ตุลย์ สิทธิสมวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตุลย์ สิทธิสมวงศ์
เกิด19 ตุลาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพอาจารย์, แพทย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ (เกิดวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2508) นักเคลื่อนไหวทางการเมือง นักวิชาการ และ แพทย์ชาวไทย จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล เป็นอาจารย์ประจำภาควิชา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา หน่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความชำนาญ ทางด้านมะเร็งวิทยาทางนรีเวช

ประวัติ[แก้]

ตุลย์ ศึกษาในชั้นประถมต้นจนถึงมัธยมต้นที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ศึกษามัธยมปลาย 3 ปีที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2526 จนจบ แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2532 ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้หรือความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพเวชกรรม สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แพทยสภา พ.ศ. 2536, ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางคลินิกสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2534 และบรรจุเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์เมื่อ ปี พ.ศ. 2538[1]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง[แก้]

ตุลย์เป็นหนึ่งในผู้ประสานงานเครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรมนำประชาธิปไตย (จคป.) และเคยร่วมขึ้นเวทีร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นผู้ประสานงานกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนหลายกลุ่ม ในช่วงวิกฤตการเมืองท้ายสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น เครือข่ายวิชาการเพื่อประชาธิปไตย (ควป.), เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคม, กลุ่มนักวิชาการเพื่อประชาชน, เครือข่ายสมัชชาประชาชนทั่วประเทศ, กลุ่มนักวิชาการนักธุรกิจและประชาชน, แนวร่วมประชาชนต้านการนิรโทษกรรมฯ, ผู้นำกลุ่มประชาชนผู้รักชาติและความถูกต้อง, เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (เสื้อหลากสี) เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้ที่รักษา อิทธิพล สรวิทย์สกุล ที่บาดเจ็บจากการถูกรุมสหบาทาที่เซ็นทรัลเวิลด์[2] เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในเหตุการปะทะกันของฝ่ายผู้สนับสนุนนายกฯและฝ่ายต่อต้านฯ (ดูเพิ่ม "การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี") รวมถึงยังเข้าร่วมกับการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ด้วย (ดูเพิ่ม "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557" )[3]

นอกจากนั้น ตุลย์ ยังเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เป็นกรรมาธิการและโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและส่งเสริมการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมแก่นักการเมือง ข้าราชการและประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, กรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้นำร่วมกับสภาคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คัดค้าน สนช. ในการผ่านร่าง พ.ร.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างเร่งรีบโดยไม่ฟังเสียงประชาคมจุฬาฯ[4][5][6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูล ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ จากเว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสัมภาษณ์พิเศษ ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ "ป๋าเปรมย้ำปัญหาต้องแก้ที่ต้นตอเท่านั้น"[ลิงก์เสีย], 16 กันยายน 2549 15:05 น.
  3. ม็อบหมอก่อตัวเตรียมเคลื่อนไปสามเสน[ลิงก์เสีย] จากสำนักข่าวไทย
  4. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์.ประชาคมจุฬาฯยื่น สนช.ค้านออกนอกระบบ. เก็บถาวร 2007-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  5. บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์แทบลอยด์ เรื่องปก 'ถอนร่างออก' นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์[ลิงก์เสีย] 17 ธันวาคม 2549
  6. ณศักต์ อัจจิมาธร, หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์. ผ่าความคิด 'ตุลย์ สิทธิสมวงศ์' หัวหอกต้าน 'จุฬาฯ' ออกนอกระบบ[ลิงก์เสีย]วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๐๓, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๔, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๗, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕