พล เริงประเสริฐวิทย์
พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 22 มกราคม พ.ศ. 2524 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 |
เสียชีวิต | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (66 ปี) |
พรรคการเมือง | พรรคความหวังใหม่ |
คู่สมรส | ยุพิน (ล่ำซำ) เริงประเสริฐวิทย์ |
พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี
ประวัติ[แก้]
พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473[1] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก [2]
พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[3] สิริอายุรวม 66 ปี
งานการเมือง[แก้]
พันเอก พล ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2538[4]
พันเอก พล ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2523 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[5] และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 42 และ 45) ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[6] และ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[7]
พันเอก พล เป็นหัวหน้าพรรคคนแรกของพรรคสยามประชาธิปไตย[8] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคสหประชาธิปไตย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ดังนี้
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย (พ.ศ. 2525)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2531 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติย่อ พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2531. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2531
- ↑ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (สยามประชาธิปไตย) เล่ม 100 ตอนที่ 8 วันที่ 20 มกราคม 2526
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม 105 ตอน 201ง วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2539
- บุคคลจากจังหวัดอุทัยธานี
- บุคคลจากจังหวัดอ่างทอง
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี
- พรรคสหประชาธิปไตย
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคความหวังใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.