สินจัย เปล่งพานิช
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
สินจัย เปล่งพานิช | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | สินจัย หงษ์ไทย |
เกิด | 21 มกราคม พ.ศ. 2508 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ฉัตรชัย เปล่งพานิช (2531–ปัจจุบัน) |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ |
|
อาชีพแสดง | |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2524–ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | นวลฉวี – นวลฉวี (2528) มธุสร – ล่า (2537) เพียงดาว – มารยาริษยา (2541) ภาวิณี - ทะเลริษยา (2549) สุนีย์ – รักแห่งสยาม (2550) ปานระวี - อาทิตย์ชิงดวง (2552) หม่อมพริ้ม – อีสา ระวีช่วงโชติ (2557) เหม่ยอิง – ด้ายแดง (2562) รัมภา – เกมรักปาฏิหาริย์ (2567) |
รางวัล | |
พระสุรัสวดี | นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2527 – เพลิงพิศวาส พ.ศ. 2540 – อันดากับฟ้าใส นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2528 – นวลฉวี พ.ศ. 2537 – มหัศจรรย์แห่งรัก |
ชมรมวิจารณ์บันเทิง | ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2550 – รักแห่งสยาม |
โทรทัศน์ทองคำ | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2537 – ล่า |
คมชัดลึก | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ พ.ศ. 2550 – รักแห่งสยาม นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สาขาละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2557 – อีสา-รวีช่วงโชติ |
สินจัย เปล่งพานิช (สกุลเดิม: หงษ์ไทย; เกิด 21 มกราคม พ.ศ. 2508) ชื่อเล่น นก เป็นนักแสดง นางแบบ นักร้อง พิธีกร ผู้จัดละครชาวไทย เคยออกผลงานอัลบั้มเพลงชุด “ทอฝัน“ กับค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ประวัติ
[แก้]สินจัย เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2508 เกิดและโตที่กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อนายสวัสดิ์ มารดาชื่อนางสุจินต์ มีพี่น้อง 4 คน เป็นคนที่ 2 พี่สาวต่างมารดาหนึ่งคน และน้องชายสองคน การศึกษา จบระดับประถมต้นจากโรงเรียนศรีอยุธยา
เริ่มเข้าวงการ ปี 2523 ได้ตำแหน่งนางสงกรานต์ของช่อง 5 และไปประกวด Miss young International ที่ฟิลิปปินส์ 1980 เข้ารอบ 15 คน และเป็นนางแบบให้กับห้างไทยไดมารู ด้วยรูปร่างที่มีส่วนสูงถึง 170 เซนติเมตร จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงเมื่อปี 2524 ด้วยการถ่ายแบบให้กับนิตยสารหลายฉบับ
จากนั้นก็ได้มีโอกาสเข้าสู่วงการภาพยนตร์ไทย แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกเมื่ออายุ 16 ปี จากเรื่อง “ สายสวาทยังไม่สิ้น” (2525) กำกับโดยคุณแจ๊สสยาม แสดงนำเป็นเรื่องแรกคู่กับคุณฉัตรชัยและคุณพิศาล เป็นภาพยนตร์ของไฟว์สตาร์ ต่อจากนั้นได้แสดงเรื่องกตัญญูประกาศิต แสดงร่วมกับโจวหยุนฟะ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อแสดงเรื่องเพลิงพิศวาส กำกับโดยหม่อมน้อยและได้รางวัลพระสุรัสวดีนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมและนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากนวลฉวีและเพลิงพิศวาส กำกับโดยอาจารย์บรรจง ในปีเดียวกัน[1] นวลฉวีได้รับการตอบรับที่ดีมาก เรื่องนี้แสดงคู่กับคุณอภิชาติ หาลำเจียก
ปี 2528 เล่นละครเรื่องแรก "ระนาดเอก" ทางช่อง 7 และในปี 2532 มีผลงานการเขียนหนังสือรวมเล่มกลอนเปล่า "ความงามแสนเหงา" โดยใช้นามปากกาว่า "ปรางทราย" จนปี 2533 ได้มีผลงานออกอัลบั้มเพลงชุด "ทอฝัน" กับค่ายแกรมมี่
ปี 2537 เธอได้รับบทบาทการแสดงละครที่ท้าทายความสามารถทางการแสดงของเธอมาก กับ การรับบท "มธุสร" จากละครเรื่อง ล่า ออกอากาศทาง ช่อง ททบ.5 เป็นแม่กับลูกสาวที่ถูกทารุณกรรมทางกายและจิตใจ โดยสามีของเธอ และโจรผู้ร้าย โดยมธุสร กับ ผึ้ง(ลูกสาว) (รับบทโดย ทราย เจริญปุระ) โดนโจร 7 คน ข่มขืน และผึ้งก็เกิดอาการทางจิต กฎหมายและสังคมทำอะไรไม่ได้ มธุสรเลยใช้ศาลเตี้ยของตัวเองลงมือฆาตรกรรมโจร 7 ศพ ในยุคสมัยนั้นสมัยนั้นถือเป็นละครที่เนื้อเรื่องที่รุนแรงมาก เพราะเนื้อหาละครมีความเครียด หดหู่ ถึงขนาดที่เธอเองอยากเข้าถึงตัวละคร "มธุสร" จนสลัดคาแรคเตอร์นี้ไม่ออก จนต้องให้แม่ชีเทศน์เพื่อให้หลุดจากตัวละครนี้ จนปลายปีในงานประกาศผล รางวัลโทรทัศน์ทองคำ เธอเลยได้รับรางวัลนักแสดงหญิงดีเด่น ไปครองได้สำเร็จ จนเป็นปรากฏการ์ณที่คนในฮอลล์ รวมถึงนักแสดงที่ได้รับรางวัลและเข้าชิงในปีนั้น ยืนปรมมือให้เธอแทบทุกคน
ส่วนทางด้านการแสดงภาพยนตร์มีผลงานเช่น “ สายสวาทยังไม่สิ้น” (2525), “ ช่างมันฉันไม่แคร์” (2529), “น้ำเซาะทราย” (2529), “ สะแกกรัง” (2529) , “ สะใภ้” (2529), “ แสงสูรย์” (2529), “ ฉันผู้ชายนะยะ” (2530), “ ฉันรักผัวเขา” (2530), "พลอยทะเล" (2530), “ ไฟซ่อนเชื้อ” (2530), “ ครั้งเดียวก็เกินพอ” (2531), “ ภุมรีสีทอง” (2531), “ รักด้วยชีวิต” (2531), “ วิวาห์จำแลง” (2531), “ รักข้างแรม” (2532) ฯลฯ "รักแห่งสยาม" (2550) ซึ่งจากภาพยนตร์เรื่องนี้เองทำให้เธอได้รับรางวัล ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากบท "สุนีย์" อาทิ รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 16, คมชัดลึก อวอร์ด และ สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส[2] และอีกหลายรางวัล อีกทั้งเธอยังถูกจัดอันดับให้เป็นบุคคลบันเทิงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดท่านหนึ่งของประเทศไทย และต่อมาก็ได้รับรางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 สาขานักแสดงหญิงแห่งปี
เธอกลับมาแสดงภาพยนตร์อีกครั้งในปี 2553 ในบท "นิดา" หญิงวัยกลางคนที่มีลูกชายป่วยเป็น "โรคฮิคิโคโมริ" กับภาพยนตร์เรื่อง Who are you? ใคร...ในห้อง ในการกำกับของภาคภูมิ วงษ์จินดา และ เขียนบทโดย เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ [3]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ทางด้านชีวิตส่วนตัว เธอแต่งงานกับ ฉัตรชัย เปล่งพานิช (2 เมษายน 2531) มีบุตร-ธิดา 3 คนคือ สิทธิโชค ฑิชากร และพีรดนย์ เปล่งพานิช
ผลงาน
[แก้]ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- สายสวาทยังไม่สิ้น (2525)
- สัญชาติราชสีห์ (2526)
- นักเลงข้าวนึ่ง (2526)
- กตัญญูประกาศิต (2526)
- พ่อตาจิ๊กโก๋ (2526)
- เทพบุตรสลัม (2526)
- ปีศาจมันสมอง (2526)
- มนต์รักนักเพลง (2527)
- ไฟชีวิต (2527)
- ไม้เรียวหัก (2527)
- ช่างร้ายเหลือ (2527)
- มังกรลายไทย (2527)
- 10 คงกระพัน (2527)
- สัจจะมหาโจร (2527)
- สาวน้อยร้อยรัก (2527)
- ไอ้ถึกเกณฑ์ทหาร (2527)
- ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (2527)
- ผู้ใหญ่สิงห์กำนันเสือ (2527)
- มือปราบ 2 แผ่นดิน (2527)
- เพลิงพิศวาส (2527)
- ไอ้จอมเก (2527)
- นวลฉวี (2528)
- ทรายสะท้อนแสง (2528)
- หย่าเพราะมีชู้ (2528)
- ลูกทุ่งเสียงทอง (2528)
- คุณหญิงตราตั้ง (2528)
- แม่ (2528)
- ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529)
- สะแกกรัง (2529)
- ไปไม่ถึงดวงดาว (2529)
- เสือภูพาน (2529)
- น้ำเซาะทราย (2529)
- หักเหลี่ยมแดร็กคูล่า (2529)
- ปลายทางฉิมพลี (2529)
- ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529)
- แสงสูรย์ (2529)
- สะใภ้ (2529)
- ผัวชั่วคราว (2530)
- ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
- พลอยทะเล (2530)
- ฉันรักผัวเขา (2530)
- ไฟซ่อนเชื้อ (2530)
- สายน้ำไม่ไหลกลับ (2530)
- อย่าบอกว่าเธอบาป (2530)
- มันแอบอยู่ในหอ (2530)
- ไฟหนาว (2530)
- ทาสอารมณ์ (2530)
- ภุมรีสีทอง (2531)
- ครั้งเดียวก็เกินพอ (2531)
- วิวาห์จำแลง (2531) รับบทเป็น เนียรวิภา
- พ่อมหาจำเริญ (2531)
- ตะลุยโรงหมอ (2531)
- ซอสามสาย (2531)
- อุบัติโหด (2531)
- รักด้วยชีวิต (2531)
- 2482 นักโทษประหาร (2531)
- รักข้างแรม (2533)
- รักเถอะถ้าหัวใจอยากจะรัก (2533)
- Air America (2533)
- เฮโรอีน (2537)
- มหัศจรรย์แห่งรัก (2538)
- อันดากับฟ้าใส (2540)
- สุริโยไท (2544)
- รักแห่งสยาม (2550)
- ราชประชานุเคราะห์ (2553)
- Who are you? ใคร...ในห้อง (2553)
- THE WAY Lost in right way (2556)
- ตีสาม คืนสาม 3D (2557)
- แผลเก่า (2557)
- FATHERS (2559)
- จอมขมังเวทย์ 2020 (2562)
- นาคบรรพ์(2568)
ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละคร บริษัท มหานิยมชมชอบ จำกัด (ไม่รวม ฉัตรชัย เปล่งพานิช)
ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ |
---|---|---|
2551 | ตราบสิ้นดินฟ้า | ช่อง 5 |
2557 | ภพรัก | ช่อง 3 |
2560 | ตะวันยอแสง | |
2562 | รักจังเอย | |
2564 | เกมล่าทรชน |
ผลงานละครซิทคอม
[แก้]- ตะกายดาว ตอน ดาวปุ๋ย (2533) ช่อง 9
- เป็นต่อ (2551) ช่อง 3 รับเชิญ 5 ตอน รับบท พี่หญิง
- รักแท้แม่ไม่ปลื้ม (2559-2560) ช่องวัน 31 รับบท นิตยา รุ่งเรืองทรัพย์ทวี (แม่นิด)
- เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ (2559) ช่องวัน 31
ผลงานละครเวที
[แก้]- ซูสีไทเฮา
- ปรัชญาชีวิต (2531 - 2533)
- Hamlet (4 - 10 พฤษภาคม 2538) ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- วิมานเมือง (2540)
- บัลลังก์เมฆ เดอะมิวสิคัล (2544- 2545 และ 2550) รับบท ปานรุ้ง
- เนื้อคู่ 11 ฉาก จากวันแรกถึงวันลา (2552 - 2553) รับบท เอม
- สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล (2554, 2557, 2560,2562) รับบท แม่พลอย
- ลอดลายมังกร เดอะมิวสิคัล (2559) รับบท เหมยหลิง
- 10 ปี เมืองไทยรัชดาลัย THE MUSICAL CELEBRATION (2560)
- เมืองไทยรัชดาลัย The Musical Show ตอน Ladies of the stage (2561) รับบท ปานรุ้ง
- ละครเวทีในสวนฝัน (26 พฤษภาคม 2562) รับบท คุณยายทับทิม
- The Life That Was (2567) รับบท เพชร
ผลงานเพลง
[แก้]- เพลงเทิดพระเกียรติ
- เพลง ในหลวงของแผ่นดิน
- เพลง สรรเสริญพระบารมี เวอร์ชัน
โดย มูลนิธิร่วมร้อยใจไทย
- เพลง จากลูกของแผ่นดิน
- เพลงประกอบละคร ช่างมันฉันไม่แคร์
- เพลง สุดขอบสายรุ้ง
- เพลงประกอบภาพยนตร์ ฉันรักผัวเขา (2530)
- เพลง ฉันรักผัวเขา
- เพลง คืนสุดท้าย
- เพลง คงมีสักวัน
- เพลง รินใจให้เธอ
- อัลบั้ม ทอฝัน (2533)
- ห้ามใจ..ยังไง
- กอดหมอน
- ทอฝัน
- ฟ้าก็ส่วนฟ้า
- เพลงน้ำตา
- นกป่า
- แค่รักก็พอ
- คือความจริง
- กำแพง..ประตู..หัวใจ
- ฝนในดวงตา
- บทส่งท้าย
- อัลบั้ม เพลงประกอบละครเวที วิมานเมือง
- เพลง ความทรงจำเมื่อวันวาน
- อัลบั้ม บัลลังก์เมฆ Original
- เพลง เธอคนเดิม (ร้องคู่กับ ภาณุเดช วัฒนสุชาติ)
- เพลง วอนฟ้า
- เพลง เดียวดาย
- เพลง เด็กดี
- อัลบั้ม The Musicals Selected
- เพลง เดียวดาย (ประกอบละครเวที บัลลังก์เมฆ เดอะมิวสิคัล)
- เพลงประกอบละคร คุณยายสายเดี่ยว (2550)
- เพลง เปลี่ยนกัน (ร้องคู่กับ ราศรี บาเล็นซิเอก้า)
- อัลบั้ม เสียงเพลงแสงธรรม
- เพลง ด้วยรักจากใจแม่ (ร้องคู่กับ มาลีวัลย์ เจมีน่า และ ญาณี จงวิสุทธิ์)
- อัลบั้ม มิวสิคัล ออน ทีวี ข้ามเวลาหารัก ชุดที่ 1
- เพลง ควักหัวใจ (ร้องคู่กับ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว)
- เพลง หัวใจขอมา (ร้องคู่กับ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว)
- อัลบั้ม มิวสิคัล ออน ทีวี ข้ามเวลาหารัก ชุดที่ 2
- Medley น้ำตก (ร้องคู่กับ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว)
- เพลง ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ (ร้องคู่กับ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว)
Music Video
[แก้]- อีกนาน (Alone But Not Lonely) - GENE KASIDIT (2558)
- คิดถึง - PALMY
ผลงานพิธีกร
[แก้]- ไนท์โชว์ ช่อง 9
- กรุสมบัติ ช่อง 3 (2537 - 2539)
- โลกใบเล็ก ช่อง 3
- ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ ช่อง 3 คู่กับ ปัญญา นิรันดร์กุล (รับเชิญ) (2556)
- The Diary ช่อง TITV
- @Women
- สถานีครอบครัว ช่อง 7
- ทอฟ้าผ้าไทย ช่อง 9 (2555 - 2556)
พากย์เสียง
[แก้]- โพคาฮอนทัส (Pocahontas) - โพคาฮอนทัส
- โพคาฮอนทัส 2: ตำนานใหม่แห่งความรัก (Pocahontas II: Journey to a New World) - โพคาฮอนทัส
- แอตแลนติส ผจญภัยอารยนครสุดขอบโลก (Atlantis: The Lost Empire) - เฮลก้า
- พระมหาชนก The Story of MAHAJANAKA - พระเทวี
- Ralph Breaks the Internet ราล์ฟตะลุยโลกอินเทอร์เน็ต ให้เสียงภาษาไทยในบท "โพคาฮอนทัส" (Pocahontas)
- ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ พากย์เสียงของ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
คอนเสิร์ต
[แก้]- แขกรับเชิญ คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ ของ คาราบาว (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539)
- คอนเสิร์ตในวันพระจันทร์สีน้ำเงิน
- แขกรับเชิญ Exact 10th Anniversary Concert
- การแสดง แสง สี เสียง และสื่อผสม วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 72 พรรษา เฉลิมหล้าจอมราชันย์
- แขกรับเชิญ Bie Love Attack Concert ของ บี้ สุกฤษฎิ์
- แขกรับเชิญ What Women Worth Concert เพราะโลกนี้ผู้หญิงมีค่า
- แขกรับเชิญ BOY STORY CONCERT
- แขกรับเชิญ คอนเสิร์ตเบิร์ด อาสาสนุก
- แขกรับเชิญ Love ไม่กลัว กลัวไม่ Love ของ บี้ สุกฤษฎิ์
- แขกรับเชิญ ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 13 โลกนี้คือละคร ของ ชรินทร์ นันทนาคร
- แขกรับเชิญ Green Concert # 18 The Lost Love Songs ร้อยเพลงรักที่หายไป
- แขกรับเชิญ คอนเสิร์ต 93 ปี ชาลี อินทรวิจิตร เพลงหนังคู่แผ่นดิน
- คอนเสิร์ต เพลงรักเพลงละคร ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ (วันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2559)
- คอนเสิร์ต40ปีนกสินจัยthecelebration show
รางวัล
[แก้]รางวัลพระราชทาน พระสุรัสวดี
ปี | ผลงาน | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2527 | นวลฉวี | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
เพลิงพิศวาส | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | |
2529 | ช่างมันฉันไม่แคร์ | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
น้ำเซาะทราย | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2530 | พลอยทะเล | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
อย่าบอกว่าเธอบาป | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
2531 | ครั้งเดียวก็เกินพอ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2537 | มหัศจรรย์แห่งรัก | ได้รับรางวัล | |
2540 | อันดากับฟ้าใส | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ
ปี | ผลงาน | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2529 | ช่างมันฉันไม่แคร์ | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์
ปี | ผลงาน | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2537 | มหัศจรรย์แห่งรัก | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
เฮโรอีน | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
2540 | อันดากับฟ้าใส | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2550 | รักแห่งสยาม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2557 | แผลเก่า | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง
ปี | ผลงาน | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2537 | เฮโรอีน | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
2550 | รักแห่งสยาม | ได้รับรางวัล |
รางวัลสตาร์พิกส์ไทยฟิล์มอะวอดส์
ปี | ผลงาน | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2550 | รักแห่งสยาม | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
2557 | แผลเก่า | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลเมขลา
ปี | ผลงาน | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2537 | ล่า | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
2538 | ร่มฉัตร | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2539 | ดารายัณ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2541 | มารยาริษยา | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2542 | บาปรัก | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2545 | น้ำพุ | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ
ปี | ผลงาน | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2535 | ในฝัน | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
2536 | ช่างมันฉันไม่แคร์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2537 | ล่า | ได้รับรางวัล | |
2538 | ร่มฉัตร | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2540 | รุ้งสามสาย | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2541 | มารยาริษยา | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2542 | บาปรัก | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2545 | น้ำพุ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2553 | เหนือเมฆ | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด
ปี | ผลงาน | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2550 | รักแห่งสยาม | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์ | ได้รับรางวัล |
2557 | แผลเก่า | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์ | เสนอชื่อเข้าชิง |
อีสา-รวีช่วงโชติ | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมประเภทละครโทรทัศน์ | ได้รับรางวัล |
รางวัลนาฏราช
ปี | ผลงาน | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2552 | อาทิตย์ชิงดวง | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
2554 | ข้ามเวลาหารัก | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2555 | บ่วงรัก | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2557 | อีสา-รวีช่วงโชติ | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
2561 | ศรีอโยธยา | เสนอชื่อเข้าชิง |
- ได้รับรางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส สาขา ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม
- ได้รับรางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 สาขา นักแสดงหญิงแห่งปี รักแห่งสยาม
- เข้าชิงรางวัล สยามดาราสตาร์อวอร์ด 2010 สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยมจากละครเรื่อง เหนือเมฆ
- เข้าชิงรางวัล ท็อปอวอร์ด 2012 สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากละครเรื่อง บ่วงรัก
- ได้รับรางวัล23rd Asian TV Awards Best Actress In A Supporting Role(รางวัลดาราสมทบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ชีวประวัติ นก สินจัย เปล่งพานิช[ลิงก์เสีย]
- ↑ เส้นทางวงการบันเทิงไทย
- ↑ "หวนกลับมาแสดงภาพยนตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-19. สืบค้นเมื่อ 2009-11-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นก สินจัย
- นก สินจัย ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- แฟนคลับ ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- แฟนเพจ ที่เฟซบุ๊ก
- นก สินจัย ที่อินสตาแกรม
- ผู้ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขานักแสดงนำหญิงดีเด่น
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ผู้จัดละครชาวไทย
- นักแสดงหญิงจากกรุงเทพมหานคร
- นักแสดงหญิงชาวไทย
- นักแสดงภาพยนตร์หญิงชาวไทย
- นักร้องหญิงชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ
- นักแสดงละครโทรทัศน์หญิงชาวไทย
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- ผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ชาวไทย
- ศิลปินที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- สกุลเปล่งพานิช
- นักแสดงอิสระชาวไทย
- ผู้ชนะรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมพระสุรัสวดี
- ผู้ชนะรางวัลนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยมพระสุรัสวดี