ชัย ราชวัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมชัย กตัญญุตานันท์
เกิด19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 (82 ปี)
จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
นามปากกาชัย ราชวัตร
อาชีพนักเขียน, นักข่าว, นักหนังสือพิมพ์, นักเขียนการ์ตูน
สัญชาติไทย ไทย
ช่วงปีที่ทำงานพ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน

ชัย ราชวัตร หรือชื่อจริงคือ สมชัย กตัญญุตานันท์ ชัย ราชวัตรเป็นนามปากกาของ นักวาดการ์ตูนชาวไทย มีผลงานเป็นที่รู้จักกันคือ ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน โดย เป็นการ์ตูนรายวันตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มีบทบาทเป็นนักเขียนในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516[1]

ประวัติ[แก้]

ชัย ราชวัตร เป็นชาวอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เกิดวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน จบการศึกษาจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช หลังจากจบการศึกษาที่บ้านเกิดแล้ว ก็เข้ากรุงเทพมาเรียนวิชาบัญชีที่โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย เพราะต้องการทำงานธนาคาร เมื่อเรียนจบก็ได้เข้าทำงานที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ออกจากงานเนื่องจากความเบื่องาน

วงการหนังสือ[แก้]

ชัยเริ่มทำงานด้านหนังสือโดยการเป็นฝ่ายศิลป์ให้หนังสือกีฬา ชื่อ เดอะเกม และเข้าสู่แวดวงข่าวการเมืองหลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 กับหนังสือพิมพ์การเมือง ชื่อ ธงไชย และหนังสือพิมพ์มหาราษฎร์ ซึ่งชัยได้เริ่มต้นการเขียนการ์ตูนการเมืองชิ้นแรก ชื่อ “ใครจะเอากระพรวนไปแขวนคอแมว” ซึ่งหลังเหตุการณ์ต้องลี้ภัยการเมืองไปอาศัยอยู่ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา เป็นเวลานานถึง 2 ปี จึงกลับสู่ประเทศไทยเมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้สงบลง จากนั้นได้วาดภาพประกอบ 'งิ้วการเมือง' และสร้างผลงานผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ในหนังสือพิมพ์รายวัน เดลินิวส์ และ ไทยรัฐ[2] ในปี พ.ศ. 2562 ชัย ราชวัตร ได้ลาออกจากไทยรัฐแล้ว[3]

บทบาททางการเมือง[แก้]

มีรายงานว่า กปปส. สนับสนุนให้ชัย ราชวัตรเป็นกรรมการมูลนิธิมวลมหาประชาชน ซึ่งมูลนิธิดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้สนับสนุนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการชุมนุมทางการเมือง และเป็นทุนวิจัยการปฏิรูปประเทศ[4]

รางวัล[แก้]

ผลงาน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. บทบาทเป็นนักเขียนในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา
  2. บอกข่าวเล่าสิบ โดย กิตติมา ธารารัตนกุล กับ อัญชลีพร กุสุม. รายการทางช่องสุวรรณภูมิ: จันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2556
  3. หนังสือพิมพ์ออนไลน์กระปุก วันที่ 12 พษภาคม พ.ศ. 2562 ชัย ราชวัตร ยื่นลาออก นสพ.ไทยรัฐฯ
  4. กปปส.กู้ภาพชิ่งมวลชน ระดมทุนเยียวยาผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิตจากการชุมนุม เก็บถาวร 2014-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการ, 24-06-2557. สืบค้นเมื่อ 24-06-2557.
  5. "รางวัลศรีบูรพาคนที่ 12". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]