ไพบูลย์ นิติตะวัน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ไพบูลย์ นิติตะวัน | |
---|---|
รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน 2555 – 24 พฤษภาคม 2557 | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม 2551 – 1 มีนาคม 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มกราคม พ.ศ. 2497 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
เชื้อชาติ | ไทย |
พรรค | ประชาชนปฏิรูป (2561-2562) พลังประชารัฐ (2562-ปัจจุบัน) |
ศาสนา | พุทธ |
ไพบูลย์ นิติตะวัน นักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] และ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐฝ่ายกฎหมาย ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการกฎหมายและข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ [2]
อดีตประธานคณะกรรมาธิการ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่… พ.ศ. … (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91), อดีตสมาชิกวุฒิสภา สองสมัย, เป็นอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558, อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ[3] และเป็นอดีตนายกสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า อดีตประธานมูลนิธิอีพีเอธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป
ประวัติ
ไพบูลย์เป็นสมาชิกวุฒิสภาสองวาระ โดยวาระแรกจากการสรรหาภาครัฐ[4] ดำรงตำแหน่งเต็มวาระ ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2554 และวาระที่สองจากการสรรหาภาคอื่น[5] ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2555 - 2557 ในระหว่างการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เขาได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและประสานงานกลุ่ม 40 สว. ทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูง ตามกระบวนการภายใต้รัฐธรรมนูญ ในหลายรัฐบาล เพื่อให้ระบอบการปกครองอยู่ภายใต้หลักนิติรัฐ นิติธรรม และเป็นที่พึ่งของประชาชนต่อไป
การดำรงตำแหน่งสำคัญ
- พ.ศ. 2564 : ประธานคณะกรรมาธิการ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่… พ.ศ. … (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91) [6]
- พ.ศ. 2563 : ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตาม ตรวจสอบ การใช้เงินตามพระราชกำหนด 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [7]
- พ.ศ. 2558 : ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ
- พ.ศ. 2557 : ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ หมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ)
- พ.ศ. 2557 : กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558
- พ.ศ. 2557 : สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- พ.ศ. 2555 : สมาชิกวุฒิสภา การสรรหาภาคอื่น[8]
- พ.ศ. 2555 : นายกสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า
- พ.ศ. 2551 : สมาชิกวุฒิสภา การสรรหาภาครัฐ[9]
- พ.ศ. 2551 : ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ประธานวุฒิสภา
- พ.ศ. 2551 : ประธานคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมภาคประชาชนป้องกันการทุจริตและตรวจสอบภาครัฐ วุฒิสภา
- พ.ศ. 2551 : รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และ เสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา
- ไม่ทราบปี : อุปนายกสโมสรรัฐสภาคนที่ 1
- ไม่ทราบปี : ที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- ไม่ทราบปี : ที่ปรึกษาสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- ไม่ทราบปี : กรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
รางวัลที่ได้รับ
- ไม่ทราบปี : ศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันพระปกเกล้า
- ไม่ทราบปี : ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ไม่ทราบปี : ศิษย์เก่าดีเด่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ไม่ทราบปี : ศิษย์เก่าดีเด่น หลักสูตร EPA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การศึกษา
ปริญญาบัตร
- ปริญญาตรี หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ปริญญาโท หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร รุ่นที่10 (EPA10) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศนียบัตร
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 (ปปร. 5) สถาบันพระปกเกล้า
บทบาททางการเมือง
สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 ไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นผู้ยื่นคำร้องฟ้องยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในคดีการโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี
ส่งผลให้วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องของ ไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภาและมีคำวินิจฉัยว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 9 คน พ้นจากตำแหน่งและสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 10 คน[10]จึงทำให้เกิดสูญญากาศขึ้นไม่มีหัวหน้ารัฐบาลในขณะนั้น ฝ่ายทหารจึงประกาศกฎอัยการศึก เพื่อควบคุมสถานการณ์ออกคำสั่งโยกย้ายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอาวุธจำนวนหลายพันนาย ออกจากกรุงเทพจนต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าใช้อำนาจการปกครองประเทศแทนในช่วงที่เกิดสูญญากาศ[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาเขาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขามีแนวคิดว่า "จุดใหญ่ของการปฏิรูป คือ การลดอำนาจพรรคการเมือง เพิ่มอำนาจให้ภาคประชาชนโดยการปฏิรูปให้ สส.เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่ลูกจ้างพรรคการเมือง"[11]
คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา
เขายังได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ ในวันที่ 6 มกราคม 2559 เขาเข้าร่วมเครือข่ายปกป้องพระเกียรติพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชและเครือข่ายสตรีปกป้องพระพุทธศาสนา ออกมาคัดค้านการแต่งตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)เป็นสังฆราชองค์ใหม่
ยื่นคัดค้านกรณีไทยรักษาชาติเสนอชื่อ ทูลกระหม่อมฯ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ชี้ผิดระเบียบ กกต.
ไพบูลย์คือผู้ยื่นคำร้องต่อ กกต. ขอให้ระงับการเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกฯ ในบัญชีของพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) เมื่อ 8 ก.พ. 2562 ก่อนที่ ทษช. จะถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคในอีก 1 เดือนหลังจากนั้น พร้อมตัดสิทธิการเมืองคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) เป็นเวลา 10 ปี [12][13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2558 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[16]
- พ.ศ. 2547 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[17]
อ้างอิง
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ บิ๊กป้อม เซ็นตั้งคณะกรรมการกฎหมายพรรคพลังประชารัฐ ไพบูลย์ นั่งประธาน
- ↑ ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ครั้งที่1/2558
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา (นายไพบูลย์ นิติตะวัน)
- ↑ รายนาม คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91)
- ↑ รายนาม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตาม ตรวจสอบ การใช้เงินตามพระราชกำหนด 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา (นายไพบูลย์ นิติตะวัน)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๙/๒๕๕๗ วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ระหว่าง นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภา และคณะ รวม ๒๘ คน ผู้ร้อง กับ นางสาวยิ่งลักษณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้อง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 2018-11-01.
- ↑ เปิดใจ "กมธ.สายล่อฟ้า" คล้องนกหวีดลุยปฏิรูป[ลิงก์เสีย]
- ↑ ไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้สร้างสารพัดวีรกรรม “ส.ส. ปัดเศษ-นักร้อง-ซามูไร” ก่อนศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดสถานภาพ ส.ส.
- ↑ ไพบูลย์ยื่นคัดค้านกรณีไทยรักษาชาติเสนอชื่อ ทูลกระหม่อมฯ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ชี้ผิดระเบียบ กกต.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๓๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
แหล่งข้อมูลอื่น
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ไพบูลย์ นิติตะวัน |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบสรรหา
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- พรรคประชาชนปฏิรูป
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากสถาบันพระปกเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.