วิทยา บุรณศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยา บุรณศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
(1 ปี 80 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ถัดไปประดิษฐ สินธวณรงค์
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน พ.ศ. 2553 – 19 เมษายน พ.ศ. 2554
(0 ปี 216 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มกราคม พ.ศ. 2503
อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
เสียชีวิต15 กันยายน พ.ศ. 2565 (62 ปี)
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2565)

วิทยา บุรณศิริ (12 มกราคม พ.ศ. 2503 – 15 กันยายน พ.ศ. 2565) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และ อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

วิทยา บุรณศิริ เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2503 ณ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายวิทูรและนางถาวร บุรณศิริ นายวิทยาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ จากสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา) และจบปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิทยาเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ก่อนที่พรรคจะถูกยุบในปี พ.ศ. 2550 จึงย้ายไปพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และดำรงตำแหน่งเป็นประธานวิปรัฐบาลในสมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาพรรคถูกยุบ วิทยาจึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย

ต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของพรรคร่วมรัฐบาลเดิม และกลุ่มเพื่อนเนวินซึ่งเดิมสังกัดพรรคพลังประชาชน ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน ทำให้วิทยาดำรงตำแหน่งเป็นประธานวิปฝ่ายค้าน

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 วิทยาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[1] ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[2]

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4] จนกระทั่ง เขาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565 สิริอายุรวม 62 ปี[5] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประสบการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ[แก้]

  • สภาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (17 ปี)
  • ประธานสภา อบจ.พระนครศรีอยุธยา
  • นายก อบจ.พระนครศรีอยุธยา
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2544,2548,2550
  • ประธานกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล)
  • รองประธานกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน
  • รองประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ
  • ประธานอนุกรรมาธิการศึกษาการเปิดคาสิโนให้ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศ
  • ประธานอนุกรรมาธิการศึกษาการฟอกเงิน
  • ประธานอนุกรรมาธิการศึกษาเส้นทาง East-West Corridor
  • ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) แลโครงการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.)
  • ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วม (วิป) ฝ่ายรัฐบาล (มกราคม พ.ศ. 2551 และ กรกฎาคม พ.ศ. 2554-2557)
  • ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วม (วิป) ฝ่ายค้าน (มกราคม พ.ศ. 2552-พฤษภาคม พ.ศ. 2554)

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • นายกสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ประธานชมรมกอล์ฟ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ที่ปรึกษาธุรกิจท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • หอการค้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  2. "กก.บริหาร พท.แห่ลาออก หวั่นถูกยุบพรรค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-20. สืบค้นเมื่อ 2011-04-24.
  3. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
  4. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ด่วน! 'วิทยา บุรณศิริ' แพทย์สุดยื้อชีวิตหลังช็อกหมดสติสิ้นลมแล้ว". เดลินิวส์. 2022-09-15. สืบค้นเมื่อ 2022-09-15.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
ก่อนหน้า วิทยา บุรณศิริ ถัดไป
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
ประดิษฐ สินธวณรงค์