เจษฎ์ โทณวณิก
หัวข้อของชีวประวัตินี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปหรือบทความบุคคล |
รองศาสตราจารย์ เจษฎ์ โทณะวณิก เป็นนักวิชาการทางกฎหมาย และพิธีกรรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับประเด็นทางบ้านเมือง สังคม
เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นลูกครึ่งไทย-เอลซัลวาดอร์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท (Master of the Science of Law) (JSM) และปริญญาเอกทางกฎหมาย (Doctor of the Science of Law) (JSD) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ด้วยอายุเพียง 25 ปี[1] และเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 59
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา[2] เป็นที่รู้จักจากการมักให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวกับบ้านเมืองตามสื่อต่าง ๆ[3][4] เคยเป็นพิธีกรรายการเล่าข่าวเช้าทางช่อง 11 คู่กับแทนคุณ จิตต์อิสระ ช่วงหนึ่ง และเคยเป็นวิทยากรรายการ "ช่วยคิด ช่วยทำ" ทางช่อง 3 คู่กับ สุขุม นวลสกุล โดยมี ศิริบูรณ์ ณัฐพันธุ์ เป็นพิธีกร
ชีวิตส่วนตัว มีสำนักงานกฎหมายส่วนตัวชื่อ สำนักกฎหมายมโนทัย-เจษฎ์ แอนด์ แอสโซสิเอทส์ สถานภาพสมรสแล้ว มีบุตรสองคน ชื่อกษิดิศและกษิณา กิจกรรมยามว่างชอบเดินป่าและขี่จักรยานเสือภูเขา ชื่นชอบการอ่านนิยายกำลังภายในของกิมย้ง และเคยได้รับรางวัล "เปรียว อวอร์ด 2005" ในฐานะที่เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน และเป็นที่รู้จักของสังคม
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เจษฎ์ โทณวณิก ได้รับการแต่งตั้งจาก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2558 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[6]
- พ.ศ. 2558 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ มวลมหาประชาชน คนไทยใจเกินล้าน โดย ถนอม อ่อนเกตุพล, เถกิง สมทรัพย์, วิทเยนตร์ มุตตามระ ทางบลูสกายแชนแนล: จันทร์ที่ 26 ธันวาคม 2556
- ↑ http://www.kus.ku.ac.th/page.php?id=85
- ↑ "ประกอบปก 'ฮุบสื่อ' ยิ่งกว่า 'ผูกขาด+ครอบงำ'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ นักวิชาการชี้ลงนาม JTEPA ควรรอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ด้านเอฟทีเอ วอทช์ เตรียมอุทธรณ์ วันนี้[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๒๒๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๖๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ประกอบปก 'ฮุบสื่อ' ยิ่งกว่า 'ผูกขาด+ครอบงำ' เก็บถาวร 2008-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- นักวิชาการชี้ลงนาม JTEPA ควรรอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ด้านเอฟทีเอ วอทช์ เตรียมอุทธรณ์ วันนี้ [ลิงก์เสีย]
- กองบรรณาธิการไทยโพสต์
- 10 หนุ่มสาววัยทำงานคว้ารางวัลเปรียวอวอร์ด[ลิงก์เสีย]
- ปวินอัดเจษฎ์
- ประกาศแต่งตั้งเจษฎ์ โทณวณิก เป็นที่ปรึกษา กรธ.
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ธันวาคม 2022
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- รองศาสตราจารย์
- นักวิชาการชาวไทย
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- นักกฎหมายชาวไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม
- ชาวไทยเชื้อสายเอลซัลวาดอร์
- บุคคลจากจังหวัดเชียงใหม่
- วิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บ.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บ.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์