ชูพงศ์ ถี่ถ้วน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชูพงศ์ ถี่ถ้วน
Chu pong.jpg
เกิด28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 (71 ปี)
จังหวัดพังงา, ประเทศไทย
ศิษย์เก่าโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
ส่วนสูง1.85 เมตร (6 ฟุต 1 นิ้ว)[1]
พรรคการเมืองความหวังใหม่

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในต่างประเทศ อดีตนักการเมืองชาวไทย เลขาธิการศูนย์กลางประชาชนแห่งประเทศไทยและประธานชมรมคนรู้ใจ ปัจจุบันมีชื่อในกลุ่มผู้ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวต่อ คสช. และถูกออกหมายจับ ในฐานะผู้ที่ไม่ไปรายงานตัวคดีมาตรา 112[2][3] เขาย้ายไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา[4]

ประวัติ[แก้]

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่จังหวัดพังงา จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน และจบโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม[5]

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เป็นเคลื่อนไหวด้านแรงงาน สมาชิกสหภาพรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งร่วมกับทนง โพธิ์อ่าน สมศักดิ์ โกศัยสุข[6] และเป็นอดีตประธานสหภาพแรงงานประปาส่วนภูมิภาค[7] โดยชูพงศ์ ถี่ถ้วน ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นกรรมการฝ่ายลูกจ้าง เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2528[8] และได้ลาออกจากกรรมการแรงงานสัมพันธ์ฝ่ายลูกจ้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2528[9] และกลางปี พ.ศ. 2529 กลุ่มทนง โพธิ์อ่านมีความขัดแย้งกับกลุ่มนายชูพงศ์ ถี่ถ้วน ในเรื่องปัญหาการตีความสถานภาพของกรรมการสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย[10]

บทบาทการเมือง[แก้]

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เคยเข้าสู่การเมืองโดยเป็นผู้สมัครเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่จังหวัดพังงา สังกัดพรรคความหวังใหม่ ซึ่งแข่งกับ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ผลปรากฏว่า จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ได้รับการเลือกตั้ง[11] ต่อมาเป็นเลขาธิการประจำคณะกรรมาธิการแรงงาน (พ.ศ. 2544-2548)[12] และเป็นคณะที่ปรึกษาประธานประจำคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง (พ.ศ. 2548-2549)[13]

การเคลื่อนไหวทางสังคม[แก้]

สภาปฏิวัติแห่งชาติ[แก้]

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เจ้าของทฤษฎีปฏิวัติประชาธิปไตย ที่ยืนอยู่คนละด้านกับแนวทางชนบทล้อมเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและได้มีส่วนร่วมในสภาปฏิวัติแห่งชาติ ซึ่งต่อถูกจับกุมด้วยข้อหาทำลายความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมกับพวกรวม 14 คน

การประท้วงคมชัดลึก[แก้]

ชูพงศ์ ถี่ถ้วนขึ้นเวทีม็อบแท็กซี่ที่ขนส่งหมอชิต โดยการชักชวนของไกรวัลย์ เกษมศิลป์ จนกลายเป็นแกนนำกลุ่มสมาพันธ์พิทักษ์ประชาธิปไตย[14] ภายหลังย้ายสถานที่ชุมนุมจากหมอชิต มาสมทบกับกลุ่มของนายคำตา แคนบุญจันทร์ เลขาธิการสมัชชาคนจน[15]

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 กลุ่มคาราวานคนจน ที่เป็นกลุ่มที่นำหนังสือพิมพ์มาแสดงเป็นกลุ่มแรก บนเวทีปราศรัยสวนจตุจักร จำนวนนับพันคน นำโดย นายคำตา แคนบุญจันทร์ นายอรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายประยูร ครองยศ นายทองเจือ ชาติกิจเจริญ เป็นต้น[16] เคลื่อนขบวนจากสวนจตุจักร มาชุมนุมหน้าอาคารอินเตอร์ลิงก์ทาวเวอร์ เพื่อประท้วงคมชัดลึก จากการนำเสนอข่าวประจำวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งกล่าวในทำนองว่า หากผู้รับสนองพระบรมราชโองการไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดของพระราชกฤษฎีกาแล้ว จะให้ใครรับผิดชอบ ซึ่งทำให้ประชาชนฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนายสนธิ และหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นจำนวนมาก ในหลายพื้นที่

เหตุการณ์ในครั้งนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ นักวิชาการ สื่อมวลชน รวมถึงนิสิต นักศึกษา ได้ยกย่องและให้กำลังใจในการแสดงความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก และประณามการกระทำของกลุ่มมวลชนบางกลุ่มที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง ในการคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชน[17]

ต่อมาวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก นายคำตา แคนบุญจันทร์ สมัชชาเกษตรรายย่อย , นายอรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ เลขาธิการคาราวานคนจน , นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน , นายธนวิชญ์ ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา แกนนำคาราวานคนจน , นายชินวัฒน์ หาบุญพาด แนวร่วม นปช. และ นายสำเริง อดิษะ แกนนำคาราวานคนจน เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐาน ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย, กักขัง หน่วงเหนี่ยว และ พรบ.ควบคุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 กรณีนำกลุ่มผู้ชุมนุมไปปิดล้อมอาคารอินเตอร์ลิงก์ ทาวเวอร์[18]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549[แก้]

ภายหลังเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ชูพงศ์ได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศกรณีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549[19] ซึ่งต่อมาได้ก่อตั้งวิทยุชุมชนคนรู้ใจ คลื่น 87.75 ร่วมกับไกรวัลย์ เกษมศิลป์[7] และยูนิตี้เรดิโอ เอฟเอ็ม 89.75 วิทยุชุมชนเพื่อความสมานฉันท์ของคนในชาติ ร่วมกับชินวัฒน์ ก็มีชื่อเป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับชินวัฒน์ หาบุญพาด จตุพร พรหมพันธุ์ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ[15] ซึ่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ทักษิณ ชินวัตร ไดโทรศัพท์มายังสถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ ในรายการจิ้งจกคาบข่าว[20] ซึ่งได้นำคำสัมภาษณ์ของทักษิณ ชินวัตรในรายการ ไปเผยแพร่ในเว็บ www.chupong.com โดยบนเว็บไซต์ได้จัดทำแบบฟอร์มให้ประชาชนร่วมลงชื่อเป็นมติปวงชนชาวไทย โดยเรียกร้อง 4 ข้อ คือ การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ยินยอมให้มีการทำรัฐประหาร และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ จัดการเลือกตั้งภายในปี 2550[20]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557[แก้]

ชูพงศ์ ถี่ถ้วนมีชื่อในกลุ่มผู้ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวต่อ คสช. และถูกออกหมายจับ ในฐานะผู้ที่ไม่ไปรายงานตัวคดีมาตรา 112 ซึ่งปัจจุบันชูพงศ์ ถี่ถ้วน ยังคงพักอาศัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และจัดรายการออนไลน์ผ่านโลกออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง ผ่านสถานี ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ[21] และในปี พ.ศ. 2560 ชูพงศ์ ถี่ถ้วน ได้ก่อตั้งพรรคไทยก้าวหน้า ซึ่งมีอุดมการณ์พรรคคือ การเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย ให้เป็นระบอบประชาธิปไตย และมีหลักการปกครอง 5 ประการ คือ อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชน เสรีภาพ เสมอภาค ยึดหลักกฎหมาย และการเลือกตั้ง[22]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ส่วนสูงใบประกาศจับ".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. (รายงาน) เปิด "24ผู้ลี้ภัย" คดีมาตรา112 ซ่อนตัวใน10ประเทศ?
  3. ศาลทหารออกหมายจับ 28 ราย หลังไม่เข้ารายงานตัวตามคำสั่ง คสช.
  4. "แดงพเนจร "ชูพงศ์" หนีโควิด เผ่นเข้ายุโรป". คมชัดลึกออนไลน์. 2020-08-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. เปิดปูมแดงนอก 'เอนก ซานฟราน' กับคดีบึ้มศาลอาญา
  6. สหภาพกับการเมือง
  7. 7.0 7.1 ยามเฝ้าแผ่นดิน : แฉปูมหลังหัวโจกม็อบไล่ป๋า “เด็กราม-คนใต้-เกลียด ปชป.”
  8. ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นกรรมการฝ่ายลูกจ้าง
  9. ได้ลาออกจากกรรมการแรงงานสัมพันธ์ฝ่ายลูกจ้าง
  10. อัญชลี ค้อคงดา, สหภาพแรงงานและแรงงานสัมพันธ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2532, หน้า 36
  11. เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539 (หน้า 268)
  12. คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร พบประชาชน (หน้า 11)
  13. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร เอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 (หน้า 19)
  14. '8 แกนนำ' เชียร์ทักษิณ รุ่นแรก จากคาราวานคนจน ส่งผล 'แดงทั้งแผ่นดิน'
  15. 15.0 15.1 เบื้องหลังวิทยุชุมชน-คนรักทักษิณ
  16. เว็บไซต์ นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน ศูนย์กลางประชาชนแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ เอฟ.เอ็ม.87.75 MHz.
  17. แถลงการณ์ร่วมสมาคมวิชาชีพสื่อ เรื่อง ขอให้หยุดคุกคามการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เก็บถาวร 2020-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  18. "จำคุก นปช. คาราวานคนจน ล้อมเนชั่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-24.
  19. ชำแหละชูพงศ์ คนหัวขาด !!
  20. 20.0 20.1 สถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ
  21. เพิ่งตื่น! “จอม” เผย “แดงนอก-แดงหนีคดีหมิ่น” ในสหรัฐฯ จัด “วิ่ง ไล่ ลุง” อ้างเฉย เพื่ออนาคตลูกหลานไทย
  22. จับตา! เครือข่ายล้มเจ้าเคลื่อนไหวรอบใหม่! นับหนึ่งหลังเสร็จพระราชพิธี เริ่มศักราชใหม่การต่อสู้!
  23. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]