การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 391 ที่นั่งในรัฐสภาไทย ต้องการ 196 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 62.0% | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รหัสสี: ชาติไทย, ประชาธิปัตย์, ความหวังใหม่, ชาติพัฒนา, พลังธรรม, กิจสังคม, นำไทย, เสรีธรรม, เอกภาพ, อื่น ๆ แต่ละจังหวัดอาจประกอบด้วยที่นั่งเดียวหรือหลายที่นั่งก็ได้ โดยสีที่ปรากฏนี้บ่งบอกถึงพรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในจังหวัดนั้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 18[1] มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538[2] การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคชาติไทย ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะ พรรคประชาธิปัตย์ไปได้ ทำให้ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งครั้งนี้ สืบเนื่องจากภายหลังการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลกรณีการแจกเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ที่รับผิดชอบโดย พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล ในวันที่ 17 พฤษภาคม ก่อนหน้านั้น พรรคพลังธรรม ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลมีมติงดออกเสียง แต่ทว่านายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้รับผิดชอบก็ยังได้รับความไว้ใจวางใจให้ดำรงตำแหน่งต่อไป วันต่อมา พรรคพลังธรรมถอนตัวออกจากการร่วมเป็นรัฐบาล ทำให้นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีตัดสินใจที่จะตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
ผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทย ที่นำโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ได้รับคะแนนมาเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยจำนวน 91 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นรัฐบาลได้มาเป็นลำดับต่อมา คือ 86 ที่นั่ง ขณะที่พรรคความหวังใหม่ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่สาม 57 ที่นั่ง[3]
นายบรรหาร จึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 กรกฎาคม ปีเดียวกัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย
การเลือกตั้งครั้งนี้ ปรากฏว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งค่อนข้างมาก โดยหัวคะแนนของหลายพรรคการเมืองถูกจับได้พร้อมหลักฐานเป็นเงินสด พร้อมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและเอกสารระบุว่าได้จ่ายเงินไปแล้วหลายราย ซึ่งคาดการณ์ว่า มีจำนวนเงินที่ใช้ในการทุจริตการเลือกตั้งถึง 20,000 ล้านบาท[4]
ผลการเลือกตั้ง
[แก้]สัญลักษณ์ | ชื่อพรรค | หัวหน้าพรรค | จำนวน ส.ส. |
---|---|---|---|
พรรคชาติไทย | บรรหาร ศิลปอาชา | 92 คน | |
พรรคประชาธิปัตย์ | นายชวน หลีกภัย | 86 คน | |
พรรคความหวังใหม่ | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ | 57 คน | |
พรรคชาติพัฒนา | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ | 53 คน | |
พรรคพลังธรรม | พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร | 23 คน | |
พรรคกิจสังคม | นายมนตรี พงษ์พานิช | 22 คน | |
พรรคประชากรไทย | นายสมัคร สุนทรเวช | 18 คน | |
พรรคนำไทย | นายอำนวย วีรวรรณ | 18 คน | |
พรรคเสรีธรรม | นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ | 11 คน | |
พรรคเอกภาพ | นายไชยยศ สะสมทรัพย์ | 8 คน | |
พรรคมวลชน | ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง | 3 คน |
รวมทั้งสภา 391 คน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (ยุบสภาตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
- ↑ Nohlen, D, Grotz, F & Hartmann, C (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p286 ISBN 0-19-924959-8
- ↑ ส.ป.ก.4-01 พิฆาต ปชป."ชวน" พัง-"บรรหาร" ผงาด หน้า 231, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์ มติชน (สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพมหานคร) ISBN 974-323-889-1