ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา
ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
โฆษกพรรคชาติพัฒนา | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 เมษายน พ.ศ. 2507 กรุงเทพมหานคร |
พรรค | ชาติพัฒนา |
ศาสนา | พุทธ |
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา หรือ เสี่ยหม่อง[1]กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยฟลายอิ้ง เซอร์วิส จำกัด กรรมการอำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมกีฬาเทนนิส อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โฆษกพรรคชาติพัฒนา และอดีตผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
ประวัติ[แก้]
ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2507 ที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[2] เป็นบุตรของพลอากาศเอกชนินทร์ จันทรุเบกษา (เป็นหลานของพลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา) กับนางปาลีรัฐ จันทรุเบกษา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จบการอาชีวศึกษา และด้านด้านคอมพิวเตอร์ จากประเทศออสเตรเลีย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และผ่านการอบรมหลักสูตรการบิน จากกองทัพอากาศ และจากสถาบันการบินพลเรือน
การทำงาน[แก้]
ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา เคยสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับมอบหมายจากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ให้เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรค (รับผิดชอบเขตกรุงเทพมหานครและภาคกลาง) และได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา ลำดับที่ 5[4] แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยภายหลังว่าการเลือกตั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[5]
ผลงานด้านการแสดง[แก้]
ละครโทรทัศน์[แก้]
- ละคร ดินน้ำลมไฟ รับบท เป็นผู้สร้างหนัง
- ละคร ตะวันเดือด (/ช่อง 3) รับบท เป็นเฮียโชติ (เจ้าของร้านปืน)
- ละคร เหนือเมฆ (/ช่อง 3) รับบท
- ปี พ.ศ. 2559 ชาติพยัคฆ์ (เมตตาและมหานิยม/ช่อง 3) รับบท ผู้ใหญ่เชื้อ (รับเชิญ)
- ปี พ.ศ. 2559 ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน (ดีวันทีวี/ช่อง 3) รับบท เอกอัครราชทูตซามาร์
- ปี พ.ศ. 2564 เกมล่าทรชน (เมตตาและมหานิยม/ช่อง 3) รับบท พ่อเลี้ยงกาแล (รับเชิญ)
ละครชุด[แก้]
- ปี พ.ศ. 2556 สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (/ช่อง 3) ตอน คุณชายรณพีร์ รับบท เป็นผู้บังคับการกองบิน
ละครเฉลิมพระเกียรติ[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
ผลงานอื่น[แก้]
ปี | เรื่อง | ออกอากาศ | บทบาท |
---|---|---|---|
2559 | ชาติพยัคฆ์ | ช่อง 3 | ผู้ใหญ่เชื้อ (รับเชิญ) |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ โทรโข่งรบ.เกี่ยงงาน 'ชลิตรัตน์'เน้นขำขัน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ข่าวสด
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-08-29.
- ↑ ครม.ตั้งพัลลภ-โอฬาร-สุชน-บิ๊กตุ้ยเป็นที่ปรึกษานายกฯ เก็บถาวร 2011-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก เดลินิวส์
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติพัฒนา)
- ↑ เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ เก็บถาวร 2015-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มติชน. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2557.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๒๗ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๒๐๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สกุลจันทรุเบกษา
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากสถาบันการบินพลเรือน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- นักบินชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- พรรคประชากรไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชายชาวไทย