สาคร พรหมภักดี
สาคร พรหมภักดี | |
---|---|
![]() | |
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร |
พรรค | พรรคเสรีธรรม (2544) พรรคไทยรักไทย (2544-2550) พรรคชาติพัฒนา (2555-2564) พรรคไทยสร้างไทย (2564-2565) พรรคประชาธิปัตย์ (2565-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พรศรี พรหมภักดี |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร |
นายสาคร พรหมภักดี อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
ประวัติ[แก้]
สาคร พรหมภักดี เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 เป็นบุตรของนายพันธุ์ กับนางสวัสดิ์ พรหมภักดี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จาก กศน.อำเภอนิคมน้ำอูน[2] และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การทำงาน[แก้]
สาคร พรหมภักดี เคยทำงานเป็นโฆษกสถานีวิทยุกระจายเสียง 909 กรป.กลาง จังหวัดสกลนคร หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 จึงได้หันมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคสามัคคีธรรม ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคกิจสังคม พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคเสรีธรรม และย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทยในปีเดียวกัน การย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค และถูกตัดสิทธิทางการเมืองในปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับกรรมการบริหารพรรค 111 คน
หลังจากที่เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เขาจึงได้สนับสนุนให้นายวีระศักดิ์ พรหมภักดี น้องชายลงสมัครรับเลือกตั้ง และเข้าร่วมกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ก็ได้ย้ายออกในเวลาต่อมา เพื่อไปร่วมงานกับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา[3][4] (ต่อมาเปลี่ยนเป็นพรรคชาติพัฒนา)
ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[5][6]
สาคร พรหมภักดี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเสรีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2525 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 381/2540 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง นายสาคร พรหมภักดี นายปาน พึ่งสุจริต)
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ สาครไม่เคลียร์สาเหตุชิ่งสมศักดิ์
- ↑ ‘สาคร พรหมภักดี’ อ้อนชาวสกลเลือก ชพน.ยกทีม ชูนโยบาย NO PROBLEM
- ↑ ส่อง 4 ภาค ขุนพล 'ไทยสร้างไทย'
- ↑ "ไทยสร้างไทย"เปิด5"ผู้สมัครส.ส. บึงกาฬ-สกลฯ" มั่นใจชนะหลายเขต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๕
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอพังโคน
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคกิจสังคม
- พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- พรรคไทยสร้างไทย
- บุคคลจาก กศน.
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.