เทพไท เสนพงศ์
เทพไท เสนพงศ์ ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
![]() เทพไท เสนพงศ์ ใน 2553 | |
เกิด | เทพไท เสนพงศ์ 12 มีนาคม พ.ศ. 2504 อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | เดอะคึก |
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | พอเพ็ญ เสนพงศ์ (สกุลเดิม เริงประเสริฐวิทย์) |
บุตร |
|
ลายมือชื่อ | |
![]() |
เทพไท เสนพงศ์ (ชื่อเล่น คึก; เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2504) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราชสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการติดตามมติสภาผู้แทนราษฎร และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
การศึกษา[แก้]
ประกาศนียบัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(กฎหมายมหาชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(FUTURE OF LEADER) คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชีวิตการเมือง[แก้]
เทพไท เสนพงศ์ เริ่มต้นชีวิตในวงการเมือง ตั้งแต่ยังเรียนหนังสืออยู่ด้วยการเป็นนักกิจกรรม ได้เป็นนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ได้รับการมอบหมายให้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ใน พ.ศ. 2535–2537 และ ใน พ.ศ. 2540–2543 ได้รับเลือกให้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีช่วยอีกครั้ง
เทพไท เสนพงศ์ ลงสมัครเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและได้รับการเลือกตั้งเป็นต้นมา นายเทพไทมีบทบาทเป็นโฆษกของพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ รายการสายล่อฟ้า และ รายการวิเคราะห์คอลัมนิสต์ ทางสถานีโทรทัศน์บลูสกายแชนแนล อีกด้วย
เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเทพไทสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (4) และมาตรา 96 (2) ในกรณีทุจริตเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเมื่อ พ.ศ. 2556 โดยให้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้อง และมีคำสั่งให้ยุติปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563 และให้ถือว่าอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟัง 27 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นวันที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตว่างลง[1]
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
เทพไทเป็นบุตรคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด และ มีเชื้อสายตูนิเซีย สมรสกับ พอเพ็ญ เริงประเสริฐวิทย์ บุตรีของ พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ อดีต ส.ส.จังหวัดอุทัยธานี 6 สมัย อดีตหัวหน้าพรรคสยามประชาธิปไตย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตนักการเมืองและนักธุรกิจพันล้านในสมัยนั้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศาลรัฐธรรมนูญสั่ง “เทพไท” พ้นตำแหน่ง ทุจริตเลือกตั้ง อบจ. สืบค้น 31 มกราคม 2564
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ส่วนตัว เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เทพไท เสนพงศ์ ช้างเผือกเชือกใหม่ค่าย ปชป. เก็บถาวร 2009-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเชียรใหญ่
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- คนขับรถแท็กซี่ชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- พรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- นายกองค์การนักศึกษาในประเทศไทย
- นักโทษของประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.