วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย
วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 มีนาคม พ.ศ. 2501 (62 ปี) อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | อินทิรา สงวนวงศ์ชัย |
นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคไทยรักไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (บ้านเลขที่ 111)
ประวัติ[แก้]
วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2501 ที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นบุตรของนายเลี่ยงฮุย กับนางเง็กงอ สงวนวงศ์ชัย สำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[1]
ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางอินทิรา สงวนวงศ์ชัย และมีพี่ชายคือ นายพุฒิพงศ์ สงวนวงศ์ชัย เป็นอดีต ส.ว.ชัยภูมิ และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
งานการเมือง[แก้]
วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ ติดต่อกันถึง 7 สมัยในหลายสังกัดพรรคการเมืองเช่น พรรคสามัคคีธรรม, พรรคกิจสังคม และ พรรคชาติพัฒนา ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ภายหลังจากการยุบรวมพรรค และได้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ในปี พ.ศ. 2550[2] หลังจากนั้นเขาได้มีส่วนสนับสนุนให้ภรรยา, บุตรชาย และพี่ชาย ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์
วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หลังจากการลาออกของนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ซึ่งมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดชัยภูมิ สังกัด พรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคชาติพัฒนา → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดชัยภูมิ พรรคไทยรักไทย
เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2542 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ จำนวน ๔,๘๙๖ ราย) เล่ม 116 ตอนที่ 20ข วันที่ 2 ธันวาคม 2542
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดชัยภูมิ
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
- พรรคกิจสังคม
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคประชาธิปัตย์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา