สุภา สิริสิงห
สุภา สิริสิงห | |
---|---|
เกิด | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ |
นามปากกา | โบตั๋น, ปิยตา, ปิยตา วนนันทน์, ส. ลือศิริ |
อาชีพ | นักเขียน นักแปล |
คู่สมรส | วิริยะ สิริสิงห |
สุภา สิริสิงห (13 สิงหาคม พ.ศ. 2488 - ) นักเขียนชาวไทย เจ้าของนามปากกา "โบตั๋น" ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2542
สุภา สิริสิงห เดิมชื่อ สุภา ลือศิริ เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ตำบลบางจาก อำเภอภาษีเจริญ ธนบุรี จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานเป็นครูโรงเรียนเอกชน และมัคคุเทศก์ และเลขานุการในสำนักงานพลังงานแห่งชาติ
สุภาทำงานที่สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ทำวารสาร "ชัยพฤกษ์" และ "สตรีสาร" ฉบับพิเศษสำหรับเด็ก ได้พบกับ วิริยะ สิริสิงห และสมรสกันในปี พ.ศ. 2518 และลาออกไปตั้งสำนักพิมพ์ชมรมเด็ก ร่วมกับสามีจนถึงปัจจุบัน (ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักพิมพ์ สุรีวิยาสาส์น)
สุภา เริ่มงานเขียนตั้งแต่ พ.ศ. 2507 โดยเขียนเรื่องสั้นขณะเรียนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเริ่มเขียนเรื่อง โดยใช้นามปากกา "โบตั๋น" ลงตีพิมพ์ใน "สตรีสาร" ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 เริ่มมีชื่อเสียงจาก นวนิยาย "จดหมายจากเมืองไทย" ได้รับรางวัลวรรณกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2512 จากองค์การ ส.ป.อ. (องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น "ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด" "ตะวันชิงพลบ" "ไผ่ต้องลม" "ทองเนื้อเก้า" "เกิดแต่ตม" "ตราไว้ในดวงจิต" "นวลนางข้างเขียง" "ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก" "สุดแต่ใจจะไขว่คว้า" "บ้านสอยดาว" ระยะหลังหันไปเขียนหนังสือเด็ก และแปลหนังสือจากภาษาต่างประเทศ
สุภา สิริสิงห มีบุตรสาวกับ วิริยะ สิริสิงห 2 คน คือ สุวีริยา และ ภาวสุ สิริสิงห
ผลงาน[แก้]
- กลิ่นดอกส้ม
- กว่าจะรู้เดียงสา
- ก่อนสายหมอกเลือน
- กล้วยไม้กลีบช้ำ
- กัณหา ชาลี
- เกิดแต่ตม
- แก้วตา ดวงใจ
- คลื่นเหนือน้ำ
- ความสมหวังของแก้ว
- คืนเหงา
- คู่ยาก
- แค่เอื้อม
- จดหมายจากเมืองไทย
- จันทร์ข้างแรม
- จากผงธุลีดิน
- โฉด
- ซุ้มสะบันงา
- ดงคนดิบ
- ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก
- ด้วยสายใยรัก
- ดอกกระถินริมรั้ว
- ดอกไม้ริมทาง
- ดั่งสายน้ำไหล
- ดั่งหนึ่งเม็ดทราย
- ดาวแต้มดิน
- เดนมนุษย์
- ตราไว้ในดวงจิต
- ตะวันชิงพลบ
- ถนนสายสุดท้าย
- ทองเนื้อเก้า
- ทิพย์ดุริยางค์
- นวลนางข้างเขียง
- นะหน้าทอง
- น้ำใจ (นวนิยาย)
- บัวแล้งน้ำ
- บ้านสอยดาว
- ปลาหลงน้ำ
- ปลายฝนต้นหนาว
- ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด
- ไผ่ต้องลม
- แฝดพี่ฝาดน้อง
- พิมพิลาป
- เพรงกรรม
- ฟ้าชอุ่มฝน
- ไฟในดวงตา
- ไฟฝ้น
- ภาพลวง
- แม้นรกมากั้น
- ไม้ดัด
- ยายหนูลูกพ่อ
- รอยอดีต
- รักวัวให้ผูก รักลูกให้...
- รุ้งสีชมพู
- เรือทรายชายน้ำ
- ลูกแม่
- วัยบริสุทธิ์
- สัมปทานหัวใจ
- สายสัมพันธ์
- สุดทางฝันวันฟ้าไกล
- สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
- เหนือพื้นพสุธา
- เหยื่อ
- สู่สวนรัก
- เล่ห์ (นวนิยาย)
- อเวจีสีชมพู
- แวววัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[1]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๖ ข หน้า ๒๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับวรรณกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากเขตภาษีเจริญ
- ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋ว
- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
- นักเขียนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ครูชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- มัคคุเทศก์
- บทความเกี่ยวกับ วรรณกรรม ที่ยังไม่สมบูรณ์