ดอกดิน กัญญามาลย์
ดอกดิน กัญญามาลย์ | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | ธำรง กัญญามาลย์ |
เกิด | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2467 |
เสียชีวิต | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (93 ปี) |
คู่สมรส | บรรจง กัญญามาลย์ (ชมกลิ่น) (2494 – 2561) |
บุตร | 4 คน |
อาชีพ | นักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์, นักประพันธ์เพลง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2561 |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2555 - สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) |
พระสุรัสวดี | นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2507 - นกน้อย |
สุพรรณหงส์ | พ.ศ. 2545 - รางวัลสุพรรณหงส์กิตติมศักดิ์[1] |
ThaiFilmDb |
ดอกดิน กัญญามาลย์ (25 ตุลาคม พ.ศ. 2467 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) ชื่อเล่น ดิน[2]เป็นนักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และ นักประพันธ์เพลงชาวไทย ได้รับการเชิดชูเกียรติรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550 และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2555
ประวัติ
[แก้]ดอกดิน มีชื่อเดิมว่า ธำรง และมีชื่อเล่นว่า ดิน เนื่องจากตัวดำ ชอบร้องลิเก เพลงพื้นบ้าน จนได้ฝึกและออกแสดงครั้งแรกกับคณะสวดคฤหัสถ์ ประมาณอายุ 11 ขวบ ในปี พ.ศ. 2478 และเคยเป็นนักเรียนช่างหล่อของกรมรถไฟ เรียนอยู่หกเดือน ก็เข้าทำงานที่โรงงานมักกะสันของกรมรถไฟ(ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างเฉพาะงานในปัจจุบัน) เป็นช่างหล่อทองเหลือง ,เหล็ก และอลูมิเนียม [3] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเข้าสู่วงการจากการเล่นจำอวดร่วมกับ อบ บุญติด แล้วหันมาเล่นละครย่อย ร้องเพลงหน้าม่าน และเล่นลิเก ในคณะศิวารมย์ ของอำนวย กลัสนิมิ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้เล่นละครกับ คณะอัศวินการละคร ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เล่นเป็นตัวตลก และเริ่มใช้ชื่อในการแสดงว่า ดอกดิน กัญญามาลย์
ดอกดินเริ่มสร้างภาพยนตร์ 16 มม. ขาวดำชุดสามเกลอ [4] ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ร่วมกับ ล้อต๊อก และ สมพงษ์ พงษ์มิตร ตามด้วยเรื่องต่อมา ทุกเรื่องประสบความสำเร็จ
เมื่อเริ่มมีโทรทัศน์ในเมืองไทย ดอกดินได้ทำรายการตลกทางโทรทัศน์ ชื่อรายการ "ดอกดินพาเหรด"
ดอกดิน กัญญามาลย์ มีผลงานสร้างภาพยนตร์ทั้งสิ้น 32 เรื่อง ในชื่อ "กัญญามาลย์ภาพยนตร์" มักเป็นภาพยนตร์บู๊ปนตลก มีเอกลักษณ์คือ เมื่อภาพยนตร์เรื่องใดมีรายได้เกิน 1 ล้านบาท จะทำป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และประชาสัมพันธ์ว่า "ล้านแล้ว...จ้า" ทุกครั้ง ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย (2507) เป็นต้นมา ในจำนวนภาพยนตร์ 32 เรื่องของดอกดิน ทำรายได้เกิน 1 ล้านบาททั้งสิ้น 24 เรื่อง
ดอกดิน กัญญามาลย์ ได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลาประมาณ 02.00 น. ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เนื่องจากหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (โรคชรา) สิริอายุ 93 ปี 7 เดือน[5] ทั้งนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ได้เสด็จฟังสวดพระอภิธรรมศพเป็นการส่วนพระองค์ และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ผลงานแสดงภาพยนตร์
[แก้]- สุภาพบุรุษอเวจี (2494)
- สามเกลอถ่ายหนัง (2495)
- สามเกลอเจอผี (2496)
- สามเกลอกระยาจก (2496)
- แม่ค้าปลาสด (2496)
- ราชาธิราช ตอน ศึกพระเจ้ากรุงจีน (2496)
- จอมหิว (2496)
- เจ้าสาวชาวไร่ (2497)
- ธิดายาจก (2497)
- แม่ค้าหาบเร่ (2497)
- สร้อยฟ้าขายตัว (2498)
- หญิงคนชั่ว (2498)
- สาวเวียงฟ้า (2498)
- อัศวินเหล็ก (2498)
- สุดที่รัก (2498)
- นางแก้ว (2498)
- เสียแรงรัก (2499)
- เศรษฐีอนาถา (2499)
- สามรักในปารีส (2499)
- นเรศวรมหาราช (2500)
- แก้วกัลยา (2500)
- มังกรทอง (2500)
- เห่าดง (2501)
- แววมยุรา (2501)
- ไกรทอง (2501)
- บุกแหลก (2501)
- ลบลายเสือ (2501)
- นักรักนักสู้ (2501)
- พล นิกร กิมหงวน ตอน เวทีถล่มและพิชิตเมีย (2501)
- ดาวคลี่ (2502)
- สี่คิงส์ (2502)
- แม่นาคพระโขนง (2502)
- วนาลี (2502)
- กล่อมกากี (2502)
- หนึ่งน้องนางเดียว (2502)
- คนองปืน (2502)
- กิโมโน (2502)
- สุดชีวิต (2503)
- ยอดเดี่ยว (2503)
- สาวดาวเทียม (2503)
- มังกรหยก (2504)
- บันทึกรักของพิมพ์ฉวี (2505)
- อ้อมอกสวรรค์ (2505)
- วิญญาณรักแม่นาค (2505)
- โจรแพรแดง (2505)
- จอมใจเวียงฟ้า (2505)
- รุ่งทิพย์ (2505)
- สิงห์โตหยก (2505)
- วัยรุ่นวัยคนอง (2505)
- แพนน้อย (2506)
- หนึ่งในทรวง (2506)
- ฝนแรก (2506)
- นกน้อย (2507)
- เทพบุตรนักเลง (2508)
- ลมหวน (2508)
- ศึกเสือไทย (2508)
- เงิน เงิน เงิน (2508)
- กาเหว่า (2509)
- น้อยไจยา (2509)
- ลมหนาว (2509)
- พิมพิลาไล (2509)
- แสงเทียน (2509)
- นกเอี้ยง (2509)
- ปิ่นรัก (2510)
- จุฬาตรีคูณ (2510)
- เหนือเกล้า (2510)
- มดแดง (2510)
- ปูจ๋า (2510)
- กบเต้น (2511)
- ดอกอ้อ (2511)
- น้ำอ้อย (2511)
- ลมเหนือ (2512)
- ไทยน้อย (2512)
- ละครเร่ (2512)
- ไทยใหญ่ (2513)
- หวานใจ (2513)
- ม้ามืด (2513)
- เรือมนุษย์ (2513)
- ไก่นา (2514)
- ไอ้ทุย (2514)
- เชียงตุง (2515)
- สายฝน (2516)
- คนกินเมีย (2517)
- แหม่มจ๋า (2518)
- มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518)
- กุ้งนาง (2519)
- สิงห์สำออย (2520)
- แม่ดอกกัญชา (2520)
- ไอ้ 8 นิ้ว (2521)
- ขโมยที่รัก (2521)
- แม่เขียวหวาน (2522)
- ย.ยอดยุ่ง (2523)
- นกน้อย (2524)
- เฮงสองร้อยปี (2525)
- สาวแดดเดียว (2526)
ผลงานการสร้างภาพยนตร์
[แก้]ผลงานการสร้างภาพยนตร์ในช่วงก่อน 2506
[แก้]ผลงานการสร้างภาพยนตร์ในนามกัญญามาลย์ภาพยนตร์
[แก้]- แพนน้อย (2506)
- ฝนแรก (2506)
- นกน้อย (2507)
- ลมหวน (2508)
- แสงเทียน (2509)
- นกเอี้ยง (2509)
- มดแดง (2510)
- ปูจ๋า (2510)
- กบเต้น (2511)
- ดอกอ้อ (2511)
- ลมเหนือ (2512)
- ไทยน้อย (2512)
- ไทยใหญ่ (2513)
- ม้ามืด (2513)
- ไอ้ทุย (2514)
- ไก่นา (2514)
- เชียงตุง (2515)
- สายฝน (2516)
- คนกินเมีย (2517)
- แหม่มจ๋า (2518)
- มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518)
- กุ้งนาง (2519)
- สิงห์สำออย (2520)
- แม่ดอกกัญชา (2520)
- ไอ้ 8 นิ้ว (2521)
- แม่เขียวหวาน (2522)
- ย.ยอดยุ่ง (2523)
- นกน้อย (2524)
- เฮงสองร้อยปี (2525)
- สาวแดดเดียว (2526)
ผลงานกำกับภาพยนตร์
[แก้]- สามเกลอถ่ายหนัง (2495) (กำกับในนามสามชาย) (สร้างและกำกับร่วมกับสมพงษ์และล้อต๊อก)
- สามเกลอเจอผี (2496)
- สามเกลอเจอจานผี (2496)
- เจ้าสาวชาวไร่ (2497)
- สร้อยฟ้าขายตัว (2498)
- เสียแรงรัก (2499)
- ดาวคลี่ (2502)
- นกน้อย (2507)
- ลมหวน (2508)
- กาเหว่า (2509)
- น้อยไจยา (2509)
- พิมพิลาไล (2509)
- แสงเทียน (2509)
- นกเอี้ยง (2509)
- ปิ่นรัก (2510)
- จุฬาตรีคูณ (2510)
- มดแดง (2510)
- ปูจ๋า (2510)
- กบเต้น (2511)
- ดอกอ้อ (2511)
- น้ำอ้อย (2511)
- ลมเหนือ (2512)
- ไทยน้อย (2512)
- ไทยใหญ่ (2513)
- ม้ามืด (2513)
- เรือมนุษย์ (2513)
- ไอ้ทุย (2514)
- ไก่นา (2514)
- เชียงตุง (2515)
- สายฝน (2516)
- คนกินเมีย (2517)
- แหม่มจ๋า (2518)
- มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518)
- กุ้งนาง (2519)
- สิงห์สำออย (2520)
- แม่ดอกกัญชา (2520)
- ไอ้ 8 นิ้ว (2521)
- ขโมยที่รัก (2521)
- แม่เขียวหวาน (2522)
- ย.ยอดยุ่ง (2523)
- นกน้อย (2524)
- เฮงสองร้อยปี (2525)
- สาวแดดเดียว (2526)
พิธีกร
[แก้]- ดอกดินพาเหรด ช่อง 5
- คู่ทรหด ช่อง 5
ละครเวที
[แก้]- ขุนเหล็ก (2494)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2545
- ↑ ประวัติ ดอกดิน กัญญามาลย์[ลิงก์เสีย]
- ↑ อิงคศักดิ์ เกตุหอม ,นี่คือชีวิตของ...ดอกดิน ,หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) ,2514 ISBN 978-616-543-135-4
- ↑ แท้ ประกาศวุฒิสาร. สุภาพบุรุษเสือแท้. กรุงเทพ : มูลนิธิหนังไทย, พ.ศ. 2544. 368 หน้า. ISBN 974-88613-8-4
- ↑ สิ้นแล้ว! “ดอกดิน กัญญามาลย์” ศิลปินแห่งชาติศิลปะการแสดง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖ (ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๖,๖๖๐ ราย) เก็บถาวร 2013-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ หน้า ๑๐๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2467
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2561
- ศิลปินแห่งชาติ
- ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักแสดงตลกชายไทย
- นักแต่งเพลงลูกกรุง
- นักแสดงลิเก
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว
- บทความเกี่ยวกับ ดารา ที่ยังไม่สมบูรณ์