นาคร ศิลาชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาคร ศิลาชัย
Nakhorn Silachai at CTW.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด2 เมษายน พ.ศ. 2507 (58 ปี)
ไทย ประเทศไทย
คู่สมรสกษมา ศิลาชัย (จูน)
บุตร4 คน
อาชีพนักแสดง พิธีกร นักกีฬา ยูทูบเบอร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2531 – ปัจจุบัน
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

นาคร ศิลาชัย ชื่อเล่น เปิ้ล​ เกิดวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2507 เป็นนักแสดง พิธีกร ชาวไทย จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานเป็นพิธีกรร่วมในยุทธการขยับเหงือก เป็นพิธีกร รายการ สาระแนจังดึก, นั่งยางโชว์[1]

ประวัติ[แก้]

ด้านการแข่งขันเจ็ตสกี ได้รับรางวัลการแข่งขันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แชมป์ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพฯ รุ่น Pro runabout 800 super stock ปี 2547, แชมป์ประเทศไทยปี 2545 Novice runabout 0-1200 stock, ผลงานระดับนานาชาติเช่น แชมป์ประเทศไทย การแข่งขันเจ็ตสกี ชิงแชมป์ไทยแลนด์ โอเพ่นปี 2542 และได้รับรางวัล Novice runabout 1200 stock, Novice runabout 1200 stock-slalom, Novice runabout 1200 Limited-slalom จากสหรัฐอเมริกา รวมถึงรางวัล Novice runabout 1200 stock-slalom ยังเป็นการทำลายสถิติโลกอีกด้วย นอกจากนี้ยังร่วมแข่งขันชิงแชมป์โลกที่สหรัฐอเมริกาในรุ่น Pro-am runabout 800 super stock[2]

นาคร ได้สมรสกับนางกษมา ศิลาชัย (จูน) (สกุลเดิม: มยุรมาศ) พร้อมจดทะเบียนสมรสที่เขตบางรัก เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 มีบุตร-ธิดา 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2 คน ดังนี้

  1. เด็กหญิงศิศิรา ศิลาชัย (ออกัส)
  2. เด็กชายนครา ศิลาชัย (ออก้า)
  3. เด็กชายนครินทร์ ศิลาชัย (ออกู๊ด)
  4. เด็กหญิงศิริกร ศิลาชัย (ออเกรซ)

ผลงาน[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
2533–2535 เหตุเกิดที่ สน. รับเชิญ ช่อง 7
2537–2538 ว้าวุ่น คิด
2537 สนทนาประสาจน ช่อง 5
2541 ขอโทษทีขอเป็นฮีโร่ ช่อง 3
2542 เทวดาตกสวรรค์ วาที ช่อง 5
2546 บ้านนี้ผี(ไม่)ปอบ โม่ง ช่อง 3
2553 บันทึกกรรม ตอน แผ่นผีมีกรรม
2557 ร้ายรักพยัคฆ์กังฟู เฮียหลอ หมาตื่น
แสนดี เดอะซีรีส์ (รับเชิญ) ทรูโฟร์ยู

พิธีกร[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

เพลง[แก้]

  • อัลบั้ม กำลังใจให้สายัณห์ (2556)

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต สมาคมชมดาว - ชมดาว 008 ปาร์ตี้โชว์ (2546)
  • คอนเสิร์ต Love in Red & White (2548)

หนังสือ[แก้]

  • The Toilet 1-5

กรรมการ[แก้]

รางวัลการแข่งขันเจ็ตสกี[แก้]

  • แชมป์ประเทศไทยปี 2563 รุ่น SEADOO 300 HP Runabout Pro Stock
  • แชมป์ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพฯ รุ่น Pro runabout 800 super stock ปี 2547
  • แชมป์ประเทศไทยปี 2545 Novice runabout 0-1200 stock
  • ระดับนานาชาติเช่น โอเพ่นปี 2542 รางวัล Novice runabout 1200 stock
  • การแข่งขันเจ็ตสกี ชิงแชมป์ไทยแลนด์ รางวัล Novice runabout 1200 stockslalom
  • แชมป์ สหรัฐอเมริกา รางวัล Novice runabout 1200 Limited-slalom
  • รางวัล Novice runabout 1200 stock-slalom
  • ยังเป็นการทำลายสถิติโลกอีกด้วย นอกจากนี้ยังร่วมแข่งขันชิงแชมป์โลกที่สหรัฐอเมริกาในรุ่น Pro-am runabout 800 super stock

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]