ไพโรจน์ ตันบรรจง
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
ดร.ไพโรจน์ ตันบรรจง | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 เมษายน พ.ศ. 2497 |
พรรค | เพื่อไทย รวมไทยสร้างชาติ |
ดร.ไพโรจน์ ตันบรรจง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา สังกัดพรรคเพื่อไทย 4 สมัย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จังหวัดพะเยา ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[1]
ประวัติ[แก้]
ไพโรจน์ ตันบรรจง จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอก สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮูสตัน สหรัฐอเมริกา เป็นน้องชายของนางพวงเล็ก บุญเชียง อดีตส.ส. พะเยา และเป็นพี่ชายของนายไพรัตน์ ตันบรรจง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และเป็นลุงของนายอนุรัตน์ ตันบรรจง ผู้สมัคร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย จังหวัดพะเยา[2]
ดร.ไพโรจน์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] และผู้ชำนาญการ กรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2553 เป็นหนึ่งในแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จังหวัดพะเยา ร่วมกับอรุณี ชำนาญยา และวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ซึ่ง ดร.ไพโรจน์ ได้ถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินสั่งอายัดทรัพย์ อันเนื่องมาจากในเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553
ดร.ไพโรจน์ ตันบรรจง เป็นหนึ่งในผู้ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเอเอสทีวีผู้จัดการ ได้กล่าวหาถึงการเบิกค่ารักษาพยาบาลจำนวนมากในขณะนั้นรวมถึงจำนวนวันที่นอนพักในโรงพยาบาลที่มากกว่าหนึ่งสัปดาห์ว่าไม่สมเหตุสมผล[4] โดยข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏแน่ชัด
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพะเยาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ เปิดเกมรุกกินโต๊ะพท.ยำใหญ่ภท.ขอเสียงคนกว๊าน
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๑/๒๕๔๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ งามหน้า! ส.ส.พปช. พะเยาอ้าง 7 ตุลา ดอดเบิก “เงินแสน” ค่าผ่าตัดตา[ลิงก์เสีย]
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- http://www.tdw.polsci.chula.ac.th/?q=politician/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%87 เก็บถาวร 2014-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.ptp.or.th/member/m-detail.aspx?ss_id=24 เก็บถาวร 2011-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ธันวาคม 2022
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลจากจังหวัดพะเยา
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.