จำรัส มังคลารัตน์
พลตำรวจโท จำรัส มังคลารัตน์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (2 ปี 122 วัน) | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (0 ปี 71 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 จังหวัดกาญจนบุรี |
เสียชีวิต | 3 มกราคม พ.ศ. 2540 (75 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพ |
พรรคการเมือง | พรรคชาติไทย |
คู่สมรส | ดร.ลำใย มังคลารัตน์ |
พลตำรวจโทจำรัส มังคลารัตน์ (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 - 3 มกราคม พ.ศ. 2540) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 3 สมัย
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจโทจำรัส มังคลารัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 เป็นบุตรคนที่ 1 ของจ่าง และเจริญ มังคลารัตน์ ในจำนวนพี่น้อง 4 คน จบการศึกษาชั้นสามัญจาก โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง[1] สมรสกับลำใย มังคลารัตน์ มีบุตร-ธิดา 3 คน
พลตำรวจโทจำรัส มังคลารัตน์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคปอดอักเสบ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2540 สิริรวมอายุ 75 ปี
งานการเมือง[แก้]
พลตำรวจโทจำรัสเคยรับราชการตำรวจ และเข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2515, ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2] สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ใน พ.ศ. 2517 และ สมาชิกสภาปฏิรูปฯ ใน พ.ศ. 2519 ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 3 สมัย
พลตำรวจโทจำรัส ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเมื่อ พ.ศ. 2531 (ครม.45)[3] และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2533 (ครม. 46) ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
พลตำรวจโทจำรัส มังคลารัตน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2516 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2507 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2464
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2540
- บุคคลจากจังหวัดกาญจนบุรี
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคชาติไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวิสุทธรังษี
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา