ดุสิต ศิริวรรณ
ดุสิต ศิริวรรณ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | |
นายกรัฐมนตรี | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ก่อนหน้า | สุรินทร์ มาศดิตถ์ นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ |
ถัดไป | บุญเรือน บัวจรูญ สมพร บุญยคุปต์ ถวิล รายนานนท์ |
ผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | |
นายกรัฐมนตรี | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ก่อนหน้า | วีระ มุสิกพงศ์ |
ถัดไป | กำจัด กีพานิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 | จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนา | พุทธ |
ดุสิต ศิริวรรณ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ประวัติ
[แก้]ดุสิต ศิริวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เป็นบุตรของนายประสงค์ กับ นางเอียง ศิริวรรณ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4010
งานราชการ
[แก้]ดุสิต ศิริวรรณ เคยเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา ต่อมาได้ไปช่วยราชการเป็นอาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นที่ปรึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ทั้งนี้ ยังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป[1]
งานการเมือง
[แก้]ดุสิต ศิริวรรณ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรี(ครม.) คณะที่ 39 ของประเทศไทย [2][3] และปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ในระหว่างปี พ.ศ. 2519- พ.ศ. 2520 เป็นอดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2516 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2535 และอดีตสมาชิกวุฒิสภาสองสมัยระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2543 [4] [5]
คดีหมิ่นประมาทอดีตรองผู้ว่าฯ กทม.
[แก้]ดุสิต ศิริวรรณ และนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งร่วมกันจัดรายการโทรทัศน์ "เช้าวันนี้ที่เมืองไทย" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) และ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ถูกนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา โดยทั้งสองกล่าวหาว่านายสามารถทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในรายการโทรทัศน์[6]
ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้สมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่สมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลมีคำสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทง ๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา[7] ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และนายดุสิต ศิริวรรณ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และใช้เงินสด 200,000 บาท ประกันตัวไป
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของนายสมัคร สุนทรเวช เนื่องจากถึงแก่ความตาย สำหรับกรณีของนายดุสิต ศิริวรรณ นั้น ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ให้แก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นให้รอการกำหนดโทษ เนื่องจากการกระทำของนายดุสิตฯ ตามที่โจทก์ฟ้องนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม นอกจากนี้ นายดุสิตฯ ได้ประกอบคุณงามความดี ตลอดจนไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่พิพากษาให้ลงโทษจำคุกนายดุสิตฯ นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยจึงพิพากษาแก้ให้รอการกำหนดโทษเป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 [8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (จำนวน ๗ ราย) วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ "ประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศวันที่ 22 ตุลาคม 2519". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ วาระการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 2543
- ↑ สองคู่หูกอดคอกันตาย 'ศาลสั่งจำคุก 2ปี' เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก กรุงเทพธุรกิจ 12 เมษายน พ.ศ. 2550
- ↑ คำพิพากษา สมัคร สุนทรเวช /ดุสิต ศิริวรรณ สำเนาจาก ผู้จัดการออนไลน์ 12 เมษายน 2550
- ↑ อ้างอิงจาก : คำพิพากษาฎีกาที่ 7251/2556 วันที่ 27 พฤษภาคม 2556 คดีระหว่างนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ โจทก์ นายสมัคร สุนทรเวช ที่ 1 นายดุสิต ศิริวรรณ ที่ 2 จำเลย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักธุรกิจชาวไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.