กฤษณา สีหลักษณ์
กฤษณา สีหลักษณ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สาทิตย์ วงศ์หนองเตย องอาจ คล้ามไพบูลย์ |
ถัดไป | นลินี ทวีสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ |
พรรค | เพื่อไทย |
กฤษณา สีหลักษณ์ (เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย
ประวัติ[แก้]
กฤษณา สีหลักษณ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของนายสุนันท์ สีหลักษณ์ (อดีตนายกเทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์)[2] กับนางถนอมขวัญ สีหลักษณ์ สำเร็จการศึกษาด้านการบัญชี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]
การทำงาน[แก้]
กฤษณา สีหลักษณ์ เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองระดับชาติ โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน
และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 14 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[4]
การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี[แก้]
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5][6] ทำหน้าที่กำกับดูแลงานกรมประชาสัมพันธ์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย[7] ต่อมาได้ถูกปรับออกจากตำแหน่งในการปรับคณะรัฐมนตรี เดือนมกราคม พ.ศ. 2555[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กฤษณา สีหลักษณ์จาก ไทยรัฐ
- ↑ ยิ่งลักษณ์ เป็นปธ.พระราชทานเพลิง ‘สุนันท์ สีหลักษณ์’ ที่อุตรดิตถ์
- ↑ รัฐสภาไทย
- ↑ เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
- ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว! คณะรัฐมนตรี "ปู1″". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-09. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
- ↑ "ครม.แบ่งงานรองนายก"เฉลิมดูยธ.-กฤษฎีกา-สตช. /กิตติรัตน์คุมศก./ยงยุทธ งานปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-09-22.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
ก่อนหน้า | กฤษณา สีหลักษณ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย องอาจ คล้ามไพบูลย์ |
![]() |
![]() รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 60) (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555) |
![]() |
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล นลินี ทวีสิน นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดอุตรดิตถ์
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคไทยรักษาชาติ
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.