช้วันลาอื่นมาสมทบได้ และดำเนินการต่อเนื่องจนไม่ต้องใช้วันลาอื่นมาสมทบ
  • ผลักดันกระทรวงมหาดไทยให้มีการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานสตรีให้ขยายเวลา การลาคลอดของลูกจ้างหญิง
  • รณรงค์และผลักดันเรื่องสิทธิเด็กให้รัฐบาลลงนามรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ
  • รณรงค์และผลักดันให้นายกรัฐมนตรีลงนามในสัตยาบันเรื่องการพัฒนาเด็กของสหประชาชาติ
  • ริเริ่มและดำเนินการให้กระทรวงศึกษาธิการ ให้เด็กไทยที่ไม่มีสูติบัตรและใบทะเบียนบ้านได้มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และเด็กได้รับเอกสารหลักฐานการเรียนเพื่อให้สามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้
  • เสนอคณะรัฐมนตรีให้ปี 2535 เป็นปีสตรีไทย และริเริ่มให้มีการจัดสรรงบประมาณแก่จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อการพัฒนาสตรีเนื่องในโอกาสปีสตรีไทย รณรงค์ให้ยุติการเที่ยวโสเภณีกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • รณรงค์ให้บิดาและสามี มีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูบุตรและงานของครอบครัว รวมทั้งรณรงค์เพื่อเพิ่มความมั่นคงของครอบครัว
  • รณรงค์ให้มีการแก้กฎหมายปรามการค้าประเวณี โดยเฉพาะให้เพิ่มโทษแก่ผู้เที่ยว ผู้ค้า ผู้บังคับเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการค้าเด็ก

ประสบการณ์ด้านดนตรีและวัฒนธรรม[แก้]

  • ประธานจัดการแข่งขันเปียโนของเยาวชนหลายครั้ง รวมทั้งการแข่งขันเปียโนของสมาคมโชแปง
  • ประธานจัดการฝึกอบรมและการแสดงของเยาวชน ASEAN ด้านดนตรีสากล 2 ครั้ง
  • เป็รผู้เล่นเปียโนในการแสดงคอนเสริทเพื่อการกุศลร่วมกับวงดุริยางค์ทหารเรือ และวงดุริยางค์ Bangkok Symphony Orchestra
  • เป็นผู้แต่งเพลง “ สายทิพย์” ฯลฯ
  • ประธานมูลนิธิผู้หญิงเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย
  • รองประธานมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์
  • รองประธานมูลนิธิส่งเสริมดนตรีสากลเยาวชน

เกียรติคุณของสกุล "จุติกุล"[แก้]

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๙
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๗, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘