หยอง ลูกหยี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หยอง ลูกหยี
ชื่อเกิดวลัชณัฏฐ์ ประภานันยศอนันต์
เกิด26 มิถุนายน พ.ศ. 2509 (57 ปี)
อำเภอชัยบาดาล
จังหวัดลพบุรี
ประเทศไทย
บิดานวล ประภานันยศอนันต์
มารดาบุญรอด ประภานันยศอนันต์
อาชีพนักแสดงตลก นักแสดง

หฤษพล สมจิตรนา (ชื่อเดิม : จงรวย สมจิตรนา หรือ จำรูญ สมจิตรนา) (มีชื่อจริงว่า : วลัชณัฏฐ์ ประภานันยศอนันต์) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ หยอง ลูกหยี (เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2509) ที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี นักแสดงตลกชายชื่อดังชาวไทย ที่มีเอกลักษณ์เป็นที่จดจำได้ คือ หัวโล้น พูดภาษาอีสานมักจะได้แสดงบทพระและบางครั้งแสดงเป็นนักการเมือง เขาเป็นอดีตนายกสมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทยแต่ลาออก เพื่อเข้าร่วมการเมืองเต็มตัว อีกทั้งเคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่น

ประวัติ[แก้]

หยอง หรือ หฤษพล สมจิตรนา (ชื่อเดิม : จงรวย สมจิตรนา หรือ จำรูญ สมจิตรนา) (ชื่อจริงว่า : วลัชณัฏฐ์ ประภานันยศอนันต์) เป็นบุตรของคุณพ่อนวลและคุณแม่บุญรอด เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2509 ที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เพราะความยากจนจึงเรียนจบป.4 และได้มาอาศัยอยู่ที่วัดในวัยเด็กเป็นคนที่อยากดัง อยากเป็นดารา อยากนักร้อง อยากเป็นนักมวยเลยทำทุกวิถีทางเพื่อให้ไปถึงฝันจึงหนีออกจากบ้านมาทำงานตั้งแต่อายุ 13 ปีตั้งแต่เจียระไนพลอยที่อำเภอบ้านหมี่ และซ้อมมวยไปด้วย ภายหลังมาอยู่กรุงเทพทำงานตั้งแต่ส่งน้ำตามโรงแรม ทำงานในโรงกลึงเหล็กและโรงงานกระดาษ ขุดท่อ ลาดยางก่อสร้าง ช่างสี ก่อนจะไปอยู่วงลูกทุ่งแถวซอยบุปผาสวรรค์จนวงหนึ่งเขาก็รับ ให้เป็นเด็กยกของได้ค่าแรงวันละ 20-25 บาทในวง สุพรรณ สันติชัย เขาอยู่วงสุพรรณ สันติชัยอยู่นานก็มาเป็นตลกตามวง ศรชัย เมฆวิเชียร / สายัณห์ สัญญา และ ยอดรัก สลักใจ ภายหลังได้มาอยู่คณะซุปเปอร์บอยก่อนได้ย้ายมาอยู่กับชูษี เชิญยิ้ม / สีหนุ่ม เชิญยิ้มและมาอยู่กับ หม่ำ จ๊กมก ระยะหนึ่งแล้วกลับมาอยู่กับ สีหนุ่ม เชิญยิ้ม อีกระยะหนึ่งก่อนจะออกมาตั้งคณะเป็นของตัวเองโดยมีเอกลักษณ์ของคณะคือมุขการเมือง

หยองเคยร่วมปราศรัยบนเวทีเครือข่ายประชาชนมาแล้วหลายครั้งอีกด้วย หยอง ลูกหยีเริ่มศึกษาต่อการศึกษานอกโรงเรียนเมื่ออายุ 31 ปีและศึกษาต่อปริญญาตรี รัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และปริญญาโท รัฐประศาสนศาตร์ หรือ บริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

สมาชิกในคณะ หยอง ลูกหยี[แก้]

  • ยาว ลูกหยี (พ.ศ. 2537 - 2549)
  • เขมร ลูกหยี (พ.ศ. 2537 - 2549)
  • จิมมี่ ลูกหยี (พ.ศ. 2537 - 2549) (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
  • จั๊กจั่น ลูกหยี (พ.ศ. 2537 - 2556)
  • โย่ง พิจิตร (พ.ศ. 2544 - 2547 / 2551 - 2554)
  • ประสิทธ์ ลูกหยี (พ.ศ. 2537 - 2550)
  • นุ มกจ๊ก (พ.ศ. 2541 - 2545)
  • แหยม ลูกหยี (พ.ศ. 2545 - 2550)
  • สหัส ลูกหยี (พ.ศ. 2544 - 2549)
  • แขก ลูกหยี (พ.ศ. 2543 - 2548)
  • ชูวิทย์ ลูกหยี (พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)
  • บุญหลาย เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2550 - 2553) (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
  • ลุงแซม ลูกหยี (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน)
  • แครี่ หรือ โก๋ ลูกหยี (พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน)
  • โปรย ซุปเปอร์โจ๊ก (พ.ศ. 2548 - 2552)
  • จ๊วด จารบี (พ.ศ. 2555 - 2565)
  • เซี๊ยะ ติ่มซำ (พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
  • เชษฐ์ เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน)
  • ตู่ ตาหวาน (พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน)
  • บังเจี๊ยบ สี่ดาว (พ.ศ. 2560 - 2566) (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)

บทบาทด้านการเมือง[แก้]

หยองเคยขึ้นเวทีม็อบ กปปส. และนี่เป็นต้นทุนการเมืองในการประท้วงเมื่อปี 2556-2557 [1]หยองเคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เคยลงสมัคร ส.ส ลพบุรี เขต 4 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยปัจจุบันหยองได้ลาออกจากการเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ และสมัครเป็นสมาชิก พรรคพลังประชารัฐ เดิมมีข่าวว่าจะสมัครว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดลพบุรี เขต 4[2] แต่ปัจจุบันเจ้าตัวได้พักจากวงการเมืองเพื่อเล่นวงการบันเทิงต่อไป

ด้านธุรกิจส่วนตัวหยองได้เปิดร้านก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟริมถนนสระบุรี-หล่มสัก ช่วงก่อนถึงอีซูซุลำนารายณ์ และเปิดร้านขายลาบอยู่แถวสี่แยกม่วงค่อม[3]ปัจจุบันร้านลาบปิดกิจการไปแล้ว รวมไปถึงยังเป็นที่ปรึกษาและบริหารทีมลพบุรี เอฟซี

ในระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2564 เขาและ เทพ โพธิ์งาม ประกาศจุดยืนสนับสนุนรัฐบาล แม้จะไม่เคยออกมาชุมนุมแต่ก็มีการพูดถึงอยู่หลายครั้งตามข่าว หยองได้ออกมาไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พูดคุยถึงสถาณะการณ์ทางการเมือง โดยในตอนหนึ่งเขาได้แสดงความคิดเห็นกรณี เทพ โพธิ์งาม และ นุ้ย เชิญยิ้ม อีกทั้งได้กล่าวถึง ยุ้ย ญาติเยอะ เขากล่าวว่า เธอหมดยุคไปแล้ว โดยมีลักษณะเชิงต่อว่า เสียดสี และดูหมิ่นกล่าวหาว่า ยุ้ย เป็นนักร้องตกยุค เป็นเหตุทำให้ได้รับความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือเกลียดชัง จึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับ หยอง ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา หรือดูหมิ่นด้วยการโฆษณา [4]

ภาพยนตร์[แก้]

ปี เรื่อง บทบาท หมายเหตุ
2538 ไอ้บ้าท่าจะบ๊องส์
2545 ผีหัวขาด หลวงพี่หยอง
2546 หลอน พิน (ผีโพง-ภาคเหนือ)
2547 หมอเจ็บ พี่กุ๊ก
เดอะโกร๋น ก๊วน กวน ผี แตงไท
2550 โกยเถอะเกย์ เจ้าอาวาส
ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี ตอนรักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง พระพยอม
2551 อีติ๋มตายแน่ โฆษกมวย รับเชิญ
2552 แหยม ยโสธร 2 เสือหยองลำยอง (ตัวร้าย)
รับเชิญ
2553 เหน่งกะหน่อย โจรกะโจร พระ
2554 ฮาศาสตร์ ตลกเคเฟ
พระหยอง อาจารย์เหน่ง นักเลงหน่อย พระหยอง
อีส้มสมหวัง ชะชะช่า รับเชิญ
ปัญญา เรณู หลวงพ่อ
2556 พี่มาก..พระโขนง รับเชิญ
ยังบ๊อง ออด
ยืมวันเสาร์ คืนเช้าวันจันทร์ พระ
ดุ ดวล ดิบ คนขายตั๋วเรือ
2559 หลวงพี่แจ๊ส 4G หลวงพ่อจงรวย
ป๊าด 888 แรงทะลุนรก หลวงพี่หยอง
2560 ส่ม ภัค เสี่ยน คนวงเหล้า รับเชิญ
2561 ตุ๊ดตู่กู้ชาติ
2562 หลวงตามหาเฮง ครูประชา
สงกรานต์ แสบสะท้านโลกันต์ พระหยอง
2563 พี่นาค 2 หลวงน้าหยอง
เลิฟยู โคกอีเกิ้ง หลวงพ่อ
2567 อีสานตุ๊ดซี่ พ่อของโอเล่

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2540 ระเบิดเถิดเทิง ตอน มหาผู้มาใหม่ ช่อง 5 รับเชิญ
2544 เขยซ่าส์ พ่อตาแสบ ช่อง 5 อาจารย์หมอเสน่ห์
แม่มดยอดยุ่ง ช่อง 7 อาจารย์หมอคง
2546 พุทธานุภาพ ช่อง 3 นายตุ่น รับเชิญ
เล่ห์ลับสลับร่าง ช่อง 3 รับเชิญ
2547 ไอ๊หยา อาตือ ช่อง 3 บุญลือ รับเชิญ
2550 เพลงรักริมฝั่งโขง ช่อง 7 รับเชิญ
ระเบิดเถิดเทิง ช่อง 5 รับเชิญ
2551 ผู้การเรือเร่ ช่อง 3 ผู้จัดการไอ้ดำ ชื่อสุนัข รับเชิญ
เจาะเวลาหาโก๊ะ ช่อง 7 เมืองประทุน
ระเบิดเถิดเทิง ตอน อุบัติโหดเป็นเหตุ ช่อง 5 รับเชิญ
2552 โก๊ะซ่า ท้ามิติ ช่อง 7
พยัคฆ์ยี่เก ช่อง 7 กัง
ระเบิดเถิดเทิง ตอน เจ๊หม่ำ คัมแบ๊ก ช่อง 5 รับเชิญ
2553 หัวใจรักข้ามภพ ช่อง 3
ปอบอพาร์ตเมนต์ ช่อง 7 หลวงพ่อน้อย
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 ตอน รักสามเศร้า แต่เราสี่คน ช่อง 7
2554 โก๊ะ 7 ช่อง 7
2555 แม่แตงร่มใบ ช่อง 3 แห้ว
มือปราบพ่อลูกอ่อน ช่อง 3
2556 มิสเตอร์บ้านนา ช่อง 3 หลวงลุง
วิวาห์ป่าช้าแตก ช่อง 8
เรือนกาหลง ช่อง 7 หลวงพี่กบ
2558 บ้านนี้ผี(ไม่)ปอบ ช่อง 3 หลวงตา
ปาฏิหาริย์รักข้ามขอบฟ้า ช่อง 3 พรานโจ๋
2559 นาคี ช่อง 3 นายกอ (ปัจจุบัน) / ขุนวัง (อดีต)
2560 นายฮ้อยทมิฬ ช่อง 7 หลวงพ่อ รับเชิญ
2561 My Hero วีรบุรุษสุดที่รัก
มนตราลายหงส์
ช่อง 3 นุ้ย รับเชิญ
2562 รักนี้บุญรักษา ช่อง 7 หลวงพ่อ รับเชิญ
2563 มงกุฎดอกหญ้า ช่องวัน สมหวัง เสียงสวรรค์ (พ่อใหญ่)
นางฟ้าลำแคน หลวงตา
2564 มนต์รักหนองผักกะแยง ช่อง 3 มานิต พันธุ์วิเศษ
2565 เจ้าสาวยืนหนึ่ง ช่องวัน สมัย
สายลับสะบัดช่อ ช่อง 3

ซิตคอม[แก้]

ปี เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2546 - 2550 โคกคูนตระกูลไข่ ช่อง 3, ช่อง 5 จำรวย
2561 เป็นต่อ 2018
ตอน พระเก๊, บุญมีแต่กรรมบัง, เทพบุตรขี่ม้าขาว, โอกาสสุดท้าย
ช่องวัน หลวงพ่อ รับเชิญ

มิวสิควีดีโอ[แก้]

  • เส้นทางสายปลาแดก ของ คาราบาว (2540) แสดงเป็น เสนาธิการ

อ้างอิง[แก้]

  1. ตลกดัง"หยองลูกหยี"ร่วมปราศรัยเวทีสามเสน
  2. พปชร. เปิดตัว 10 ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. 'หยอง ลูกหยี' ทิ้ง ปชป.มาลงลพบุรี
  3. เฮฮาสภาโจ๊ก! "ตลก" ตะลุยเลือกตั้ง
  4. ""หยอง ลูกหยี" เข้ารับทราบข้อหาหมิ่น "ยุ้ย ญาติเยอะ" พร้อมจะขอโทษ ไม่มีเจตนาจะบูลลี่". www.sanook.com/news.