หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มานิจ ชุมสาย
เกิด5 ตุลาคม พ.ศ. 2451[1]
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
เสียชีวิต3 มกราคม พ.ศ. 2552 (100 ปี)
อาชีพนักเขียน นักประวัติศาสตร์
คู่สมรสเฉลิมขวัญ ชุมสาย ณ อยุธยา
บุพการี
  • พันเอก หลวงเอนกนัยวาที (หม่อมราชวงศ์นารถ ชุมสาย) (บิดา)
  • เจิม เอนกนัยวาที [2] (มารดา)

พลตำรวจจัตวา หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย (5 ตุลาคม พ.ศ. 2451 - 3 มกราคม พ.ศ. 2552 [3]) นักเขียน นักภาษาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักการศึกษา

ประวัติ[แก้]

หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย เป็นบุตรของ พันเอก หลวงเอนกนัยวาที (หม่อมราชวงศ์นารถ ชุมสาย) [4][5] มีน้องสาวคือ หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล [6] เกิดที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จบชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง ไปศึกษาอักษรศาสตร์จาก ทรินิตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2476 กลับมารับราชการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นอาจารย์สอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนหอวัง โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล และแต่งตำรา พร้อมกับร่างหลักสูตรการเรียนการสอน ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ และก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู และแผนกฝึกหัดครูมัธยม หลายแห่ง เช่นที่ วังจันทรเกษม บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนสตรีเพชรบุรี สวนสุนันทา โรงเรียนฝึกหัดครูประสานมิตร [7]

การทำงาน[แก้]

ในปี พ.ศ. 2493 หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย รับหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโก ประจำอยู่ที่กรุงปารีส ทำหน้าที่วางโครงการช่วยเหลือด้านการศึกษาในประเทศด้อยพัฒนา โดยเฉพาะในประเทศไทย และภูมิภาคใกล้เคียง และย้ายมาประจำที่กรุงเทพในตำแหน่งรองผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย เป็นผู้จัดทำโครงการในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งภูมิภาคภาคอีสานขึ้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [8]

หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย ได้แต่งตำราวิชาการเป็นจำนวนมาก ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย คือ พจนานุกรมฉบับภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน รวมทั้งงานค้นคว้าด้านภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมไทย ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น King Mongkut and British และ History of Thailand and Combodia [9] โดยเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ และร้านหนังสือชื่อ "เฉลิมนิจ" (มาจากคำว่า เฉลิมขวัญ และ มานิจ) [10]

หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2512[11] แล้วหันมาทำงานค้นคว้าประวัติศาสตร์ เป็นกรรมการสยามสมาคม เป็นนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย สมรสกับ เฉลิมขวัญ ชุมสาย ณ อยุธยา ธิดา พระปทุมเทวาภิบาล (เยี่ยม เอกสิทธิ์) ข้าหลวงสมุหเทศาภิบาลประจำเมืองหนองคาย [5] มีบุตร-ธิดา 4 คน คือ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา, อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา, สุชาดา (ชุมสาย ณ อยุธยา) สถิตพิทยายุทธ์ (ถึงแก่กรรม) และปาริชาติ ชุมสาย ณ อยุธยา [5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือ เสี้ยวศตวรรษ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ระบุว่าเกิด 5 ตุลาคม พ.ศ. 2450
  2. พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 23 มีนาคม 2552
  3. "Scholar Manich Jumsai dies aged 100". The Nation. 4 มกราคม พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม พ.ศ. 2552. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. กระทู้ นิราศวังบางยี่ขัน กล่าวถึงประวัติย่อ นายพันเอกพิเศษ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงเอนกนัยวาที (ม.ร.ว. นารถ ชุมสาย) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2513
  5. 5.0 5.1 5.2 สานุพันธ์ ตันติศิริวัฒน์. อัจฉริยะบนทางสีขาว ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฟรีมายด์, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548. หน้า หน้าที่. ISBN 974-93482-8-1
  6. ปราโมทย์ นาครทรรพ, ดับเครื่องชนทักษิณ (2) , ผู้จัดการรายวัน 9 กรกฎาคม 2549
  7. สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. เสี้ยวศตวรรษ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สามัคคีสาร (ดอกหญ้า), พ.ศ. 2539. 263 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-89658-0-5
  8. ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4
  9. "ประวัติจาก สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-23. สืบค้นเมื่อ 2008-04-15.
  10. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปี ของบริษัทเฉลิมนิจพับบลิซซิ่ง จำกัด[ลิงก์เสีย] จาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า, 20 พฤศจิกายน 2550
  11. ชั่วชีวิตกับหลักฐานประวัติศาสตร์ไทยในต่างประเทศ ของ ม.ล.มานิจ ชุมสาย[ลิงก์เสีย] จากหนังสือเรือง "หนังสือและสมุดคลาสสิค", ผู้แต่ง: เอนก นาวิกมูล
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๓๓๑, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๒๙, ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๘๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]