สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
ถัดไป | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | วัฒนา เมืองสุข |
ถัดไป | โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อุตตม สาวนายน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
ถัดไป | พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2497 (65 ปี) กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | กิจสังคม ไทยรักไทย ภูมิใจไทย พลังประชารัฐ |
คู่สมรส | สุริสา จึงรุ่งเรืองกิจ |
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (10 ธันวาคม พ.ศ. 2497- ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] และประธานกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้งภาคอีสาน พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในสมัยรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตรและอดีตเลขาธิการพรรคไทยรักไทย
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และต่อระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา สมรสแล้วกับนางสุริสา จึงรุ่งเรืองกิจ มีบุตรชาย 1 คน คือ ศาตนันท์ จึงรุ่งเรืองกิจ และเป็นอาของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2548 สุริยะ ชี้แจงการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ตรวจสัมภาระ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งที่สูงกว่าทุน 2,800 ล้านบาท โดยบริษัทอินวิชั่นผู้ขาย ระบุมีราคาต้นทุนแค่ 1,400 ล้านบาท แต่กลับจัดซื้อในวงเงินถึง 4,300 ล้านบาท รวมทั้งระบุไม่พบเจ้าหน้าที่ทุจริต ในการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดของสนามบิน ข้อกล่าวหาต่างๆเป็นอันตกไปเมื่อป.ป.ช. มีมติยกคำร้องเมื่อ 28 สิงหาคม 2555 เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ[2]
ประวัติการทำงาน[แก้]
- รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม (พรรคไทยรักไทย, รัฐบาลทักษิณ 2) (พรรคพลังประชารัฐ,รัฐบาลประยุทธ์ 2)
- รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม (พรรคไทยรักไทย, รัฐบาลทักษิณ 2)[3]
- เลขาธิการพรรค พรรคไทยรักไทย
- พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 254? - รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม (ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 12 พรรคไทยรักไทย, รัฐบาลทักษิณ 1)
- พ.ศ. 2541 - รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม (พรรคกิจสังคม, รัฐบาลชวน 2)
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์
- กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)
- กรรมการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิทอิเล็กทรอนิกส์ คอมโพเนนท์ จำกัด
- ประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิท แอดวานซ์ แมททีเรียล จำกัด
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอโดซีพ อินดัสตรี จำกัด
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัมมิท โอโตบอดี้ อินดัสตรี จำกัด
- กรรมการบริหาร บริษัท ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ จำกัด
- ประธานกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
การเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ[แก้]
ในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4] หลังจากนั้นได้เข้าร่วมแถลงข่าวเปิดตัวพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ที่โรงแรมสยามซิตี้ โดยร่วมกับแกนนำ อาทิ ชวรัตน์ ชาญวีรกุล บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ โสภณ ซารัมย์ ศุภชัย ใจสมุทร และพรทิวา นาคาศัย
กระทั่งวันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 นายสุริยะในฐานะหัวหน้ากลุ่มสามมิตรได้ประกาศเข้าร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2545 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2544 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ 'ทักษิณ-สุริยะ'เฮยกคำร้องคดีทุจริต "ซีทีเอ็กซ์" ไทยรัฐ. 29 สิงหาคม 2555
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ผ่าขบวนการ สินบนอินวิชั่น, นสพ. กรุงเทพธุรกิจ
ก่อนหน้า | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วันมูหะมัดนอร์ มะทา | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548) |
![]() |
พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล |
|
|
|
|
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคกิจสังคม
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคภูมิใจไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
- ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋ว
- สกุลจึงรุ่งเรืองกิจ