หะริน หงสกุล
หะริน หงสกุล | |
---|---|
![]() | |
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 (327 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) |
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 22 เมษายน พ.ศ. 2522 (1 ปี 148 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | ตนเอง (ในฐานะประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน) |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะประธานวุฒิสภา) |
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 (3 ปี 314 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | จิตติ ติงศภัทิย์ |
ถัดไป | จารุบุตร เรืองสุวรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2457 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 (93 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงสว่างจิตต์ หงสกุล (คฤหานนท์) |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพอากาศ |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารอากาศ |
พลอากาศเอก หะริน หงสกุล (29 สิงหาคม พ.ศ. 2457 — 10 มีนาคม พ.ศ. 2551) อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1], อดีตราชองครักษ์พิเศษ และเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
ประวัติ
[แก้]พล.อ.อ. หะริน หงสกุล เกิดที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของหลวงอนุภาณดิสยานุสรรค์ กับ พระพี่เลี้ยง หวน หงสกุล (2428-2532) ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ [2] จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนนายร้อยทหารบก จากนั้นศึกษาต่อวิชาการบิน และย้ายไปสังกัดกองทัพอากาศไทย และไปศึกษาต่อวิชาเสนาธิการทหารอากาศ ที่ ประเทศอังกฤษ ขณะมียศเป็น"นาวาอากาศโท"เพื่อเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศและโรงเรียนนายเรืออากาศของไทย นายทหารที่เดินทางไปศึกษาพร้อมกันในครั้งนั้นคือ นาวาอากาศโท ทวี จุลละทรัพย์ น.ต. สวัสดิ์ โพธิ์วิหคและ น.ต. ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ [3]
การทำงาน
[แก้]พล.อ.อ. หะริน เคยเป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมามีตำแหน่งทางการทหารสูงสุด เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหลายสมัย ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 2519-2520 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1] พ.ศ. 2520-2522 และประธานวุฒิสภา พ.ศ. 2522-2526 เป็นประธานรัฐสภาระหว่าง พ.ศ. 2519-2526
พล.อ.อ. หะริน เป็นนักเขียน มีผลงานการเขียนประจำในหนังสือต่วย'ตูน [4] และได้รับการเชิดชูเกียรตินักเขียนอาวุโส รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2546[5]
ครอบครัว
[แก้]พล.อ.อ. หะริน หงสกุล สมรสกับคุณหญิงสว่างจิตต์ หงสกุล (คฤหานนท์) (5 สิงหาคม พ.ศ. 2465 - 19 กันยายน พ.ศ. 2562) อดีตนางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2483 เมื่อ พ.ศ. 2485 [6] มีบุตร 3 คน คือ
- พล.อ.ท.หญิง สหัทยา ประภาวัต เกิดวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2486 สมรสกับ พล.ต.ท. เกียรติศักดิ์ ประภาวัต มีธิดาหนึ่งคนคือ
- นางบงกชเกศ ศาลิคุปต เกิดวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2510 สมรสกับนายจุลทัย ศาลิคุปต มีบุตรธิดาสามคน ได้แก่
- น.ส.บราลี ศาลิคุปต
- นายปรินท์ ศาลิคุปต
- นายกวิน ศาลิคุปต
- นางบงกชเกศ ศาลิคุปต เกิดวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2510 สมรสกับนายจุลทัย ศาลิคุปต มีบุตรธิดาสามคน ได้แก่
- คุณหญิงสทนา โสณกุล ณ อยุธยา เกิดวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 สมรสกับ พ.อ.พิเศษ ม.ร.ว.ถวัลย์มงคล โสณกุล (23 มิถุนายน พ.ศ. 2483 - 13 กันยายน 2533) มีบุตรธิดาสองคน ได้แก่
- ม.ล.ธีรเชษฐ์ โสณกุล เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 สมรสกับนางกุลศรา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุจารีรัตน์) มีบุตรหนึ่งคน คือ
- นายกุลมงคล โสณกุล ณ อยุธยา
- ม.ล.รัตนมงคล โสณกุล (31 มกราคม 2525) สมรสกับนายรัชกร ชยาภิรัต
- ม.ล.ธีรเชษฐ์ โสณกุล เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 สมรสกับนางกุลศรา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุจารีรัตน์) มีบุตรหนึ่งคน คือ
- พล.อ.ท. รวิน หงสกุล เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 สมรสกับนางงามพร้อม หงสกุล (สกุลเดิม ศิริวงศ์) มีบุตรธิดาสองคน ได้แก่
- นางสาวพรนรี หงสกุล เกิดวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
- ร.อ. ธัชพงศ์ หงสกุล เกิดวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2524 สมรสกับ ร.อ. ทพ.หญิง วริศา หงสกุล (สกุลเดิม เธียรธนู)มีบุตรสามคน ได้แก่ ด.ช.วริน หงสกุล,ด.ช.หริศ หงสกุล,ธริศ หงสกุล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2521 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2504 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2484 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2477 –
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[12]
- พ.ศ. 2486 –
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[13]
- พ.ศ. 2511 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2491 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2526 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[16]
- พ.ศ. 2503 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[17]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]สหราชอาณาจักร :
- พ.ศ. 2496 -
เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2[18]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เหรียญวอร์ 1939-1945
- พ.ศ. 2496 -
ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2503 -
เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นที่ 2[19]
- พ.ศ. 2503 -
เยอรมนี :
- พ.ศ. 2506 -
เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นประถมาภรณ์[20]
- พ.ศ. 2506 -
กรีซ :
- พ.ศ. 2506 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฟีนิกซ์ ชั้นที่ 1[21]
- พ.ศ. 2506 -
มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2507 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวนเนการา ชั้นที่ 3[22]
- พ.ศ. 2507 -
อาร์เจนตินา :
เบลเยียม :
สวีเดน :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ชั้นที่ 1
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เกาหลีใต้ :
เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
ออสเตรีย :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 2 (ทอง)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เดนมาร์ก :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นตริตาภรณ์
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
นอร์เวย์ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นตริตาภรณ์
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. แม่เล่าให้ฟัง. กรุงเทพ : Silkworm Books, ค.ศ. 1980. 286 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7551-49-5
- ↑ ประวัติโรงเรียนนายเรืออากาศ
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpraphansarn
- ↑ "ทำเนียบผู้ได้รับรางวัลนราธิป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-01. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
- ↑ "ประวัติ สว่างจิตต์ คฤหานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-03. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๗, ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๗, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๕, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๗๓๐, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 70 ตอนที่ 53 หน้า 2838, 11 สิงหาคม 2496
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 77 ตอนที่ 66 หน้า 1869, 24 กันยายน 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 41 หน้า 1321, 30 เมษายน 2506
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 101 หน้า 2354, 15 ตุลาคม 2506
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1964.
ก่อนหน้า | หะริน หงสกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จิตติ ติงศภัทิย์ | ![]() |
![]() ประธานวุฒิสภา (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526) |
![]() |
จารุบุตร เรืองสุวรรณ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2457
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551
- บุคคลจากอำเภอสันทราย
- นักเขียนจากจังหวัดเชียงใหม่
- ทหารอากาศชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- ประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ประธานรัฐสภาไทย
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สกุลหงสกุล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์