วันชัย สอนศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันชัย สอนศิริ
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติพัฒนา (2540—2547)
คู่สมรสนันทนา สอนศิริ

วันชัย สอนศิริ (เกิด 13 กุมภาพันธ์ 2497) เป็นนักการเมืองและทนายความชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา [1] เป็นนักพูด ผู้บรรยายเรื่องกฎหมายทั่วไปของสภาทนายความ มีชื่อเสียงมาจากการให้ความรู้ทางกฎหมาย ในวิทยุคลื่นร่วมด้วยช่วยกัน ต่อมาเป็นผู้จัดรายการเล่าข่าว จากข่าวหนังสือพิมพ์ โดยสอดแทรกความรู้ด้านกฎหมาย และเรื่องขำขันทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและยูบีซี โดยจัดรายการคู่กับประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ทั้งคู่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อ "สองทนาย" หรือ "ทนายคู่หู" ในรายการร่วมมือร่วมใจทางทีไอทีวีแต่ได้ออกมาในปี พ.ศ. 2550 หลังการเปลี่ยนโครงสร้างสถานีของไอทีวีเป็นทีไอทีวี

ประวัติ[แก้]

วันชัยเคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตกรุงเทพมหานคร เขต 1 (เขตพระนครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) สังกัดพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[2]

ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนกฎหมายอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, นักจัดรายการคุยสบาย ๆ กับทนายวันชัยทางสถานีวิทยุคลื่น FM.98 MHz ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 15.00 - 17.00 น. คู่กับมัลลิกา บุญมีตระกูล เคยเป็นพิธีกรรายการ "9 ร่วมใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ซึ่งปฐมทัศน์เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 10.05 - 11.00 น.

ปัจจุบันเป็นพิธีกรร่วมกับเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ในรายการ "รู้ทันประเทศไทย" ทางเอเอสทีวี นิวส์วัน และรายการ "คลายปม" ทางสทท.11 ซึ่งปฐมทัศน์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแบบสรรหาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[3]

ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับนันทนา สอนศิริ มีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน

การศึกษา[แก้]

การทำงาน[แก้]

  • ปี พ.ศ. 2532-2535 กรรมการทนายความ ภาค 1 และรองเลขาธิการสภาพทนายความ
  • ปี พ.ศ. 2535-2538 เลขาธิการสภาทนายความ
  • ปี พ.ศ. 2541-2544 เลขาธิการสภาทนายความ
  • ปี พ.ศ. 2528-2532 สมาชิกเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • ปัจจุบัน เลขาธิการสภาทนายความ
  • อนุกรรมการพัฒนากฎหมายเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล)
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี)
  • พิธีกรรายการ "แจ้งความ" ไอทีวี
  • วิทยากรรายการ "ชาวกรุงร้องทุกข์" เนชั่นทีวีและTTV
  • กรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงาน
  • หัวหน้าสำนักงานทนายความวันชัย สอนศิริ
  • อนุกรรมการป้องปรามการละเมิดสิทธิ์ของผู้บริโภค สคบ.
  • อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
  • วิทยากรตอบกฎหมายในรายการวิทยุโทรทัศน์หลายแห่ง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[แก้]

มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอของวันชัย สอนศิริ ซึ่งกล่าวถึงการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 ในส่วนของประเด็นเพิ่มเติม ซึ่งให้สิทธิ์ประชุมร่วมกันของรัฐสภาไทย (กล่าวคือสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา) ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี โดยนายวันชัยกล่าวว่าตนเองเป็นผู้อยู่เบื้องหลังประเด็นเพิ่มเติมดังกล่าว[4]

ผมเป็นคนเขียนในรัฐธรรมนูญ ปกติ ส.ว. เนี่ย ไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าไหร่ นะ ไม่มีสิทธิ์ไปโหวตใครเป็นนายกรัฐมนตรี ผมเป็นคนเขียนรัฐธรรมนูญ โดยเสนอในสมัยที่ผมยังเป็นสปท. ให้ ส.ว. 250 คนนี้ มีสิทธิ์ร่วมในการโหวตคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วเป็นคำถามพ่วง พวกเราจำได้อ๊ะเปล่า คำถามพ่วงนี้โหวตทั่วประเทศได้ 15 ล้านเสียง ว่าเห็นด้วยว่าให้ ส.ว. ที่คสช.ตั้งมาเนี่ย มีสิทธิ์โหวตนายกรัฐมนตรี

— วันชัย สอนศิริ

สมาชิกวุฒิสภา[แก้]

วันชัย สอนศิริ ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยได้รับตำแหน่งจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[5]

หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 วันชัย สอนศิริ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาไทย โดยให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการลงคะแนนของสมาชิกวุฒิสภาว่าอาจจะลงคะแนนในรูปแบบที่ไม่สอดคล้องกับผลการเลือกตั้ง[6]

ผมก็ไม่แน่ใจว่าคนได้เสียงอันดับ 1 จะต้องเป็นรัฐบาลเสมอ ครั้งที่แล้วพรรคเพื่อไทยก็มีเสียงมาอันดับ 1 แต่ก็ต้องเป็นฝ่ายค้าน แต่ถ้ารวมเสียงได้มากโดยหลักการแล้วก็คิดว่าต้องเคารพเสียงตรงนี้ ครั้งนี้พรรคก้าวไกลได้เสียงอันดับ 1 ก็จริง แต่ไม่ได้คะแนนเสียงเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเกินกว่า 251 เสียง ต้องดูต่อไปถ้าเขาประสานกับพรรคเพื่อไทยได้อันนี้ก็มีสิทธิได้เกิน 300 เสียง ต้องดูว่าเขาตกลงกันได้หรือเปล่าว่าใครเป็นนายกฯ และการทำนโยบายต่างๆ นั้นรวมกันได้หรือเปล่า เราไม่รู้ เพราะ ส.ว.อยู่ข้างหลัง ไม่ใช่คนที่จะต้องเสนอใครมาเป็นนายกฯ มันอยู่ที่ ส.ส.ก่อน

— วันชัย สอนศิริ

ผลงาน[แก้]

รายการโทรทัศน์[แก้]

  • แจ้งความ
  • คนหัวหมอ (2545-2550)
  • ร่วมมือร่วมใจ
  • หัวหมอจ้อข่าว
  • ตีข่าวเล่าความ
  • 9 ร่วมใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน
  • ตีกลองร้องทุกข์
  • รู้ทันประเทศไทย
  • คลายปม
  • ก๊วนซ่าประมาณว่า
  • ถอนพิษ

รางวัลเกียรติยศ[แก้]

  • โล่เกียรติคุณ "คนดีของสังคม" จากสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน FM96 MHz โดยพิจิตต รัตตกุล
  • ประกาศ เกียรติคุณเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2546 จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี
  • รางวัลเชิดชูเกียรติผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ "เมขลา" ครั้งที่ 22 ประจำปี 2545 ในฐานะผู้ดำเนินรายการ "แจ้งความ" ทางไอทีวี จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง
  2. ประวัติ วันชัย สอนศิริ, คำอธิบายเพิ่มเติม.
  3. เปิด! 73 รายชื่อ ส.ว.สรรหาเก็บถาวร 2013-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากวอยซ์ทีวี
  4. "วันชัย สอนศิริ" เฉลยปริศนาที่มาส.ว. 250 คน โหวตนายกฯได้, สืบค้นเมื่อ 2023-05-16
  5. "นาย วันชัย สอนศิริ". theyworkforus.wevis.info.
  6. matichon (2023-05-15). "วันชัย ขออย่าเพิ่งเล็งเป้า ส.ว. 'ก้าวไกล' มาที่ 1 ใช่ว่าจะได้เป็น รบ. ยกเคสเพื่อไทยเทียบ". มติชนออนไลน์.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาถรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]