แท้ ประกาศวุฒิสาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แท้ ประกาศวุฒิสาร
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด26 พฤษภาคม พ.ศ. 2461
บุญแท้ เหมะบุตร
จังหวัดราชบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 (100 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพช่างภาพ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์
ผลงานเด่นสุภาพบุรุษเสือไทย, สาวเครือฟ้า, เห่าดง, สี่คิงส์, เสือเฒ่า, เมืองแม่หม้าย, แก้วสารพัดนึก
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2542 - สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์)

แท้ ประกาศวุฒิสาร เป็นผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ แห่งบริษัทภาพยนตร์ไทยไตรมิตร ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2542

ประวัติ[แก้]

แท้ ประกาศวุฒิสาร เดิมชื่อ บุญแท้ เหมะบุตร เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2461 ที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรคนโตของ ขุนประกาศวุฒิสาร กับนางท้อ เหมะบุตร จบการศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี และโรงเรียนเพาะช่าง แผนกฝึกหัดครูวาดเขียน เริ่มงานภาพยนตร์เป็นช่างถ่ายภาพนิ่งให้กับบริษัทปฏิภาคภาพยนตร์ ของขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต จากนั้นรับราชการเป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ข่าวทหารบก และกองภาพยนตร์ทหารอากาศ

ร่วมอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องแรก สุภาพบุรุษเสือไทย (2492) ในนาม ปรเมรุภาพยนตร์ โดยทำหน้าที่ช่างกล้องด้วย และหลายเรื่องต่อมาส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จด้านรายได้

เคยถ่ายทำเหตุการณ์สำคัญในอดีต เช่น น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ 2485,รัฐประหาร 8 พฤศจิกา 2490 ,ไทรโยค 2499, รถรางวันสุดท้าย 2512, เบื้องหลังงานสร้างหนังเรื่องยาว ฯลฯ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้รวบรวมจัดทำเป็นวีดิทัศน์ชุดพิเศษในโอกาส 88 ปี แท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ (ผู้สร้างภาพยนตร์)

แท้ ประกาศวุฒิสาร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561 เวลาประมาณ 18.05 ณ โรงพยาบาลรามคำแหง เขตบางกะปิ กทม. เนื่องจากหัวใจวาย สิริรวมอายุ 100 ปี 3 เดือน[1]

ผลงาน[แก้]

อำนวยการสร้าง[แก้]

กำกับการแสดง[แก้]

บันทึกภาพยนตร์[แก้]

  • น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ (2485)
  • รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน (2490)
  • หลังกล้อง สุภาพบุรุษเสือไทย (2492)
  • วันพระราชทานปริญญาแพทย์ศิริราช (2493)
  • หลังกล้อง สาวเครือฟ้า (2496)
  • ย้อนอดีตหาดสุรินทร์ ภูเก็ต (2496)
  • ไทรโยค (2499)
  • หลังกล้อง เห่าดง (2501)
  • หลังกล้อง สี่คิงส์ (2502)
  • หลังกล้อง เสือเฒ่า (2503)
  • ฉากเพลงเสริมในหนังเยอรมัน มือเสือ (2505)
  • รถรางวันสุดท้าย (2512)
  • หอภาพยนตร์แห่งชาติ (2548)
  • นำเที่ยวพุทธมณฑล (2549)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]