ล้อม เพ็งแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ.ล้อม เพ็งแก้ว

ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว เกิดที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง แต่มาใช้ชีวิตอยู่ที่ จังหวัดเพชรบุรี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) รับราชการเป็นอาจารย์มาจนกระทั่งเกษียณ โดยที่สุดท้ายเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย[1]

อาจารย์ล้อม เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทยหลายแขนง จนได้รับการขนานนามว่า "ปราชญ์ชาวบ้าน" หรือ "ปราชญ์เมืองเพชร" มีผลงานที่เป็นที่ยอมรับและนับถือมากมาย จากงานเขียนที่สะท้อนความคิดตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น มติชนสุดสัปดาห์, เมืองโบราณ, สารคดี เป็นต้น และมีผลงานเป็นหนังสือจำนวนมาก

ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษากลุ่มคนรักเมืองเพชร และเป็นนายกสมาคมสื่อมวลชน จังหวัดเพชรบุรี[2]

ชีวิตส่วนตัว มีบุตรสาวชื่อ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว เป็นนักเขียนสารคดีดีเด่นแห่งปี พ.ศ. 2551 และผู้ดำเนินการองค์การพัฒนาเอกชน (NGO)[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย ประจำปีพุทธศักราช 2552". หอเกียรติยศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 กรกฎาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2011.
  2. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง; อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, บ.ก. (2004). รู้ทันภาษา รู้ทันการเมือง : ทักษิณสมัย. กรุงเทพฯ: ฃอคิดด้วยฅน, สนพ. p. 199–200. ISBN 9749238796.
  3. พรชัย จันทโสก, บ.ก. (9 กุมภาพันธ์ 2009). "นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว ... นักเขียนบทความดีเด่นปี 2551". กรุงเทพธุรกิจ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2011.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗๒, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐