คมสัน โพธิ์คง
หัวข้อของชีวประวัตินี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปหรือบทความบุคคล |
คมสัน โพธิ์คง | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
วิชาชีพ |
|
คมสัน โพธิ์คง (เกิด 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2508) เป็นนักกฎหมายชาวไทย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เขามีชื่อเสียงจากการเป็นสมาชิกนักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์[1] อันเป็นกลุ่มนักวิชาการที่รวมตัวกันเฉพาะกิจขนาดเล็กที่มีการพบปะพูดคุยเพื่อออกแถลงการณ์ในเรื่องที่กลุ่มเห็นว่าฝ่ายผู้มีอำนาจนั้นกระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือตามนโยบายที่ไม่สมเหตุสมผล อนึ่ง เขาเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ประวัติ
[แก้]คมสัน โพธิ์คงเกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 มีวุฒิการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (มศ.5 รุ่นสุดท้าย) โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เคยเป็นรองอธิการบดีและอาจารย์สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[2] และมีตำแหน่งทางวิชาการหลายตำแหน่ง ส่วนงานอดิเรก คือ ยิงปืน และเลี้ยงสุนัข[1]
ประวัติการทำงาน
[แก้]- รองคณบดี ฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- อดีตรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการภายใน (บริหาร) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
- กรรมการที่ปรึกษากฎหมาย คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2542-2543
- กรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กระทรวงศึกษาธิการ
- ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[1]
- คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[3]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 อ.คมสัน โพธิ์คง นักวิชาการฝีปากคม...มองการเปลี่ยนแปลงสู่เป้าความเป็นธรรม
- ↑ รายนามคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตํ่ากว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔๖, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๒๕, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๗, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักกฎหมายมหาชน
- นักวิชาการชาวไทย
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- นักกฎหมายชาวไทย
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์
- เจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นแนวร่วม กปปส.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.