ข้ามไปเนื้อหา

พรรครวมไทยสร้างชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรครวมไทยสร้างชาติ
ผู้ก่อตั้งเสกสกล อัตถาวงศ์
หัวหน้าพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
รองหัวหน้า
เลขาธิการเอกนัฏ พร้อมพันธุ์
รองเลขาธิการ
เหรัญญิกปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ
นายทะเบียนสมาชิกเกรียงยศ สุดลาภา
โฆษกอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์
รองโฆษก
ประธานที่ปรึกษาไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ที่ปรึกษาปรีชา มุสิกุล
ผู้ประสานงานหิมาลัย ผิวพรรณ
คำขวัญสู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง
ก่อตั้ง3 มีนาคม พ.ศ. 2564; 3 ปีก่อน (2564-03-03)
แยกจากพรรคพลังประชารัฐ
พรรคประชาธิปัตย์
ที่ทำการ35/3 ซอยอารีย์ 5 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
สมาชิกภาพ  (ปี 2566)50,652 คน[1]
อุดมการณ์
จุดยืนขวาจัด
สี  สีน้ำเงิน
สภาผู้แทนราษฎร
36 / 495
เว็บไซต์
unitedthaination.or.th

พรรครวมไทยสร้างชาติ (อังกฤษ: United Thai Nation Party; อักษรย่อ: รทสช.[2]) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นโดยเสกสกล อัตถาวงศ์ ในปี พ.ศ. 2564 โดยนำชื่อมาจากวลีที่คิดขึ้นโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี และเคยเข้าร่วมพรรคนี้ในเวลาต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2566 ปัจจุบันมี พีระพันธ์ุ สาลีรัฐวิภาค เป็นหัวหน้าพรรค และ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค

รายชื่อนายกรัฐมนตรี

[แก้]

ประวัติ

[แก้]

ช่วงก่อตั้งพรรค

[แก้]

พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 5/2564 เมื่อวันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 169/98 อาคารเสริมทรัพย์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร[3] มีเสกสกล อัตถาวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้ง[4] โดยส่งทีมงานของตนไปจดทะเบียนชื่อกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำชื่อไปใช้ เนื่องจากชื่อพรรคเป็นวลีที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งชื่อขึ้นด้วยตนเอง[5] และประกาศเป็นชื่อภารกิจในการฟื้นฟูประเทศของเขาหลังประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทยในระลอกแรกได้เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563[6] รวมถึงมักใช้เป็นแฮชแท็กท้ายโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กของเขา และปรากฏอยู่ในชื่อกิจกรรมที่จัดโดยหน่วยงานของรัฐบาลในขณะนั้นอีกด้วย[7]

ต่อมา พรรครวมไทยสร้างชาติได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญที่สโมสรราชพฤกษ์ เมื่อวันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ ตราสัญลักษณ์ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ (มาอยู่ที่ 35/3 ซอยอารีย์ 5 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร) และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารของพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คน ประกอบด้วยพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นหัวหน้าพรรค, เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค, ปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ เหรัญญิกพรรค, เกรียงยศ สุดลาภา นายทะเบียนสมาชิกพรรค และกรรมการบริหารอื่น ประกอบด้วย ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง, วิทยา แก้วภราดัย, ชื่นชอบ คงอุดม, วิสุทธิ์ ธรรมเพชร และเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ โดยพีระพันธุ์ได้กล่าวปราศรัยในการประชุมใหญ่เกี่ยวกับทิศทางการทำงานของพรรคซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้มีอุดมการณ์ที่จะทำงานเพื่อบ้านเมืองแบบเดียวกัน และชูวิสัยทัศน์ที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในสังคม[8]

การเข้าร่วมพรรคของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

[แก้]
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรครวมไทยสร้างชาติ

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดความขัดแย้งระหว่างพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งได้รับเสนอชื่อในบัญชีของพรรคพลังประชารัฐ กับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ[9] จนกระทั่งพรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอกประวิตรเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2566[10] ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 พลเอกประยุทธ์จึงกล่าวกับสื่อมวลชนว่าตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และพร้อมรับการเสนอชื่อจากสมาชิกพรรคดังกล่าวเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ในการเลือกตั้งครั้งเดียวกัน[11] ต่อมา เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ก่อตั้งพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งขณะนั้นได้ย้ายไปก่อตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคเทิดไท ได้ตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรค และกลับมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[12]

พรรครวมไทยสร้างชาติได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2566 ในชื่อ "รวมใจ รวมไทยสร้างชาติ" ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ โถงนิทรรศการ 1 และ 2 ชั้น G ภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พลเอกประยุทธ์และรัฐบาลเคยใช้จัดการประชุมเอเปค 2022 จนประสบความสำเร็จมาก่อนหน้านี้[13][14][15][16] โดยส่วนหนึ่งได้มีนักการเมืองที่เคยสังกัดพรรคการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคพลังประชารัฐ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคพลังท้องถิ่นไท เป็นต้น เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติด้วย[17] ทั้งนี้ ในงานดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกตลอดชีพของพรรค และได้กล่าววิสัยทัศน์ต่อหน้าสมาชิกพร้อมด้วยผู้สนับสนุนพรรค[18] เขากล่าวถึงนโยบายของพรรค ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย ลดค่าครองชีพของประชาชน และเสริมสร้างความสามัคคีภายในชาติ[19]

มีนักการเมืองและบุคคลมีชื่อเสียงเปิดตัวและสมัครสมาชิกพรรค เช่น ชัชวาลล์ คงอุดม,[20] เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์,[21][22], ธนกร วังบุญคงชนะ[23][24], อนุชา บูรพชัยศรี[25], สุชาติ ชมกลิ่น[26], ไตรรงค์ สุวรรณคีรี, ชุมพล กาญจนะ[27], เสกสรร ชัยเจริญ[28][29], ทิพานัน ศิริชนะ, มินทร์ ลักษิตานนท์, ศุข ศักดิ์ณรงค์เดช[30], รังสิมา รอดรัศมี , ยศวริศ ชูกล่อม[31], พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล[32] อนุชา นาคาศัย[33] ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์[34] และนิโรธ สุนทรเลขา[35] อนึ่ง ส.ส. บางส่วนได้ลาออกเพื่อมาสมัครสมาชิกกับ รทสช. ด้วย

เวลาต่อมา บุญญาพร นาตะธนภัทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ ซึ่งถูกขับจากพรรครวมแผ่นดินมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยถือว่าเป็น ส.ส. คนแรกของพรรคที่ทำหน้าที่อยู่ในสภาผู้แทนราษฎร โดยเข้ามาพร้อมกับกุสุมาลวตี ศิริโกมุท และพิพิธ รัตนรักษ์[36] หลังจากนั้น สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตหัวหน้าพรรคพลเมืองไทย ได้ตัดสินใจย้ายมาสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ บุตรสาวซึ่งเป็น ส.ส. คนเดียวของพรรคพลเมืองไทยด้วย ทำให้พรรครวมไทยสร้างชาติมี ส.ส. ทั้งสิ้น 2 คน[37]

ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคโดยมีพลเอกประยุทธ์เข้าร่วม ซึ่งที่ประชุมได้แต่งตั้งให้พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรค มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม[38] วันที่ 1 มีนาคม พรรคได้จัดงานทำบุญพรรคและเปิดตัวสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ อาทิ ไพโรจน์ ตันบรรจง, วัฒนา สิทธิวัง, วัชระ ยาวอหะซัน, สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล, เจือ ราชสีห์, ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข และเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข, ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู, ชุมพล จุลใส และสุพล จุลใส และสินธพ แก้วพิจิตร[39] ก่อนหน้านั้นในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ได้มีการเปิดตัวสมาชิกพรรคอาทิ พลตรีนายแพทย์ เหรียญทอง แน่นหนา, พันตำรวจโท ฐนภัทร กิตติวงศา, ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์, รณเทพ อนุวัฒน์ และสาธิต อุ๋ยตระกูล[40] ในวันที่ 16 มีนาคม ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส. อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อชาติ ได้จัดแถลงข่าวที่รัฐสภาประกาศว่าหลังจากมีการประกาศยุบสภาแล้วจะลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อชาติเพื่อย้ายมาสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[41] ต่อมาในวันที่ 20 มีนาคม เกรียงไกร จงเจริญ อดีตว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย เขตบางแค[42] ได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[43] และในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้เปิดตัวทีมเศรษฐกิจ พร้อมด้วยที่ปรึกษา เพื่อรองรับการเลือกตั้ง โดยมีหัวหน้าทีมเศรษฐกิจคือหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทยในขณะนั้น และมีสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจ[44]

ต่อมาในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2566 ที่โถงนิทรรศการ 5 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค[45] จากนั้นได้ทำการเปิดตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตทั้ง 400 คน และเปิดตัวพลเอกประยุทธ์ในฐานะผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคในลำดับที่ 1 ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ยังประกาศให้พีระพันธุ์เป็นผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคในลำดับที่ 2 เพื่อรองรับในกรณีที่พลเอกประยุทธ์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งจะหมดวาระในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568[46] ส่งผลให้ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรครวมไทยสร้างชาติมีผู้สมัครนายกรัฐมนตรีของพรรคจำนวน 2 คน[47]

จากนั้นในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้แต่งตั้งรองหัวหน้าพรรคจำนวน 4 คน ประกอบด้วย สุชาติ ชมกลิ่น, ธนกร วังบุญคงชนะ, อนุชา บูรพชัยศรี และเสกสกล อัตถาวงศ์ โดยมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566[48]

ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งแล้ว ในวันที่ 30 มิถุนายน พรรครวมไทยสร้างชาติได้เปิดตัวทีมโฆษกพรรคชุดแรก ซึ่งเน้นที่กลุ่มบุคคลรุ่นใหม่ของพรรคเป็นหลัก ประกอบด้วย อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เป็นโฆษกพรรค, ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา, พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ และ รัดเกล้า สุวรรณคีรี เป็นรองโฆษกพรรค โดยมีที่ปรึกษาทีมโฆษกคือเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ , ธนกร วังบุญคงชนะ และ ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ[49] และในวันเดียวกัน พีระพันธุ์ซึ่งเป็นว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ได้ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อความสะดวกในการดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[50] ส่งผลให้อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และรองหัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 14 ของพรรค ได้รับการเลื่อนลำดับขึ้นเป็นว่าที่ ส.ส. แทน[51]

การลาออกของพล.อ.ประยุทธ์

[แก้]

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม เฟซบุ๊กของพรรคได้ออกแถลงการณ์ของพลเอกประยุทธ์ โดยระบุว่าขอประกาศวางมือทางการเมือง และลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ของพรรคไปโดยปริยาย[52] จากนั้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม เสกสกลซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรคได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยมีผลทันที ส่งผลให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคไปโดยปริยาย[53] และต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ชินภัสร์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ เนื่องจากเห็นว่าพรรคยังทำงานแบบเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบภายใน โดยมีผลทันที ส่งผลให้พ้นจากตำแหน่งรองโฆษกพรรคไปโดยปริยาย[54]

บุคลากร

[แก้]

หัวหน้าพรรค

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 ว่าที่ร้อยโท ไกรภพ นครชัยกุล 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 7 มีนาคม พ.ศ. 2565
- ประจง ประสานฉ่ำ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 รักษาการหัวหน้าพรรค
2 ธัญย์ธรณ์เทพ แย้มอุทัย 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
- ธนดี หงษ์รัตนอุทัย 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รักษาการหัวหน้าพรรค
3 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เลขาธิการพรรค

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 วาสนา คำประเทือง 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการพรรค
2 ธนดี หงษ์รัตนอุทัย 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค
3 เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน

บุคลากรพรรคในปัจจุบัน

[แก้]

กรรมการบริหารพรรค

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อ ตำแหน่ง
1 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค
2 เอกนัฏ พร้อมพันธุ์
3 ปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ เหรัญญิกพรรค
4 เกรียงยศ สุดลาภา นายทะเบียนสมาชิกพรรค
5 วิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรค
6 วิสุทธิ์ ธรรมเพชร
7 เกชา ศักดิ์สมบูรณ์
8 ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
9 ชื่นชอบ คงอุดม

ไม่ใช่กรรมการบริหารพรรค

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อ ตำแหน่ง
1 สุชาติ ชมกลิ่น รองหัวหน้าพรรค
2 ธนกร วังบุญคงชนะ
  • รองหัวหน้าพรรค/
  • ที่ปรึกษาทีมโฆษกพรรค
3 อนุชา บูรพชัยศรี รองหัวหน้าพรรค
4 จุติ ไกรฤกษ์
5 สยาม บางกุลธรรม รองเลขาธิการพรรค
6 อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ โฆษกพรรค
7 พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ รองโฆษกพรรค
8 รัดเกล้า สุวรรณคีรี
9 ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ประธานที่ปรึกษาพรรค
10 ปรีชา มุสิกุล ที่ปรึกษาพรรค
11 ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ที่ปรึกษาทีมโฆษกพรรค

บุคลากรพรรคในอดีต

[แก้]

คณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรคการเมือง

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อ ตำแหน่ง
1 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ลาออก)[52] ประธานกรรมการ
2 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองประธานกรรมการ
3 ไตรรงค์ สุวรรณคีรี กรรมการ
4 พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
5 ชัชวาลล์ คงอุดม
6 ชุมพล กาญจนะ
7 วิทยา แก้วภราดัย
8 สุชาติ ชมกลิ่น
9 อนุชา บูรพชัยศรี
10 วิสุทธิ์ ธรรมเพชร
11 พงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว
12 เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ กรรมการและเลขานุการ

การเลือกตั้ง

[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

[แก้]
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2566
36 / 500
4,766,408 12.06% เพิ่มขึ้น 36 ร่วมรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ข้อวิจารณ์

[แก้]

การลงคลิป

[แก้]

ก่อนการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้เผยแพร่วีดีโอของทางพรรค ซึ่งมีเนื้อหาเสียดสีนโยบายพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ในส่วนของเนื้อหานั้นประกอบด้วย อนุสาวรีย์ประธิปไตยที่ถูกปิดด้วยแผ่นผ้าประท้วง ลูกชายต่อว่ามารดาว่าทำไมไม่โหวตเลือกอาหารที่จะทาน ลูกสาวที่กลายเป็นผู้ให้บริการคอนเทนต์สำหรับผู้ใหญ่ และข้าศึกประชิดชายแดนที่ไร้การป้องกัน เพราะยกเลิกเกณฑ์ทหาร โดยทางพรรคอธิบายถึงเหตุผลการผลิตและเผยแพร่คลิปนี้ว่า หลายฉากในคลิปเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และเป็นเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นจริง ซึ่งถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าเป็นการปลุกเร้าให้เกิดความเกลียดแบบสุดขั้ว และสะท้อนช่วงเวลาของความสิ้นหวัง และหากทางพรรคยังใช้การเมืองแห่งอารมณ์เหมือนการปล่อยคลิปดังกล่าวอีก จะเป็นวิธีการที่ล้าหลังและสุ่มเสี่ยงมากในระยะยาว ในประเทศไทยที่มีประวัติศาสตร์การแบ่งขั้วมายาวนาน เพราสื่อว่า ต้องแตกหักกัน ซึ่งไม่เป็นผลดีสำหรับสังคมประชาธิปไตยที่อยากจะหาวิธีการอยู่กันอย่างสันติ[55]

คำร้องคัดค้านการเป็น สส.

[แก้]

15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฏว่ามี ว่าที่ ส.ส. ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[56] โดยพรรครวมไทยสร้างชาติถูกร้องคัดค้านทั้งสิ้น 3 คน ดังนี้

ลำดับ รายชื่อ สส. เขตที่ลงเลือกตั้ง
1 พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล นครศรีธรรมราช เขต 10
2 พงษ์มนู ทองหนัก พิษณุโลก เขต 3
3 พิพิธ รัตนรักษ์ สุราษฎร์ธานี เขต 2

แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
  2. "ทำความรู้จัก 'รวมไทยสร้างชาติ' หนึ่งพรรคประกาศหนุน 'พล.อ.ประยุทธ์' ในสนามการเมือง". workpointTODAY.
  3. ทำความรู้จัก “รวมไทยสร้างชาติ” พรรคใหม่ หนุน “บิ๊กตู่” นั่งนายกฯ
  4. "เสกสกล"ขอลุยทำพรรครวมไทยสร้างชาติ หนุน"ประยุทธ์"เป็นนายกฯ
  5. ตรีสุวรรณ, หทัยกาญจน์ (2022-08-03). "รวมไทยสร้างชาติตั้งเป้ากวาด ส.ส. ใต้ยกภาค "หมดเวลาวัฒนธรรมเสาไฟฟ้า"". สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "'ณัฐวุฒิ' จับแพะชนแกะ! ผ่าแผนปฏิบัติการ 'น้องเล็ก 3 ป' ชิงลงมือก่อน". ไทยโพสต์. 2022-02-07. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. ฮาแว, ไพศาล (2023-01-09). "'รวมไทยสร้างชาติ' ฐานทัพใหม่ 'ประยุทธ์' นักการเมืองเต็มตัว หวังกวาด ส.ส. เกิน 100". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. “พีระพันธุ์” นั่งหัวหน้าพรรค ชูนโยบายแก้กฎหมายล้าสมัย สร้างสังคมเท่าเทียม[ลิงก์เสีย]
  9. "ร้าว แต่ยังไม่แตก พลังประชารัฐในภาวะ "มังกรสองหัว"". BBC News ไทย. 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2023-02-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "พรึ่บ! พปชร.เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส. ลั่นเข็น 'ลุงป้อม' นั่งนายกฯ". ไทยโพสต์. 2022-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ""บิ๊กตู่" ประกาศเป็นแคนดิเดตนายกฯ "รวมไทยสร้างชาติ" ยันคุย "พี่ป้อม" แล้ว สัมพันธ์พี่น้องทหารไม่แตกหัก". mgronline.com. 2022-12-23.
  12. ไปไหนไปกัน! 'แรมโบ้'ลาออกหน.พรรคเทิดไท ย้ายซบ'รทสช.'เสริมทัพ'บิ๊กตู่'
  13. "กกต. จับตา 'รวมไทยสร้างชาติ' เปิดตัว 'บิ๊กตู่' ชี้สวมหมวก 2 ใบต้องแยกให้ชัด". 2023-01-07.
  14. 'บิ๊กตู่' ได้ฤกษ์ 9 มกรา. สมัครสมาชิก รทสช.
  15. มาแล้วกำหนดการ 'บิ๊กตู่-ภาษาไตรรงค์' บนเวที 'รวมไทยสร้างชาติ' 9 มกรา.
  16. "เปิดอีเวนต์ "บิ๊กตู่" เข้าพรรค รทสช.9 ม.ค.ขึ้นเวทีโชว์วิสัยทัศน์กลางศูนย์สิริกิติ์". mgronline.com. 2023-01-07.
  17. มติชนสุดสัปดาห์ (2023-01-09). "ที่มาที่ไป รวมไทยสร้างชาติ กว่าจะมาถึง เปิดตัว 'บิ๊กตู่' กระหึ่ม วันนี้". มติชนสุดสัปดาห์.
  18. "นักการเมืองเต็มตัว 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิก รทสช. ขึ้นเวทีร่ายยาวภารกิจเพื่อคนไทยทั้งชาติ". 2023-01-09.
  19. "'พล.อ.ประยุทธ์' สมัครสมาชิก 'รวมไทยสร้างชาติ' เปิดใจต้องพาประเทศไทยไปต่อ". workpointTODAY.
  20. 'ชัช เตาปูน' ลาออกส.ส.พลังท้องถิ่นไท จ่อซบรวมไทยสร้างชาติ
  21. ทิ้งพรรครวมพลัง! เขตรัฐ จ่อสมัครเข้า รวมไทยสร้างชาติ ขออาสาชิง ส.ส.กทม.
  22. 'เอกนัฏ' รับใบสมัคร 'เขตรัฐ' เข้ารทสช. ยัน 'บิ๊กป้อม' ปาดหน้าลงราชบุรี เป็นเรื่องปกติ ไม่มีผลกระทบ
  23. เปิดตัวซบ'รทสช.' 'ธนกร'สมัครสมาชิกพรรค หนุน'บิ๊กตู่'นั่งนายกฯอีกสมัย
  24. "'ธนกร'ลาออกส.ส.สมาชิกพปชร.ไปรวมไทยสร้างชาติ". posttoday. 2023-01-19.
  25. "อนุชา" สมัครเข้าพรรค "รวมไทยสร้างชาติ" หนุน "ลุงตู่" นั่งนายกฯ ต่อ
  26. 'สุชาติ' ลั่นช่วยงาน รทสช. ไม่หวังตำแหน่งในพรรค เผยมี 15 ส.ส.ตามสมทบ
  27. "'ไตรรงค์-ชุมพล-ชัช เตาปูน' เปิดตัวซบรวมไทยสร้างชาติยก 'บิ๊กตู่' ผู้มากบารมี!". เดลินิวส์.
  28. ‘แรมโบ้’นำ‘หนุ่มเสก’อดีตนักร้องดัง เข้ารทสช.
  29. 'หนุ่มเสก' ลง ส.ส.บัญชีรายชื่อ รทสช. ลุยช่วยประยุทธ์หาเสียงทั่วประเทศ
  30. “ทิพานัน” เข้ารวมไทยสร้างชาติ ลุยงานสื่อสาร “เอกนัฏ” เชื่อพรรคปักธง กทม. ได้
  31. พลิกขั้ว ! 2 แกนนำเสื้อแดง 'สมหวัง-เจ๋ง ดอกจิก' สมัครเข้าร่วม 'พรรคลุงตู่'
  32. 'ปุ้ย พิมพ์ภัทรา'สวมเสื้อพรรค รทสช.แล้ว
  33. 'อนุชา' ไขก๊อกพ้น ส.ส. ลาออกจาก 'พปชร.' ซบ รวมไทยสร้างชาติ
  34. “ฐิติภัสร์” ลาออก ส.ส.- สมาชิกพรรค พปชร.แล้ว เตรียมสมัคร “รวมไทยสร้างชาติ” ดีเดย์ 1 มี.ค.นี้
  35. เลือกแล้ว! 'นิโรธ'ร่อนใบลาออกทิ้ง พปชร. ซบรวมไทยสร้างชาติ ช่วย'บิ๊กตู่'
  36. "'บุญญาพร นาตะธนภัทร' ส.ส. คนแรกของรวมไทยสร้างชาติ หลังถูกขับจากพรรครวมแผ่นดิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-30. สืบค้นเมื่อ 2023-01-30.
  37. "สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์" พาลูกสาว “ศิลัมพา" ซบ “รทสช.” หนุน "บิ๊กตู่" นั่งนายกฯ "เอกนัฎ" เตรียมลงใต้ ถก "บ้านใหญ่เมืองนราฯ" หวังกวาดยก4เขต
  38. เปิดชื่อ 15 กก.ยุทธศาสตร์ รทสช. “บิ๊กตู่” คุม มีอำนาจเสนอแนะ กก.บห.พรรค
  39. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  40. ประยุทธ์ รวมไทยสร้างชาติ พรรคอันดับ 1 จัดตั้งรัฐบาล “เพื่อนเฮ้ง” กำลังหลัก
  41. โผซบ‘รทสช.’ ‘ศรัณย์วุฒิ’ยก 3 จุดเด่น‘ลุงตู่’ มั่นใจได้กลับมาเป็นนายกฯอีกรอบ
  42. พท.ส่ง 'เกรียงไกร จงเจริญ' อดีต ขรก.ระดับ 10 ชิง ส.ส.พัฒนาเขตบางแค
  43. หนีเพื่อไทย! 'เกรียงไกร จงเจริญ'ย้ายซบ'รทสช.' หลังถูกเบี้ยวไม่ส่งลงสมัคร
  44. "เลือกตั้ง 66 'พล.อ.ประยุทธ์' เปิดตัวทีมเศรษฐกิจพรรครวมไทยสร้างชาติ ขออย่าระแวง ฝากอนาคตไว้กับตนได้". สำนักข่าวทูเดย์. 2023-03-23. สืบค้นเมื่อ 2023-04-18.
  45. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรครวมไทยสร้างชาติ
  46. "เลือกตั้ง 66 'พล.อ.ประยุทธ์' เผยคือยุทธศาสตร์ ไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์ ส่งไม้ต่อ 'พีระพันธุ์' หากได้นั่งนายกฯ อีก 2 ปี". สำนักข่าวทูเดย์. 2023-04-03. สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. ""พล.อ.ประยุทธ์ " เปิดตัวแคนดิเดตนายกฯ "รทสช" เกทับแลนด์สไลด์ คว้า 400 เขต". ช่อง 8. 2023-03-25. สืบค้นเมื่อ 2023-03-25.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  48. "รทสช. จัดทัพ ตั้ง 4 รองหัวหน้าพรรค "สุชาติ-ธนกร-อนุชา-เสกสกล" ให้คำปรึกษางานการเมือง". มติชน. 2023-04-11. สืบค้นเมื่อ 2023-04-11.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  49. "'รทสช.' เปิดตัว 'อัครเดช' นั่งโฆษกพรรค ลุยเวิร์กช็อป ระดมความคิด เปลี่ยนโครงสร้าง-การทำงาน". มติชน. 2023-06-30. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  50. "พีระพันธุ์ ลาออก ส.ส.รวมไทยสร้างชาติ ขอทำหน้าที่เลขาธิการนายกฯ". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-06-30. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  51. ""เอกนัฏ" บอก "พีระพันธุ์" สละแค่ ส.ส. อยู่ช่วย "ลุงตู่" แต่ยังเป็นหัวหน้าพรรค". ไทยรัฐ. 2023-07-01. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  52. 52.0 52.1 "ประยุทธ์'ประกาศวางมือทางการเมือง ลาออกจากสมาชิก'รทสช.'". แนวหน้า. 2023-07-11. สืบค้นเมื่อ 2023-07-11.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  53. ‘แรมโบ้’ ลาออกจากสมาชิก รทสช. ‘แม่เลี้ยงติ๊ก’ เลื่อนลำดับเป็น สส.บัญชีรายชื่อแทน
  54. "เก็ต ชินภัสร์ ลาออกพรรครวมไทยสร้างชาติ ชี้ถ้าทำงานแบบเดิมเปลี่ยนประเทศไม่ได้". ผู้จัดการออนไลน์. 14 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  55. "เลือกตั้ง 2566 : ถอดรหัสคลิปรวมไทยสร้างชาติ การต่อสู้เฮือกสุดท้ายของ "อนุรักษนิยมฮาร์ดคอร์"". BBC News ไทย. 2023-05-09.
  56. "เปิดชื่อ 71 ว่าที่ ส.ส. กกต.จ่อแขวน เหตุร้องคัดค้าน". Thai PBS.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]