พรทิพย์ โรจนสุนันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรทิพย์ โรจนสุนันท์
พรทิพย์ ใน พ.ศ. 2553
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
22 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ก่อนหน้าเอนก ยมจินดา
ถัดไปสุพจน์ นาคเงินทอง
ดำรงตำแหน่ง
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[1]
ก่อนหน้าชุมศักดิ์ พฤกษาพงศ์
ถัดไปเอนก ยมจินดา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสวิชัย โรจนสุนันท์
บุตร1 คน

แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ (เกิด 21 ธันวาคม พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองและแพทย์หญิงชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 กรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค ของ วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม[2] คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) ในส่วนของสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศที่ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศมอบหมาย[3]ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 45/2559 สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ นิติเวชแพทย์ชาวไทย ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย คนที่ 10 ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ปี 2556 - ปัจจุบัน[4]

ประวัติ[แก้]

พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ชื่อเล่น ไนล์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของว่าที่ร้อยตรี สาทร กับนางพิสมร ศรศรีวิชัย มีน้องอีกสามคน คือ ดอกเตอร์ พรรณทิพา วิเชียรสวรรค์, ดอกเตอร์ ฐิติมา ตั้งเลิศไพบูลย์ และอาชวิช ศรศรีวิชัย[5]

พรทิพย์ สมรสกับวิชัย โรจนสุนันท์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 มีธิดา 1 คน ชื่อ ญารวี โรจนสุนันท์ ชื่อเล่น เท็น[5]

การศึกษา[แก้]

พรทิพย์ โรจนสุนันท์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างปี พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2522 และได้รับวุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2525 และในปี พ.ศ. 2538 ได้รับอนุมัติเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้แล้วยังได้รับวุฒิบัตรฯ จากต่างประเทศ อีกด้วย

  • พ.ศ. 2522 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2526 วุฒิบัตรสาขาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2538 อนุมัติบัตรสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2541 Forensic Anthropology, Armed Forces Institute of Pathology Washington DC สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2542 Forensic Pathology, Armed Forces Institute of Pathology Washington DC สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2546 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส.1) รุ่นที่ 3
  • พ.ศ. 2548 วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พ.ศ. 2548 แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • พ.ศ. 2553 หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 15

การทำงาน[แก้]

พรทิพย์ โรจนสุนันท์ เคยรับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ระดับสี่ ประจำโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 จึงย้ายมาเป็นอาจารย์และหัวหน้าหน่วยนิติเวชศาสตร์และหน่วยตรวจศพ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างนั้นยังได้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภาคณาอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2541 และตำแหน่งประธานสภาอาจารย์รามาธิบดี พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2542 อีกด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้โอนมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการแพทย์ สถาบันพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง จังหวัดนนทบุรีและโฆษกกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2546 ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และในปี พ.ศ. 2548 ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม กระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (นักบริหารระดับสูง)และในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[6] ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมและที่ปรึกษาคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[7]

ประวัติการทำงาน (โดยย่อ) 

 ตำแหน่งทางวิชาการ (โดยย่อ)

การภาคทัณฑ์[แก้]

แพทยสภา หลังมีมติลงโทษภาคทัณฑ์จากการเปิดเผยรายงานตรวจพิสูจน์ศพ นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ[8]พญ.พรทิพย์ได้ร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้แพทยสภาทบทวน โดยอยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารมติแพทยสภาเพื่อยื่นร้องต่อศาลปกครอง

ผลงาน[แก้]

  • การพิสูจน์ศพ “ห้างทอง ธรรมวัฒนะ
  • ร่วมชันสูตรชิ้นเนื้อและรวบรวมหลักฐานในคดีที่นายแพทย์วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ฆ่าหั่นศพแพทย์หญิงผัสพรภรรยาของตนเอง
  • การพิสูจน์เอกลักษณ์ผู้ตาย ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ณ วัดย่านยาว อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
  • การพิสูจน์ศพนิรนามในสุสาน จ.ปัตตานี
  • การหาหลักฐานเพื่อค้นหาทนายสมชาย นีละไพจิตร
  • การตรวจดีเอ็นเอ แด็ก บิ๊กแอส, ฝ้ายและน้องจัสติน
  • การตรวจดีเอ็นเอ พิสูจน์ความเป็นพ่อของ มนต์สิทธิ์ คำสร้อย นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง
  • นักเขียนคอลัมน์ "คุ้ยแคะความคิดกับหมอแพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์" ในเว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน
  • งานเขียนคอลัมน์พิเศษใน หนังสือพิมพ์ข่าวสด เรื่อง แกะรอยแก๊งส์โอรส วัยรุ่นนักเลงหรือผู้ป่วยทางจิต โดยใช้นามปากกาว่า ทิพย์ โอรส
  • งานเขียน เช่น แกะรอย DNA, คิดทางขวาง, ใต้คมมีดหมอ, ทำเพื่อศพ, บันทึกสึนามิ, ป่วยเป็นศพ, เปรี้ยวหลบใน, รักเป็นศพ วัยรุ่น...วุ่นวาย...สดใสหรือแสบซ่า, ศพพูดได้, สอนด้วยศพ, สืบจากดวง, สืบจากศพ, สืบจากศพ ภาค 2, สู้เพื่อศพ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

รางวัลเกียรติคุณ[แก้]

  • ปี 2541 โล่สดุดีเกียรติคุณการส่งเสริมจริยธรรมนิสิตนักศึกษาแพทย์
  • ปี 2540 รางวัลสาขาจรรยาบรรณวิชาชีพ
  • ปี 2547 รางวัล Beauty of Science Award เพื่อเป็นการเชิดชูนักวิทยาศาสตร์สตรีผู้ที่นำมาซึ่งมิติใหม่แห่งวงการวิทยาศาสตร์
  • ปี 2550 รางวัลสตรีนักส่งเสริมสิทธิมนุษยชนดีเด่น จากงานประกาศเกียรติคุณของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2556" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 130, ตอนพิเศษ 67 ง): 2. 2556-06-04. สืบค้นเมื่อ 2556-06-04. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม
  3. "ครม.อนุมัติปรับเพดานเงินเดือนตำรวจ-ทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 2016-03-24.
  4. นายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย พรทิพย์ โรจนสุนันท์[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 "พรทิพย์ โรจนสุนันท์". ไทยรัฐ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. การดำรงตำแหน่งของพรทิพย์
  7. ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม[ลิงก์เสีย]
  8. "'หมอพรทิพย์'เตรียมร้องศาลปกครองทบทวนมติภาคทัณฑ์". ASTV ผู้จัดการ. 22 กรกฎาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-21.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๖, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๒ กันยายน ๒๕๕๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๘, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๓ ตอน ๔ ข หน้า ๗, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]