ข้ามไปเนื้อหา

พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
พรหมินทร์ ใน พ.ศ. 2563
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 กันยายน พ.ศ. 2566
(1 ปี 57 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
ดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(1 ปี 231 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้านิพนธ์ พร้อมพันธุ์
ถัดไปยงยุทธ ติยะไพรัช
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 217 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ายงยุทธ ติยะไพรัช
ถัดไปพงษ์เทพ เทศประทีป
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
(0 ปี 128 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 6 มกราคม พ.ศ. 2548
(1 ปี 332 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าพงศ์เทพ เทพกาญจนา
ถัดไปวิเศษ จูภิบาล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2542–2550)
เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพญ.มัธยา เลิศสุริย์เดช
ลายมือชื่อ

นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช (ชื่อเล่น: มิ้ง; เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร และประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน

ประวัติ

[แก้]

นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่นว่า "หมอมิ้ง" เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดพระนคร ในสมัยเป็นนักเรียน นายแพทย์พรหมินทร์ เคยทำงานในตำแหน่งประธานนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อจบชั้น ม.ศ. 5 สอบได้เป็นอันดับที่ 6 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นอันดับที่ 30 ของประเทศ[1]

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เขาสอบได้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นประธานนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ชีวภาพปี 2 เมื่อปี พ.ศ. 2518 ได้รับความไว้วางใจให้เป็นเลขาธิการพรรคแนวร่วมมหิดล (ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยมีประธานพรรคคนแรกคือ นายแพทย์เหวง โตจิราการ) ในช่วงที่นายแพทย์พรหมินทร์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคนั้น เป็นช่วงที่พรรคแนวร่วมมหิดล มีการขยายตัวสูงสูด นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งเลขาธิการแกนม่วง-เหลือง อีกด้วย เขาเคยเล่าผ่านหนังสือ "ปูมประวัติศาสตร์มหิดลฯ" ว่าได้นำเอาสรรนิพนธ์ของเหมา เจ๋อ ตุง ว่าด้วยเรื่องการสร้างพรรคมาศึกษาและปรับใช้กับการสร้างพรรคแนวร่วมมหิดล

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นายแพทย์พรหมินทร์ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า สหายจรัส

ภายหลังจบการศึกษาและทำงานราชการ ต่อมาพรรคพวกเครือข่ายคนเดือนตุลาที่ไปช่วยงาน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แนะนำให้ดึงตัวนายแพทย์พรหมินทร์เข้ามาช่วยงานด้านกลยุทธ์ และได้เข้าร่วมทำงานกับกลุ่มบริษัทชินวัตร จนตำแหน่งสุดท้ายคือซีอีโอ ของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ โดยเขาและบริษัทแมทช์บอกซ์อยู่เบื้องหลังแคมเปญการรณรงค์ทางการเมืองให้กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นภาพโปสเตอร์ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยืนชี้นิ้วมองไกลไปข้างหน้าพร้อมกับคำขวัญ "พลิกเมืองไทยให้แข่งกับโลก" ที่ได้รับว่าพึงพอใจจากคนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เขาและผู้บริหารแมทช์บอกซ์ เป็นกลุ่มเพื่อนของนายธงชัย วินิจจะกูล ประธานศูนย์นักเรียนแห่งประเทศไทย ที่ใกล้ชิดกับนายแพทย์พรหมินทร์และมีความผูกพันทางอุดมการณ์มาอย่างยาวนาน[2] ต่อมานายแพทย์พรหมินทร์ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]

ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เขาร่วมงานกับกลุ่มแคร์ ซึ่งทักษิณเป็นหนึ่งในแกนนำ และในอีก 2 ปีต่อมาเขารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคเพื่อไทย และมีบทบาทสำคัญในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยเป็นตัวแทนพรรคเพื่อไทยในการขึ้นเวทีประชันวิสัยทัศน์ และ/หรือ โต้วาทีกับพรรคการเมืองอื่น ๆ[4] ต่อมาเมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมี เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี นายแพทย์พรหมินทร์จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม[5] และในปีถัดมา แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งให้นายแพทย์พรหมินทร์ดำรงตำแหน่งนี้ต่อเนื่องเป็นสมัยที่สี่[6]

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ แพทย์หญิงมัธยา เลิศสุริย์เดช มีบุตร 2 คน คือ นายมติ เลิศสุริย์เดช และ น.ส.มาพร เลิศสุริย์เดช

ประวัติการศึกษา

[แก้]

ประวัติการทำงาน

[แก้]
  • พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544 กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
  • พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543 ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริหารภาคพื้นดินและงานสนับสนุน บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2539 ผู้จัดการทั่วไป บมจ. อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (ไอบีซี)
  • พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538 รักษาการกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไอบีซี ลาว จำกัด
  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไอบีซี กัมพูชา จำกัด
  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 ผู้จัดการอาวุโสพัฒนาธุรกิจ บมจ. อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
  • พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536 หัวหน้าฝ่ายแผนงานสาธารณสุข กองแผนงานสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2534 นายแพทย์ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
  • พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531 นายแพทย์ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง

[แก้]
พรหมินทร์ ใน พ.ศ. 2548 ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  บรูไน :
    • พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งบรูไน ชั้นที่ 3 เอส.เอ็ม.บี (S.M.B.)[9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. OSKNetwork ย้อนรอยอดีตสู่ปัจจุบัน: ลูกสวนฯผลิตผลของยุคทองฝีมือครูสวนฯ
  2. คนตุลาตายแล้ว , สำนักพิมพ์สาริกา, แคน สาริกา
  3. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. "พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช (ว่าที่) เลขาธิการนายกฯ หวนคืนทำเนียบฯ-นั่งเก้าอี้ตัวเดิมในรอบ 17 ปี". BBC News ไทย. 2023-08-28.
  5. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 6 กันยายน 2566
  6. "ประชุมครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง นพ.พรหมินทร์ นั่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี". โพสต์ทูเดย์. 7 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๕, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๙, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
ก่อนหน้า พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ถัดไป
เดช บุญ-หลง
ปองพล อดิเรกสาร
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 54)
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 6 มกราคม พ.ศ. 2548)
วิเศษ จูภิบาล