วัลลภ ไทยเหนือ
วัลลภ ไทยเหนือ | |
---|---|
ไฟล์:วัลลภ ไทยเหนือ.jpg | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 กรุงเทพ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อแผ่นดิน (2550 - 2554) |
คู่สมรส | พวงทอง ไทยเหนือ |
นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประวัติ
[แก้]นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายแพทย์มะลิ ไทยเหนือ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์วัลลภ สมรสกับนางพวงทอง ไทยเหนือ มีบุตร 2 คน คือ นายวรพล ไทยเหนือ และนางสาววรพธู ไทยเหนือ
นายแพทย์วัลลภ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2512 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ - นรีเวช จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปสกินส์ สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2518 และปริญญาโท ทางสาธารณสุข จากเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล
การทำงาน
[แก้]นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมอนามัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ ในปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545 และตำแหน่งสุดท้ายคือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548 ก่อนจะถูกสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ปลดจากตำแหน่ง ซึ่งนายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ได้แถลงโต้เหตุโดนปลดว่าเป็นเพราะขวางการประมูลคอมพิวเตอร์มูลค่า 900 ล้าน[1]
ต่อมาได้เข้าทำงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[2] และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.[3]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ได้ลงสมัคร ส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่ม 4 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่สอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้หันมาร่วมกิจกรรมอย่างไม่เป็นทางการกับพรรคภูมิใจไทย[4] ต่อมาหลังการยุบสภาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้ลาออกจากพรรคเพื่อแผ่นดิน และประกาศวางมือทางการเมือง[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดประวัติรัฐมนตรีใหม่สุรยุทธ์ 5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอน พิเศษ 52ง วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2550
- ↑ "นพ.วัลลภ ไทยเหนือ ยื่นใบลาออกจาก รมช. สธ. แล้วและให้มีผลพรุ่งนี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-31. สืบค้นเมื่อ 2010-08-28.
- ↑ "พผ.ประชุมเช็คส.ส.เนื้อแท้ คุยมี18เสียงพร้อมหนุนรัฐบาลทำคลอดมากับมือ เผย 8คนซบภท. 3 ร่วมมภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-10-16.
- ↑ "หมอวัลลภ"ชัดแล้วขอเว้นวรรคการเมือง พร้อมยื่นใบลาออกจากพผ. แฉเริ่มจับจองกระทรวงกันแล้วจาก มติชน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๔๐, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- แพทย์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงสาธารณสุขไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- พรรคมาตุภูมิ
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา