สภากรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร | |
---|---|
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร |
ผู้บริหาร | |
ประธานสภา | สุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา, เพื่อไทย |
รองประธานสภาคนที่ 1 | วิพุธ ศรีวะอุไร, เพื่อไทย |
รองประธานสภาคนที่ 2 | ฉัตรชัย หมอดี, ประชาชน |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 50 คน |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายข้างมาก (36)
ฝ่ายข้างน้อย (13)
อิสระ (1)
|
การเลือกตั้ง | |
ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 22 พฤษภาคม 2565 |
ที่ประชุม | |
ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร | |
เว็บไซต์ | |
bmc.go.th |
สภากรุงเทพมหานคร (ตัวย่อ: สก.) เป็นองค์กรฝ่ายสภาของกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบและดูแลการบริหารราชการกรุงเทพมหานครของฝ่ายบริหาร ซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้าคณะ ปัจจุบันมีนายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตลาดกระบัง เป็นประธานสภากรุงเทพมหานคร, นายวิพุธ ศรีวะอุไร สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตบางรัก เป็นรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 1 และนายฉัตรชัย หมอดี สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตบางนา เป็นรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 2
โครงสร้าง
[แก้]สภากรุงเทพมหานครมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ซึ่งมีจำนวนและวาระแตกต่างกันไปแล้วแต่กำหนด
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
[แก้]สำหรับสภากรุงเทพมหานครชุดที่ 13 สมาชิกสภา 50 คนมาจากการเลือกตั้งระบบแบ่งเขต โดยมีสมาชิก 1 คนต่อ 1 เขตของกรุงเทพมหานคร มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร อันเป็นตัวแทนภาระหน้าที่รับผิดชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ในปี 2553 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีจำนวนทั้งสิ้น 61 คน โดยเริ่มจากการเลือกตั้ง ส.ก.ส.ข.ในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เนื่องจากมีเขตทั้งหมด 5 เขตมีประชากรมากขึ้น ได้แก่ เขตบางขุนเทียน, เขตลาดกระบัง, เขตประเวศ, เขตคลองสามวา, เขตบางกะปิ โดยเขตที่มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ได้มากกว่า 1 คน จะต้องเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 150,000 คน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 11 เขตที่จะมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้มากกว่า 1 คน คือ 2 คน ได้แก่ เขตบางเขน, เขตจตุจักร, เขตสวนหลวง, เขตดอนเมือง, เขตสายไหม, เขตลาดกระบัง, เขตคลองสามวา, เขตประเวศ, เขตจอมทอง, เขตบางแค, เขตบางขุนเทียน[1]
สภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 13 หรือชุดปัจจุบัน มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 จำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 50 คน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คณะกรรมการสามัญ
[แก้]ชื่อ | ประธาน | พรรค | |
---|---|---|---|
คณะกรรมการกิจการสภา | จิรเสกข์ วัฒนมงคล | เพื่อไทย | |
คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุม | ศิริพงษ์ ลิมปิชัย | เพื่อไทย | |
คณะกรรมการการศึกษา | ลักขณา ภักดีนฤนาถ | ประชาชน | |
คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง | นภาพล จีระกุล | ประชาธิปัตย์ | |
คณะกรรมการการสาธารณสุข | กนกนุช กลิ่นสังข์ | เพื่อไทย | |
คณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม | ยิ่งยงค์ จิตเพียรธรรม | ประชาชน | |
คณะกรรมการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และการงบประมาณ | สุทธิชัย วีรกุลสุนทร | เพื่อไทย | |
คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย | นวรัตน์ อยู่บำรุง | เพื่อไทย | |
คณะกรรมการการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม | สุชัย พงษ์เพียรชอบ | กลุ่มรักษ์กรุงเทพ | |
คณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง | รัตติกาล แก้วเกิดมี | ไทยสร้างไทย | |
คณะกรรมการการระบายน้ำ | สัณห์สิทธิ์ เนาถาวร | ประชาชน | |
คณะกรรมการการวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการกีฬา | พินิจ กาญจนชูศักดิ์ | ประชาธิปัตย์ |
ค่าตอบแทน
[แก้]สมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้รับค่าตอบแทน 48,450 บาทต่อเดือน รองประธานสภาฯ ได้รับค่าตอบแทน 61,140 บาทต่อเดือน และประธานสภาฯ ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 73,560 บาทต่อเดือน[2]
ลำดับสภากรุงเทพมหานคร
[แก้]ชุดที่ | จำนวนสมาชิก | ระยะการดำรงตำแหน่ง | การเลือกตั้ง |
---|---|---|---|
1 | 46[3] | 16 เมษายน พ.ศ. 2516 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 | มาจากการแต่งตั้ง |
2 | 41[4] | 2518 - 2520 | |
3 | 45 | 2520 - 2527 | มาจากการแต่งตั้ง |
4 | 40 | 2527 - 2528 | มาจากการแต่งตั้ง |
5 | 46[5] | 2528 - 2532 | |
6 | 57[6] | 7 มกราคม พ.ศ. 2533 – 6 มกราคม พ.ศ. 2537 | |
7 | 55 | 6 มีนาคม พ.ศ. 2537 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2541 | |
8 | 60 | 26 เมษายน พ.ศ. 2541 – 25 เมษายน พ.ศ. 2545 | |
9 | 61 | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2549 | |
10 | 57[7] | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 | |
11 | 61[8] | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 15 กันยายน พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2553 |
12 | 30[9] | 15 กันยายน พ.ศ. 2557 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | มาจากการแต่งตั้ง |
13 | 50 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน | พ.ศ. 2565 |
รายชื่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
[แก้]ประธานสภากรุงเทพมหานครจะดำรงตำแหน่ง 2 ปี จากนั้นจะมีการลงมติใหม่อีกครั้ง
ลำดับ | ชื่อ[10] | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
---|---|---|---|
1 | พระยามไหสวรรค์ | 16 เมษายน 2516 | 20 มีนาคม 2518 |
2 | สนอง ปรัชญนันท์ | 21 เมษายน 2518 | 10 สิงหาคม 2518 |
3 | พันตำรวจตรีเชาวลิต สิงห์เจริญ | 26 ธันวาคม 2518 | 29 เมษายน 2520 |
4 | กำจัด ผาติสุวัณณ | 13 พฤษภาคม 2520 | 30 พฤศจิกายน 2527 |
5 | ดำรง สุนทรศารทูล | 11 ธันวาคม 2527 | 7 ตุลาคม 2528 |
6 | ไพโรจน์ ประเสริฐ | 25 พฤศจิกายน 2528 | 24 พฤศจิกายน 2530 |
7 | ประวิทย์ รุจิรวงศ์ | 25 พฤศจิกายน 2528 | 13 พฤศจิกายน 2532 |
8 | ประเสริฐ นาสมพันธ์ | 18 มกราคม 2533 | 16 มกราคม 2535 |
17 มกราคม 2535 | 21 มกราคม 2535 | ||
22 มกราคม 2535 | 6 มกราคม 2537 | ||
9 | อรรถ แพทยังกุล | 9 มีนาคม 2537 | 8 มีนาคม 2539 |
10 | ศราวุฒิ ปฤชาบุตร | 3 เมษายน 2539 | 5 มีนาคม 2541 |
11 | วิสูตร สำเร็จวาณิชย์ | 4 พฤษภาคม 2541 | 25 พฤษภาคม 2542 |
12 | เอนก หุตังคบดี | 26 พฤษภาคม 2542 | 3 พฤษภาคม 2543 |
13 | ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ | 4 พฤษภาคม 2543 | 25 เมษายน 2545 |
14 | สามารถ มะลูลีม | 24 มิถุนายน 2545 | 23 มิถุนายน 2547 |
15 | ธนา ชีรวินิจ | 24 มิถุนายน 2547 | 15 มิถุนายน 2549 |
16 | ธวัชชัย ปิยนนทยา | 10 พฤศจิกายน 2549 | 9 พฤศจิกายน 2551 |
17 | กิตพล เชิดชูกิจกุล | 10 พฤศจิกายน 2551 | 22 กรกฎาคม 2553 |
18 | สุทธิชัย วีรกุลสุนทร | 7 ตุลาคม 2553 | 6 ตุลาคม 2555 |
19 | พิพัฒน์ ลาภปรารถนา | 8 ตุลาคม 2555 | 28 สิงหาคม 2557 |
20 | ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ | 24 กันยายน 2557 | 6 กุมภาพันธ์ 2563 |
21 | นิรันดร์ ประดิษฐกุล | 12 กุมภาพันธ์ 2563 | 25 กันยายน 2563 |
22 | คำรณ โกมลศุภกิจ | 25 กันยายน 2563 | 17 พฤษภาคม 2565 |
23 | วิรัตน์ มีนชัยนันท์ | 6 มิถุนายน 2565 | 5 มิถุนายน 2567 |
24 | สุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา | 6 มิถุนายน 2567 | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คอลัมน์ เปิดศึกเลือกตั้งส.ก. ส.ข.ทำยังไง ??? ได้ครองใจคนกรุง โดย จิรา จิราสิต หนังสือพิมพ์เดลินิวส์หน้า 24: ฉบับวันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
- ↑ "ทำความรู้จัก ส.ก.เป็นใคร-ทำหน้าที่อย่างไร ก่อนถึงเลือกตั้ง 22 พ.ค.65". กรุงเทพธุรกิจ. 9 April 2022. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
- ↑ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครชุดที่ ๑ (๑๖ เมษายน ๒๕๑๖ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๘)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตเลือกตั้งและจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เล่ม ๙๒, ตอนที่ ๙๔, ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่พึงมีในแต่ละเขตเลือกตั้ง เล่ม ๑๐๒, ตอนที่ ๑๓๕, ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๒๗ กันยายน ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเขตเลือกตั้งและจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จำทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง เล่ม ๑๐๖, ตอนที่ ๒๐๓, ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เล่ม ๑๒๓, ตอนที่ ๖๖ ก, หน้า ๓๖, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เล่ม ๑๒๗, ตอนที่ ๕๒ ก, หน้า ๒๓, ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๖/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว เล่ม ๑๓๑, ตอนที่ ๑๓๔ ง, หน้า ๑๕, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
- ↑ "อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร". BMC.
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคที่มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครยาวนานที่สุด นับตั้งแต่สภาชุดที่ 5 เป็นต้นมา (ยกเว้นสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 12 ซึ่งมาจากการแต่งตั้งจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ)
- พรรคพลังธรรม เป็นพรรคที่เคยมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 50 คน จากทั้งหมด 57 คน ในสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 7
- กำจัด ผาติสุวัณณ เป็นประธานสภากรุงเทพมหานครที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด รวมเวลาทั้งสิ้น 7 ปี