พฤณท์ สุวรรณทัต
พฤณท์ สุวรรณทัต | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม 2555 – 22 พฤษภาคม 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ |
ถัดไป | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 เมษายน พ.ศ. 2495 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2552—ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ธาราณี สุวรรณทัต |
พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชุดที่ 3 อดีตที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น อดีตผู้บัญชาการทหารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[1]และเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10[2]
ประวัติ
[แก้]พล.อ.พฤณท์ เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2495 เป็นบุตรคนที่สามของ พล.อ.ทวนทอง สุวรรณทัต อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และคุณหญิงพร้อมพงศ์ มีพี่น้อง 4 คน ได้แก่
- พลเอก พฤทธิ์ สุวรรณทัต (ตท.10) อดีตเสนาธิการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
- พลเอก พฤกษ์ สุวรรณทัต (ตท.10) อดีตนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[3]อดีตที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม[4] [5]
- พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต (ตท.10) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลเอก พฤษภะ สุวรรณทัต (ตท.19) อดีตเจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ตุลาการทหารสูงสุด[6]
- พลโท พันลึก สุวรรณทัต (ตท.21) อดีตหัวหน้าสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และราชองครักษ์เวร[7]
จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา, พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ เป็นต้น[8] และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ด้านชีวิตครอบครัว พล.อ.พฤณท์ สมรสกับนางธาราณี สุวรรณทัต มีบุตรสาว 2 คน คือ
- นางสาวปาลิตา สุวรรณทัต สมรสกับ นายจักรพันธ์ เลิศวิเศษปัญญา
- นางสาวลริสสา สุวรรณทัต
การทำงาน
[แก้]พล.อ.พฤณท์ เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.), หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการ (เสธ.) ประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกรรมการบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในสมัยที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2534 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2523 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
- ↑ พล.ต.พฤณฑ์ สุวรรณทัต - ทหารค้ำบัลลังก์ 'ทักษิณ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา 2541
- ↑ กระทรวงกลาโหม และ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- ↑ ปธ.นิวเจนฯรับซี้ปึ้กพี่ชาย รมช.คมนาคม-แต่"สาบาน"ไม่เคยใช้เส้นสาย
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/209/2.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/195/1.PDF
- ↑ พล.ต.พฤณฑ์ สุวรรณทัต - ทหารค้ำบัลลังก์ 'ทักษิณ'[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑