บอย โกสิยพงษ์
บอย โกสิยพงษ์ | |
---|---|
งานแถลงข่าว MTV News | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | ชีวิน โกสิยพงษ์ |
รู้จักในชื่อ | เจ้าพ่อเพลงรัก ครูบอย |
เกิด | 5 กันยายน พ.ศ. 2510 |
ที่เกิด | กรุงเทพ ประเทศไทย |
แนวเพลง | ป็อป อาร์แอนด์บี |
อาชีพ | นักร้อง, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์, นักดนตรี, ผู้กำกับการแสดง |
ค่ายเพลง | เบเกอรี่มิวสิค (2537 - 2547) เลิฟอีส (2548 - 2563) เทโร มิวสิก (2556 - 2563) อิสระ (2563 - ปัจจุบัน) |
เว็บไซต์ | http://www.loveisloveis.com |
บอย โกสิยพงษ์ (5 กันยายน พ.ศ. 2510 —) ชื่อจริง ชีวิน โกสิยพงษ์ เป็นนักแต่งเพลง นักร้อง และโปรดิวเซอร์ผลิตเพลงแนวอาร์แอนด์บี อดีตผู้บริหารค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิค ปัจจุบันเป็นผู้บริหารค่ายเพลงเลิฟอีส ในต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 และในปี พ.ศ. 2563 เขาลาออกจากค่ายเลิฟอีส เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ประวัติ[แก้]
บอย โกสิยพงษ์ หรือชื่อจริงคือ ชีวิน โกสิยพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2510 เป็นลูกคนกลางในจำนวนพี่น้อง 5 คน ของชิงชัยและอุไรวรรณ โกสิยพงษ์ ในวัยเด็กบอยมีความสนใจทั้งในด้านดนตรีและการ์ตูนมาก บอยได้เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 4 ขวบ และเริ่มแต่งเพลงประกอบการ์ตูนที่เขียนขึ้นเองตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บอยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก รุ่นที่16 และศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านการแต่งเพลง และธุรกิจเพลงจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
ร่วมก่อตั้งเบเกอรี่มิวสิค[แก้]
เมื่อจบการศึกษา บอยได้เริ่มทำงานเป็นนักแต่งเพลงอิสระที่ทำงานให้ทั้งศิลปินเพลง และเพลงประกอบโฆษณา จนกระทั่งได้ร่วมงานกับกมล สุโกศล แคลปป์ ที่ต่อมาเขาได้ร่วมก่อตั้งบริษัทเบเกอรี่มิวสิคขึ้นมาในปี พ.ศ. 2535 ร่วมกับกมล สุโกศล แคลปป์, สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ และสาลินี ปันยารชุน โดยบอยมีหน้าที่หลักในด้านแต่งเพลงและทำดนตรี
บริษัทเบเกอรี่มิวสิคเติบโตเรื่อยมาจนกระทั่งประสบปัญหาทางการเงินในวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกหรือวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 จนต้องเข้าร่วมกิจการกับบริษัทบีเอ็มจี มิวสิก (ประเทศไทย) และภายหลังในปี พ.ศ. 2547 บริษัทแม่ของบีเอ็มจีที่ต่างประเทศได้ควบรวมกิจการกับบริษัทโซนี่ มิวสิก ส่งผลให้บริษัทเบเกอร์มิวสิกที่เข้าร่วมกิจการกับบริษัทบีเอ็มจีมิวสิก (ประเทศไทย) ต้องเข้าร่วมกับบริษัทโซนี่ มิวสิก (ประเทศไทย) ไปโดยปริยาย และเบเกอรี่มิวสิคต้องกลายเป็นค่ายเพลงย่อยของโซนี่มิวสิก ผู้บริหารของเบเกอรี่มิวสิครวมถึงบอยเองจึงลาออกจากเบเกอรี่มิวสิค ต่อมาบอยและกมล สุโกศล แคลปป์ ได้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลงใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อ เลิฟอีส แต่ต่อมาค่ายเพลงเลิฟอีสได้ปรับมาเป็นบริษัทโพรดักชันเฮาส์
ยุติบทบาทผู้บริหารค่ายเลิฟอีส และบีอีซีเทโรมิวสิก[แก้]
LOVEiS ประกาศ! “บอย โกสิยพงษ์” ได้ลาออกจากบริษัทและยุติหน้าที่บริหารทั้งหมด เพราะค่ายนี้เป็นค่ายเพลงที่ผลิตผลงานคุณภาพมามากมายจนนับไม่ถ้วน สำหรับค่ายเพลง LOVEiS ที่ล่าสุดทางเพจเฟซบุ๊ก LOVEiS ได้มีการโพสต์หนังสือประกาศของบริษัท ซึ่งระบุว่าทาง “บอย โกสิยพงษ์” ได้ยุติบทบาททั้งหมดในบริษัทเลิฟอีส และ บีอีซี-เทโร มิวสิก และขายหุ้นทั้งหมดทิ้ง ซึ่งล่าสุดทาง “บอย” ได้ให้สัมภาษณ์กับ วันบันเทิง เผยถึงสาเหตุที่ขายหุ้นทิ้ง และลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารทั้งที่เป็นผู้ก่อตั้งค่ายเพลงดังกล่าวขึ้นมา ว่า เกิดจากเรื่องของความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันกับหุ้นส่วนคนอื่น ๆ แต่ยืนยันว่าหลังจากนี้ จะยังคงทำงานเพลงเหมือนเดิม ทำงานโฆษณา ทำเพลงส่วนตัว ทำโปรดักชั่นเฮ้าส์ มีอัลบั้มของตัวเองก็ออกเอง และค่ายเลิฟอีสนั้น มีผู้บริหารคนใหม่คือ เทพอาจ กวินอนันต์ มาปฏิบัติหน้าที่ต่อจากเขา ส่วนตัวเขาก็เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงในค่ายอิสระ
ร่วมงานแกรมมี่[แก้]
บอย โกสิยพงษ์โดดร่วมงานจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เป็นครั้งแรก โดยชวนโบ สุนิตา ลีติกุล และฮานิ พิชชารีย์ จรรยาธนากร มาแต่งเพลง "รักตั้งแต่แรก" ซึ่งเขาได้แต่งร่วมกับแทน มือคีย์บอร์ดวงลิปตา เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2565 โดยมิวสิควีดีโอปล่อยเมื่อวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ช่องยูทูบ GMM GRAMMY OFFICIAL
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
ในด้านชีวิตส่วนตัว บอย โกสิยพงษ์ ได้สมรสกับวรกัญญา โกสิยพงษ์ และมีลูกสาวด้วยกันสองคน คือ ดีใจ โกสิยพงษ์ และใจดี โกสิยพงษ์ ในด้านการนับถือศาสนาบอยนับถือศาสนาคริสต์ โดยต้นปี พ.ศ. 2553 บอย โกสิยพงษ์ ตรวจพบว่าเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบในระยะเริ่มต้น
ผลงานอัลบั้ม[แก้]
- Rhythm & Boyd (พ.ศ. 2538)
- Simplified (พ.ศ. 2539)
- Million Ways to Love Part 1 (พ.ศ. 2546)
อีพีและซิงเกิล[แก้]
- One (พ.ศ. 2539)
- Home (พ.ศ. 2540)
- Thanks (พ.ศ. 2540)
- เธอเองจะได้ยินอะไรในใจฉันไหม? (พ.ศ. 2544)
- พอ (พ.ศ. 2545)
อัลบั้มรวมเพลงและผลงานอื่น ๆ[แก้]
- Songs From Different Scenes (พ.ศ. 2545)
- Songs From Different Scenes 2 (พ.ศ. 2546)
- Bakery's Sound Revisited (พ.ศ. 2546)
- Songs From Different Scenes 3 (พ.ศ. 2547)
- 10 Years Bakery Featuring All 1994 – 2004 (พ.ศ. 2547)
- LOVEiS Vol.1 (พ.ศ. 2548)
- Kindly Delite (พ.ศ. 2548)
- Rhythm & Boyd E1EVEN1H (พ.ศ. 2549)
- Songs From Different Scenes 4 (พ.ศ. 2549)
- Bundit Ungrangsee and International Orchestra of Italy Plays Boyd Kosiyabong Love Songs (พ.ศ. 2549)
- BOYdPOD Bittersweet (พ.ศ. 2550)
- Songs From Different Scenes 5 (พ.ศ. 2551)
- Rhythm & Boyd E1EVEN1H (Collector's Edition) (พ.ศ. 2551)
- Song From Different Scenes Boxset 1-5 (พ.ศ. 2552)
- Boyd-Nop (พ.ศ. 2553)
- Popular Songbook (พ.ศ. 2556)
ศิลปินรับเชิญ[แก้]
- ก่อนบทเพลงจะหมดความหมาย ในอัลบั้ม Million Ways to Write Part I (พ.ศ. 2551)
- ยอม Completely ในอัลบั้ม In The Room (Cleantone album) (พ.ศ. 2544)
ผลงานการแต่งเพลง[แก้]
- "รอเธอผู้เดียว" - Shining star [1]
- "รักเธอทั้งหมดของหัวใจ" - พอส
- "ดาว" - พอส
- "ข้อความ" - พอส
- "ความลับ" - พอส (แต่งร่วมกับตรัย ภูมิรัตน และนรเทพ มาแสง)
- "กอดหมอน" - พอส
- "ทุกสิ่ง" - พรู
- "ยังรอคอยเสมอ" - พรู
- "ระบาย" - โยคีเพลย์บอย
- "อยากมองเธอในแง่ร้าย" - โยคีเพลย์บอย
- "แค่เธอก็พอ" - กรู๊ฟไรเดอร์ส
- "ฮอร์โมน" - กรู๊ฟไรเดอร์ส
- "บุษบา" - โมเดิร์นด็อก
- "ทุเรียน" - โมเดิร์นด็อก
- "ที่แห่งนี้" - พีโอพี
- "หนาว" - The Strangers
- "รักเธอ" - ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร
- "ที่สุด" - อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
- "สูญญากาศ" - ซิลลี่ ฟูลส์ (พ.ศ. 2555)[2]
- "รักตั้งแต่แรก" - สุนิตา ลีติกุล และ พิชชารีย์ จรรยาธนากร (เพลงนี้บอยร่วมงานแกรมมี่ครั้งแรก โดยแต่งร่วมกับแทน ลิปตา)
โปรดิวเซอร์อัลบั้ม[แก้]
- โปรดิวเซอร์อัลบั้ม 50 ของอัญชลี จงคดีกิจ
- โปรดิวเซอร์อัลบั้ม Ben Chalatit ของเบน ชลาทิศ
ผลงานการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์[แก้]
- "อยู่ในใจ" (เพลงประกอบภาพยนตร์ โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง, พ.ศ. 2549)
- "ความสุข" (เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ความสุขของกะทิ, พ.ศ. 2552)
ผลงานการแต่งเพลงพิเศษ[แก้]
- เพลง "แสงหนึ่ง" (เพลงประกอบนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในโอกาสพระชนมายุ 84 พรรษา, พ.ศ. 2550)
- เพลง "ยอดรัก" (เพลงแต่งให้กำลังใจยอดรัก สลักใจ, พ.ศ. 2551)
- เพลง "ชัยชนะ" (ในอัลบั้ม"ไทยเชียร์กีฬาไทย" ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, พ.ศ. 2551)
- เพลง "เพลงของพ่อ" (เพลงเทิดพระเกียรติเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ, พ.ศ. 2551)
- เพลง "แด่เธอ" (เพลงเนื่องในโครงการ ก้าวคนละก้าวของพี่ตูน, พ.ศ. 2560)
เพลงประกอบโฆษณา[แก้]
- เพลง "ภาพประทับใจ" (เพลงประกอบโฆษณา First Choice, พ.ศ. 2552)[3]
คอนเสิร์ต[แก้]
- คอนเสิร์ต Hennessy Rhythm Discovery Live (15 กุมภาพันธ์ 2540)
- คอนเสิร์ต Bakery The Concert (17 กุมภาพันธ์ 2544)
- คอนเสิร์ต The Story of My Life (28 กันยายน 2544)
- คอนเสิร์ต Boyd Kosiyabong (บอย โกสิยพงษ์) : Million ways to love (5-6 กรกฎาคม 2546)
- คอนเสิร์ต "B5/Event The Concert" (4 กันยายน 2547)
- คอนเสิร์ต Love in Red & White (19 กุมภาพันธ์ 2548)
- คอนเสิร์ต Nop Ponchamni Live & A Man of Smiles (28 ตุลาคม 2548)
- คอนเสิร์ต บี เดย์ เดอะ คอนเสิร์ต (10 - 18 ธันวาคม 2548)
- คอนเสิร์ต The Rhythm & Boyd Alumni (23 เมษายน 2549)
- คอนเสิร์ต Rhythm&Boyd 11th True Interactive Live Concert (21 พฤศจิกายน 2549)
- คอนเสิร์ต An Unforgettable Valentine Concert (14 กุมภาพันธ์ 2550)
- คอนเสิร์ต LOVEiS Sharing 2 Yesterday, Friday & Tomorrow (6 พฤศจิกายน 2550)
- คอนเสิร์ต KTC LOVEiS Winter Festival 2007 (8 ธันวาคม 2550)
- คอนเสิร์ต LOVEiS FAMILY,THE MUSIC FESTIVAL (12-13 ธันวาคม 2551)
- คอนเสิร์ต Love, Hope & Happiness Concert (10-11 มกราคม 2552)
- คอนเสิร์ต บอย-ป๊อด Once in A Lifetime Concert (15-16 กรกฎาคม 2552)
- คอนเสิร์ต The Innocent Concert (10 ตุลาคม 2552)
- คอนเสิร์ต Dee Boyd pop Fest (5-6 ธันวาคม 2552)
- คอนเสิร์ต Piano & I : Piano & You (12 มิถุนายน 2553)
- คอนเสิร์ต Stamp เกรียน Day (16 มีนาคม 2556)
- คอนเสิร์ต P.O.P Party of The Bakerian (29 มิถุนายน 2556)
- คอนเสิร์ต Pod Stamp Kbank Concert (26 ตุลาคม 2556)
- คอนเสิร์ต Boyd Ko Family Christmas together (28 ธันวาคม 2556)
- คอนเสิร์ต แสตมป์ ซูเปอร์แฟน มีตติ้ง “วันแห่งความเกรียน” (12 มกราคม 2557)
- คอนเสิร์ต Nuvo & Friends for Nepal (5 พฤษภาคม 2558)
- คอนเสิร์ต SUKIE BOYD SOMKIAT Present B Day Dance Party concert (19 มิถุนายน 2558)
- คอนเสิร์ต SUKIE BOYD SOMKIAT present BDAY DANCE PARTY CHIANG MAI (4 กรกฎาคม 2558)
- คอนเสิร์ต แสตมป์ฟ้าผ่า (19 กันยายน 2558)
- คอนเสิร์ต BoydKo Awards (26 ธันวาคม 2558)
- คอนเสิร์ต 22 ปี เบเกอรี่ มิวสิก ตอน เบเกอรี่ เลิฟอีส และบีอีซี-เทโร มิวสิก รำลึก 14 ปี โจ้ วงพอส (20 สิงหาคม 2559)
- คอนเสิร์ต Gypsy Carnival 2 Butterflies Calling (18 กุมภาพันธ์ 2560)
- คอนเสิร์ต LOVEiS 12th Sharing (26 กุมภาพันธ์ 2560)
- คอนเสิร์ต ทำให้หมา หาให้แมว (5 กรกฎาคม 2560)
- คอนเสิร์ต BOYdKO50th #1 RHYTHM & BOYd THE CONCERT (4 กุมภาพันธ์ 2561)
- คอนเสิร์ต BOYdKO50th #2 Simplified The Concert (4 - 5 สิงหาคม 2561)
- คอนเสิร์ต BOYd50th #3 MILLION WAYS TO LOVE - LIVE 2019 (2 กุมภาพันธ์ 2562)
- คอนเสิร์ต The Lyrics Of Love : Greatest Hits of Dee & Boyd (13 - 14 กรกฎาคม 2562)
- คอนเสิร์ต For Once in Your Life Concert (22 มีนาคม 2563)
- คอนเสิร์ต Kong Saharat & Friends ตอน น้ำนองไหลมา น้ำใจไหลไป (4 ธันวาคม 2565)
- คอนเสิร์ต BOYd-NOP FAMILY CONCERT ตอน BACK TO THE 90’s (24 ธันวาคม 2565)
ผลงานแสดงภาพยนตร์[แก้]
- Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย (2549)
ผลงานแสดงละคร[แก้]
- สุดร้ายสุดรัก (2564) (รับเชิญ)
ผลงานเบื้องหลัง[แก้]
กำกับละคร[แก้]
- สุดร้ายสุดรัก (2564)
ผู้จัดละคร[แก้]
- สุดร้ายสุดรัก (2564)
รางวัล[แก้]
- เพลง "Live And Learn" ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมจากสีสันอะวอร์สครั้งที่ 16 [4]
- ท็อปอวอร์ด 2008 นักร้องกลุ่มยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม Bitter Sweet
- ไนน์ เอ็นเตอร์เทน อวอร์ด 2009 รางวัลนักร้องชายแห่งปี จากอัลบั้ม Boyd-Pod Bittersweet
เพลงพิเศษ[แก้]
- ต้องกล้า คนหัวใจสิงห์
- ความสุข
- ความฝันอันสูงสุด
- จะไม่ทิ้งกัน
รายการ[แก้]
- ต้องกล้า ตอน สัมผัสชีวิตชาวนาเพื่อจัดทำละครวิทยุ (2553)
ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]
- เพลงแรกที่บอยแต่งให้กับภรรยาคือเพลง "จะเก็บเธออยู่ในใจเสมอ"
- เพลงแรกที่บอยแต่งให้กับลูกคนแรกคือเพลง "ดีใจ"
- เพลงแรกที่บอยแต่งให้กับลูกคนที่สองคือเพลง "ฉันดีใจที่มีเธอ"
- ชื่อที่ใช้ในการเขียนเพลงของบอย มี 8 ชื่อ คือ "BOYd Kosiyabong", "Cheewyn Kosiyabong", "Vacation", "Tuxido77", "Loveland, DJ Kicks", "Blue Hawaii" และ "BB Darling" ซึ่งนามแฝงส่วนมากใช้ในการแต่งเพลงของศิลปินค่ายโดโจ ซิตี้
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Shining Star : "รอเธอคนเดียว" [Official Audio]
- ↑ 'ซิลลี่ ฟูลส์' มิกซ์เพลง 'สูญญากาศ' ที่แคนาดา
- ↑ บทที่ 2 ชีวิตและผลงานเพลงของบอย โกสิยพงษ์
- ↑ "สีสันอะวอร์สครั้งที่ 16". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-11. สืบค้นเมื่อ 2014-10-14.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับดารา นักแสดงนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |