หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ | |
---|---|
![]() | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 วังเพชรบูรณ์ จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (93 ปี) โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | หม่อมหลวงประอร มาลากุล (2495–2501) โรจนา สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (2505–2562) |
อาชีพ | นักชิม, นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์, นักเขียนและนักร้อง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2486–2562 |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2551 - สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง ) |
โทรทัศน์ทองคำ | พ.ศ. 2553 - เกียรติยศคนทีวี |
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562) เป็นศิลปินแห่งชาติ นักแสดง นักร้อง นักเขียน และนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการแนะนำและจัดระดับความอร่อยของร้านอาหาร ในชื่อ "เชลล์ชวนชิม" สัญลักษณ์ชามลายผักกาด ทางหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 [1] โดยดัดแปลงมาจาก "มิชลินไกด์" ของผลิตภัณฑ์มิชลิน [2] คุณชายเป็นโอรสคนโตในหม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ กับหม่อมเจริญ
รายการโทรทัศน์ "การบินไทยไขจักรวาล", "ครอบจักรวาล" (และมีรายการวิทยุ) ติดต่อกันมานานหลายปี
นอกจากนี้ยังเป็นนักร้องเพลงลูกกรุง ที่มีชื่อเสียง เช่น ข้องจิต, สีชัง, ยามรัก, หวงรัก, วนาสวาท, ระฆังทอง, โศก ฯลฯ
ประวัติ[แก้]
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เป็นโอรสคนใหญ่ในหม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ กับ หม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 ที่วังเพชรบูรณ์ (ปัจจุบันคือศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์) เติบโตอยู่ภายในวังสระปทุม[3] มีพี่สาวและน้องชาย คือ
- เภสัชกรหญิง หม่อมราชวงศ์สนองศรี สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์เพิ่มศรี สวัสดิวัตน์
เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนราชินี พ.ศ. 2481 และโรงเรียนเทพศิรินทร์ พ.ศ. 2485 มีเลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ.5444 จนจบชั้นมัธยมในปีต่อมา นับรุ่นคือนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์รุ่นปี 2485 แล้วศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พร้อมกับเริ่มเข้าวงการบันเทิง เป็นนักแสดงและร้องเพลงหารายได้ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งท่อนํ้าดีระยะสุดท้าย ที่โรงพยาบาลเปาโล เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เวลา 11.35 น.[4]
งานด้านสื่อสารมวลชน[แก้]
ช่วงหลังสงครามได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จึงได้เป็นนักจัดรายการวิทยุ บีบีซี ภาคภาษาไทย
เมื่อกลับประเทศไทย ได้เป็นนักร้องให้กับวงสุนทราภรณ์ และร่วมงานกับโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ด้านละครและขับเสภา/ร้องเพลงไทย เคยรับบทเด่น เป็น "ตั๋งโต๊ะ" ในงิ้วไทย "สามก๊ก" บทพระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งมี อารีย์ นักดนตรี และเทิ่ง สติเฟื่อง ร่วมแสดง พ.ศ. 2499[5] รวมถึงแสดงนำใน "สุริยานีไม่ยอมแต่งงาน" ซึ่งเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกของไทย พ.ศ. 2499 ในปีเดียวกันด้วย[6]
ร่วมแสดงภาพยนตร์ไทย "วนาลี" พ.ศ. 2502 และ "นางแมวผี" พ.ศ. 2503 [7]
นักแสดงรับเชิญ ร่วมกับ คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร, อิงอร ฯลฯ ในรายการ "สัมนานักสืบ" ดำเนินรายการโดย พ.อ.ถาวร ช่วยประสิทธิ์ ทางทีวีกองทัพบก ช่อง 7 ขาวดำ (ททบ.ช่อง 5 ปัจจุบัน) พ.ศ. 2508
ปรากฏตัวพิเศษฉากเพลง "ยามรัก" ในภาพยนตร์ไทยซาวด์ออนฟิล์ม เรื่อง "กลัวเมีย" ของ ศรีกรุงภาพยนตร์ (ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง) พ.ศ. 2514 กำกับการแสดงโดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี และอรัญญา นามวงศ์
ผู้จัดและดำเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ "ครอบจักรวาล" รายการสารคดีปกิณกะ ว่าด้วยการท่องเที่ยวและแนะนำอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, "การบินไทยไขจักรวาล" (พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2548) รายการตอบปัญหาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา โดยมีการบินไทยเป็นผู้สนับสนุน , " พ่อบ้านเข้าครัว" ช่วงทศวรรษ 2520-2530
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี ยังเขียนบทความประจำคอลัมน์ "ถนัดศรีชวนชิม" ให้กับหนังสือพิมพ์มติชนรายสัปดาห์ และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รวมถึงผลิตและจัดรายการโทรทัศน์ "พ่อลูกเข้าครัว" ร่วมกับบุตรชาย หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ (คุณหมึกแดง) พ.ศ. 2551
ศิลปิน[แก้]
ด้วยเลือดศิลปินการขับร้องเพลงไทยเดิมจาก คุณตา หลวงกล่อมโกศลศัพท์ (จอน สุนทรเกศ) ซึ่งเป็นน้าของหม่อมมารดา และ หม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (เศวตะทัต) หม่อมมารดา พรสวรรค์จากสายเลือด จึงทำให้คุณชายได้กลายเป็นนักร้องสุนทราภรณ์รุ่นแรก และออกแผ่นเสียง และอัลบัม โด่งดังอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีเพลงโด่งดังระดับตำนานมากมาย เช่น สีชัง ยามรัก หวงรัก วนาสวาท จนได้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)[8] พ.ศ. 2551
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เป็นผู้ที่มีความสามารถเฉพาะตัวที่สูงยิ่งทั้งด้านการขับร้องเพลง ศิลปะการแสดง การพูด และการเขียนบทความ โดยเฉพาะการขับร้องเพลงไทยสากล มีเทคนิคการ้องเพลงท่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง การเอื้อน การออกเสียงเต็มไปด้วยมนต์ขลังทั้งนุ่มนวล อ่อนหวาน มีผลงานเพลงที่ขับร้องอัดแผ่นเสียง รวมกว่า 200 เพลง เพลงบางเพลงมีความไพเราะได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย อาทิ เพลงสีชัง ทะเลระทม วานลมจูบ ทำไมหนอ ตราบสิ้นลม วนาสวาท ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการยกระดับสถานภาพของนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลงให้มีเกียรติ มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของสังคม รวมทั้งยังเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานด้านอื่น ๆ เช่น การทำศูนย์อาหารเชลล์ชวนชิม จัดรายการครอบจักรวาล จัดรายการวิทยุโทรทัศน์ เขียนบทความ เป็นพิธีกร เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงาน องค์กร บริษัท สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่เป็นประจำ จากผลงานดังกล่าวทำให้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากเพลงสีชัง รางวัลเสาโทรทัศน์ทองคำ ในฐานะจัดรายการดีเด่น รางวัลเมขลาในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นด้ายวิทยุและโทรทัศน์
อาจารย์พิเศษ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
งานนักชิม และการทำอาหาร[แก้]
"เชลล์ชวนชิม" อันโด่งดังทั่วประเทศ และบุกเบิกรายการทำอาหารในประเทศไทย เช่น " พ่อบ้านเข้าครัว" , " พ่อลูกเข้าครัว"
โดย ม.ร.ว.ถนัดศรี ได้รับการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญในการทำอาหารมาจากหม่อมมารดา หม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา ผู้เคยปรุงพระกระยาหารถวายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
งานประวัติศาสตร์ สังคม และศิลปวัฒนธรรมของไทย[แก้]
เป็นผู้เชี่ยวชาญ รอบรู้ ในงานประวัติศาสตร์ สังคม และศิลปวัฒนธรรมของไทย ที่ถ่ายทอดความรู้ผ่านรายการวิทยุ และโทรทัศน์ "ครอบจักรวาล" มาอย่างยาวนาน
งานการเมือง[แก้]
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[9] ของรัฐบาล นายสัญญา ธรรมศักดิ์
รางวัลที่ได้รับ[แก้]
- รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน นักร้องชายรองชนะเลิศ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2507 จากเพลงสีชัง
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)[8] พ.ศ. 2551
- รางวัลนราธิป "นักเขียนอาวุโส" พ.ศ. 2551
- รางวัลเกียรติยศคนทีวี ในงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2551
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
ชีวิตครอบครัว[แก้]
สมรสครั้งที่ 1 (2495 - 2501) กับหม่อมหลวงประอร มาลากุล มีบุตร 2 คน คือ
- หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ (คุณหมึกแดง)
- พลตรี หม่อมหลวงเพิ่มวุทธิ์ สวัสดิวัตน์ (คุณจิ๋ว) มีบุตรธิดา 4 คนคือ
- จรสพรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
- กรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
- กุณฑลทิพย์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
- จิรวุฒิ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
สมรสครั้งที่ 2 (2505 - 2562) กับนางโรจนา สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สวนรัตน์) มีบุตร 1 คน คือ
- หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์, ปิ่นโตเถาเล็ก)[10] มีธิดา 2 คน
- อรดา สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
- ภิรดา สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2517 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[11]
- พ.ศ. 2552 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[12]
ลำดับสาแหรก[แก้]
พงศาวลีของหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ผู้สร้างตำนาน "นักชิมอาหาร"
- ↑ http://www.archives.scene4.com/jul-2009/html/janineyasovantthai0709.html
- ↑ ชีวิตที่เกินคำบรรยาย
- ↑ ปิดตำนานเชลล์ชวนชิม "หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี" ถึงแก่กรรม
- ↑ อารีย์ นักดนตรี, โลกมายาของอารีย์, กาย มารุต 2546 ISBN 974-91018-4-7 หน้า 124-132
- ↑ ย้อนชมเหตุการณ์สำคัญ 63 ปี อสมทจากสำนักข่าวไทย
- ↑ www.thaifilm.com
- ↑ 8.0 8.1 ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ศิลปินครอบจักรวาล มติชนฉลองใหญ่ "คุณชายยอดนักชิม" โดย สกุณา ประยูรศุข (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11311 มติชนรายวัน)
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ แถมสิน รัตนพันธุ์. ตำนาน "ลึก(ไม่)ลับ"' ฉบับ ทระนง ฅนหนังสือพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน, พ.ศ. 2548. 160 หน้า หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9785-33-9
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 1056 วันที่ 31 ธันวาคม 2517 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/229/1055.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี 2552
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2469
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2562
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนราชินี
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- หม่อมราชวงศ์
- ราชสกุลสวัสดิวัตน์
- ศิลปินแห่งชาติ
- นักร้องเพลงลูกกรุง
- นักแสดงชายชาวไทย
- พิธีกรไทย
- นักโภชนาการ
- คอลัมนิสต์
- นักพูด
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- เสียชีวิตจากมะเร็งท่อน้ำดี