พงส์ สารสิน
พงส์ สารสิน | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
เลขาธิการพรรคกิจสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527 – 22 มกราคม พ.ศ. 2529 | |
ก่อนหน้า | โกศล ไกรฤกษ์ |
ถัดไป | สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 |
เสียชีวิต | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (93 ปี) |
พรรคการเมือง | พรรคกิจสังคม (2518–2534) |
คู่สมรส | คุณหญิงมาลินี วรรณพฤกษ์ |
พงส์ สารสิน (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) อดีตรองนายกรัฐมนตรี (2 สมัย) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 2 สมัย และอดีตเลขาธิการพรรคกิจสังคม
ประวัติ
[แก้]นายพงส์ สารสิน (ชื่อเดิม : พงส์สิริ) เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470[1] เป็นบุตรชายคนโตของนายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของไทย กับ ท่านผู้หญิงสิริ สารสิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบัญชี จากมหาวิทยาลัยบอสตัน[2] สมรสกับคุณหญิงมาลินี วรรณพฤกษ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ นางพาสินี ลิ่มอติบูลย์ นางวัลลิยา สารสิน และ นายพรวุฒิ สารสิน
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
การทำงาน
[แก้]พงส์เริ่มทำงานที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาลาออก และทำงานที่กรมประมวลข่าว ช่วงกลางปี พ.ศ. 2495 ถึง พ.ศ. 2500 จึงลาออกมาอยู่บริษัทไทยน้ำทิพย์เริ่มในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ
งานการเมือง
[แก้]พงส์ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2516 ต่อมาได้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาร่วมกับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก่อตั้งพรรคกิจสังคม และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ใน พ.ศ. 2527
พงส์ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 2 สมัย[3]
พงส์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และ พ.ศ. 2531 ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[4] และพ้นจากตำแหน่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]พงส์ สารสิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคกิจสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[9]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พงส์ สารสิน บนเส้นทางธุรกิจการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2531. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2531
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๙, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2470
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- สกุลสารสิน
- สกุลโชติกเสถียร
- บุตรของนายกรัฐมนตรีไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคกิจสังคม
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยบอสตัน
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)