กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์
รัฐนมตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม 2554 – 18 มกราคม 2555
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุชาติ โชคชัยวัฒนากร
เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
ถัดไปชัชชาติ สิทธิพันธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน – 10 มิถุนายน 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอก สุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าพิจิตต รัตตกุล
(กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการพลังงาน)
ถัดไปกอปร กฤตยากีรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 มิถุนายน พ.ศ. 2482
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
เสียชีวิต11 มีนาคม พ.ศ. 2562 (79 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสสริยา หัตถสงเคราะห์ (หย่า)

กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี

ประวัติ[แก้]

กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ที่อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการเกษตร จากวิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร และปริญญาโท ด้านสังคมสงเคราะห์ สาขากระบวนการยุติธรรม จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายกิตติศักดิ์ หย่ากับคู่สมรสแล้ว มีบุตร 8 คน หนึ่งในนั้นคือ นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ นายสยาม หัตถสงเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู

การทำงาน[แก้]

กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุดรธานี ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2522 ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี (ต่อมาแยกเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) เคยเป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในช่วงปี พ.ศ. 2535[2] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[3] และพ้นจากตำแหน่งในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ได้เข้ามาสังกัดพรรคชาติไทยเช่นเดิม ต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทย ตามลำดับ และถูกตัดสิทธิทางการเมืองเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเป็นเวลา 5 ปี

ต่อมานายกิตติศักดิ์ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 จากนั้นก่อนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายกิตติศักดิ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] และถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[6]

การลงเลือกตั้ง[แก้]

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคความหวังใหม่
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคความหวังใหม่
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคไทยรักไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคไทยรักไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

นายกิตติศักดิ์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศรับรองคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  7. มะเร็งคร่า‘อดีตรมต.’ กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖