ประเสริฐ บุญชัยสุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเสริฐ บุญชัยสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
ถัดไปจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 (67 ปี)
จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติพัฒนากล้า
คู่สมรสคู่ขวัญ บุญชัยสุข

ประเสริฐ บุญชัยสุข เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24และ​เป็น​นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครราชสีมา

ประวัติ[แก้]

ประเสริฐ บุญชัยสุข เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ที่อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์[1] เป็นบุตรของมาโนช กับเหรียญ บุญชัยสุข[2] สำเร็จการศึกษาสาขาพาณิชยกรรม จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครราชสีมา ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ชีวิตครอบครัวสมรสกับคู่ขวัญ บุญชัยสุข ปัจจุบันรับราชการสังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา มีบุตร 2 คน[2]

การทำงาน[แก้]

ประเสริฐ บุญชัยสุข ประกอบอาชีพทนายความ มีสำนักงานชื่อว่า "สำนักงานกฎหมายประเสริฐ บุญชัยสุข" ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครราชสีมา[2] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) 2 สมัย และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา แต่แพ้ให้กับประกิจ พลเดช จากพรรคไทยรักไทย[3] ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งอีกใน พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554

ประเสริฐ บุญชัยสุข ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2554 ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง
  2. 2.0 2.1 2.2 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายประเสริฐ บุญชัยสุข[ลิงก์เสีย]
  3. “ประเสริฐ”ส.ส.ใหม่โคราชเด็กปั้นอีกคนของ‘สุวัจน์’[ลิงก์เสีย]
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า ประเสริฐ บุญชัยสุข ถัดไป
หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 60)
(28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
(15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561)
ดล เหตระกูล