หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กิติวัฒนา ปกมนตรี

เกิดหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ไชยันต์
3 กันยายน พ.ศ. 2476
วังกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
เสียชีวิต28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (85 ปี)
อาชีพนักการเมือง
คู่สมรสวุธจิระ ปกมนตรี (หย่า)
บุตรอิศร ปกมนตรี
อวัสดา ปกมนตรี
กีรดี ปกมนตรี
บุพการีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
หม่อมเจ้าพัฒน์คณนา ไชยันต์

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี (ราชสกุลเดิม ไชยันต์; 3 กันยายน พ.ศ. 2476 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561) [1] เป็นพระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย กับหม่อมเจ้าพัฒน์คณนา ไชยันต์

ประวัติ[แก้]

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี หรือ คุณหญิงแก้มพวง เป็นพระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย กับหม่อมเจ้าพัฒน์คณนา ไชยันต์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร) ประสูติวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2476 เป็นอดีตรองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมป์ จบการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย แล้วไปศึกษาต่อด้านภาษาและสังคมศึกษาที่ Ahridge House of Citizenship แคว้นเฮิร์ทฟอร์ดไชร์ และวิชาการละครที่Royal Academy of Dramatic Art (RADA) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [2]

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาสมรสกับวุธจิระ ปกมนตรี[2] มีธิดาคือ อวัสดา ปกมนตรี อดีตผู้ประกาศข่าว ช่อง 9 และกีรดี ปกมนตรี[3] ต่อมาหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาและสามี ได้หย่ากัน[4]

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 สิริอายุ 85 ปี[5] ต่อมาวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 17.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ในการนี้สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท และ สมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ แห่งราชอาณาจักรเลโซโท เสด็จพระราชดำเนินมาทรงร่วมพิธีด้วย[6]

การทำงาน[แก้]

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาเริ่มรับราชการที่โรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร แล้วลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว และทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ ต่อมาในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี พ.ศ. 2550 จึงได้เข้ามาทำงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน เขต 6 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา เป็นกลุ่มที่สนับสนุนพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก เป็นนายกรัฐมนตรี ในการลงมติเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำตัดสินให้หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาพ้นจากสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากถือครองหุ้นภายหลังจากที่ กกต.ประกาศรับรองสภาพการเป็น ส.ส. แล้ว [7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kitivadhana Jayanta
  2. 2.0 2.1 กิติวัฒนา ปกมนตรี. ก่อนเสด็จลับเลือนหาย. กรุงเทพฯ : DMG, 2550. 216 หน้า. ISBN 978-9749-977-705
  3. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  4. "เปิดขุมทรัพย์ "หม่อมราชวงศ์" วงการเมือง ใครรวยอู้ฟู่-ใครแฟ่บกว่าใคร?". ประสงค์ดอตคอม. 25 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ข่าวทะลุคน : ม.ร.ว.กิติวัฒนา ปกมนตรี ถึงแก่อนิจกรรม". ข่าวสด. 3 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "บุคคลในข่าว (หน้า4) 08/09/62". ไทยรัฐ. 8 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ศาล รธน.ตัดสิน6 ส.ส.พ้นสภาพถือหุ้นรัฐ[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]