บุญมาก ศิริเนาวกุล
บุญมาก ศิริเนาวกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2498 อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2535–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | กัลยา ศิริเนาวกุล |
รองศาสตราจารย์ บุญมาก ศิริเนาวกุล (เกิด 19 สิงหาคม พ.ศ. 2498) อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 2 สมัย และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีด้านพลังงาน[1]
ประวัติ
[แก้]บุญมาก เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรนายสมศักดิ์ ศิริเนาวกุล และนางอ้ายงิ้ม แซ่อึ้ง มีพี่ชาย 1 คน คือ ศาสตราจารย์ บุญเจริญ ศิริเนาวกุล ด้านครอบครัวสมรสกับนางกัลยา ศิริเนาวกุล (สกุลเดิม: วาสะสิริ) กรรมการในคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[2] และอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชบุรี มีบุตร 1 คน คือ บุณยกร ศิริเนาวกุล (ชื่อเล่น มาดี)
สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนสุริยวงศ์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนดรุณาราชบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทใบที่สอง สาขาการจัดการวิศวกรรม Master of Science in Engineering Management มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิสซูรี่ University of Missouri-Rolla สหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตร์ -อุตสาหการ Ph.D(Engineering) จากมหาวิทยาลัยวิชิทาสเตต สหรัฐอเมริกา โดยจบเป็นคนแรกของสาขานี้ด้วยทุน Doctoral Fellowship Award
การทำงาน
[แก้]การศึกษา
[แก้]บุญมากเคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี Cyber University มหาวิทยาลัยรังสิต, ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
การเมือง
[แก้]ในการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 บุญมากได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชบุรีในนามพรรคประชาธิปัตย์ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 3 แต่ต่อมาถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ใบแดง จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้อ้างว่าได้ส่งสายลับเข้าไปในศูนย์การเลือกตั้งของบุญมาก และพบเห็นมีการจ่ายเงินจำนวน 1 พันบาทให้กับกำนันในพื้นที่และพวกอีก 6 คนเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ก่อนวันเลือกตั้ง 30 วัน การแจกใบแดงครั้งนั้นถือเป็นใบแดงประวัติศาสตร์ใบแรกของการเลือกตั้งในประเทศไทยที่จัดโดยการดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มีขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
ในการเลือกตั้งปี 2548 บุญมาก ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชบุรีอีกครั้ง แต่แพ้ให้กอบกุล นพอมรบดี จากพรรคไทยรักไทย
หลังจากนั้นบุญมาก ได้ต่อสู้คดีใบแดงในชั้นศาล โดยศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 หลังจากชนะคดีในศาลชั้นต้น รศ.บุญมากได้ฟ้องกลับผู้กล่าวหาและเจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เรียกค่าเสียหายเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท ขณะเดียวกันโจทก์ยื่นอุทธรณ์คดีใบแดง ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องบุญมาก เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และโจทก์สู้คดีต่อในชั้นศาลฎีกา
ในการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 บุญมากได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชบุรีในนามพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง แต่ต่อมาในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ก่อนวันเลือกตั้งได้ไม่นาน ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งได้มีคำพิพากษาว่าบุญมากกระทำความผิดโดยให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ระหว่างมีการหาเสียงเลือกตั้งจริง พิพากษาตัดสิทธิการเลือกตั้งบุญมาก 10 ปี ปรับ 20,000 บาท และจำคุกอีก 1 ปี แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี[3][4][5] ทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทันที
บุญมากกลับไปทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด[6] เนื่องจากอยู่ระหว่างถูกตัดสิทธิการเมือง 10 ปี และได้ตำแหน่งทางวิชาการรองศาสตราจารย์ ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ต่อมาหันไปทำการเกษตร[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กะบะเหินร่องน้ำกลางถนน ชนอัดรถเก๋งอดีตสส.ราชบุรีหวิดดับ
- ↑ http://www.moe.go.th/websm/2016/jan/037.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-31. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
- ↑ http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/popup_news_print.aspx?newsid=148752&NewsType=1&Template=1
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
- ↑ รศ. ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล แห่งมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
- ↑ อดีต สส.ราชบุรี พลิกพื้นที่ทำเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในหลวง ร.9
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลจากจังหวัดราชบุรี
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองจากจังหวัดราชบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
- รองศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- นักวิชาการจากจังหวัดราชบุรี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- อธิการบดีในประเทศไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนดรุณาราชบุรี
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์