ข้ามไปเนื้อหา

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอกนัฏ พร้อมพันธุ์
เอกนัฏ ใน พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 101 วัน)
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 213 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร เขต 29
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 159 วัน)
ถัดไปสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา
เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
(2 ปี 132 วัน)
ก่อนหน้าธนดี หงษ์รัตนอุทัย
(รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มกราคม พ.ศ. 2529 (38 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2554–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)
กปปส. (2556)
วิชาชีพนักการเมือง
ทรัพย์สินสุทธิ1,192 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2529) ชื่อเล่น ขิง เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2529 เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ พรเทพ เตชะไพบูลย์ สามีคนปัจจุบันของปภัสรา เตชะไพบูลย์ กับ ศรีสกุล พร้อมพันธุ์[1] ภริยาคนปัจจุบันของ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีพี่ชาย สิทธิพัฒน์ เตชะไพบูลย์ (โขง) และน้องสาว ธีราภา พร้อมพันธุ์ (เข็ม) และยังมีน้องสาวต่างมารดา ดิสรยา เตชะไพบูลย์ (เหนือ)[2]

การศึกษา

[แก้]

การเมือง

[แก้]

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นเลขานุการส่วนตัวของสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเป็นบิดาบุญธรรม โดยในเหตุการณ์การก่อความไม่สงบของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เอกนัฏได้อยู่ในเหตุการณ์และเคียงข้างสุเทพตลอด โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้บุกเข้าไปในโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช ที่พัทยา[3]

ในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เอกนัฏได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร เขต 29 (เขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองค้างพลู)) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นเขตเดียวกันกับ วัชระ เพชรทอง ส.ส. เดิมของพรรค ที่ต้องเปลี่ยนไปลงแบบระบบบัญชีรายชื่อแทน[4] และได้รับเลือกตั้งไปด้วยคะแนน 37,932 คะแนน [5] โดยถือเป็น ส.ส.ที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับเลือกตั้งมาในครั้งนี้ด้วยอายุเพียง 25 ปี[6]และยังเป็น ส.ส. ชายคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดหลังฉลองกรุงฯ 200 ปี

ในช่วงเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงพื้นที่ดูเรื่องน้ำท่วมในเขตหนองแขม และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างใกล้ชิดในฐานะที่เป็น ส.ส. พื้นที่ อีกทั้งยังได้ช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่อย่างแข็งขัน จนได้รับคำชื่นชมอย่างมาก [7]

กระทั่งวันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 เอกนัฏได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์โดยให้มีผลทันที โดยมีกระแสข่าวว่า เอกนัฏเตรียมย้ายไปสังกัด พรรครวมไทยสร้างชาติ[8]

ในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ของพรรครวมไทยสร้างชาติ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เอกนัฏได้รับเลือกตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยมีพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นหัวหน้าพรรค

ต่อมาวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 เอกนัฏได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

[แก้]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายเอกนัฏเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ถือว่าเป็นแกนนำที่มีอายุน้อยที่สุด โดยมีบทบาทเป็นโฆษกของการชุมนุมชี้แจงข่าวสารและทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ต่อสื่อมวลชนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[9]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยเอกนัฏเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 9[10] [11]

หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ นายเอกนัฏได้เข้าอุปสมบทที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และเข้าจำพรรษาที่วัดป่าอัมพวัน จังหวัดชลบุรี เช่นเดียวกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่น ๆ ด้วย [12]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นบุคคลที่ชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอลและฟุตซอล และเป็นบุคคลที่สะสมแว่นตาต่าง ๆ หลายชิ้น จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว [13][14]

และในช่วงการชุมนุม พ.ศ. 2556–2557 ได้เกิดกระแสจับคู่กับ น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร อีกหนึ่งในแนวร่วมคนสำคัญ ที่เป็นสีสันและเรื่องเล่าขานในเชิงสบาย ๆ กันในหมู่ผู้ชุมนุม[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายเอกนัฏ พร้อมพันะ[ลิงก์เสีย]
  2. "สวยเก่ง! "เหนือ ดิสรยา" ลูกสาว "กบ ปภัสรา" คว้าปริญญาตรี นิเทศจุฬาฯ พร้อมลุยงานในวงการ". pptvhd36.com. 2023-10-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ คนรุ่นใหม่ใกล้ตัว สุเทพ เทือกสุบรรณเก็บถาวร 2009-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกรุงเทพธุรกิจ
  4. ปชป.ปัดกทม.แตกเละยันลูกคนมีเงินต้องดี จากเดลินิวส์
  5. เปิดผลการเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพ ปชป. 23 เพื่อไทย 10 ที่นั่ง จากมติชนเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. ส.ส.ใหม่ทยอยรับหนังสือรับรอง รายงานตัวต่อสภาฯ[ลิงก์เสีย] จากครอบครัวข่าว 3[ลิงก์เสีย]
  7. "บ้านนี้สีฟ้า 13 05 56 เบรก 2". ยูทิวบ์. 13 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ขิง เอกนัฏ" อดีตแกนนำกปปส. โพสต์อำลาปชป.จับตาร่วม"รวมไทยสร้างชาติ"
  9. หน้า 054-057, 'ขิง-เอกนัฏ'ทายาทการเมือง'ลุงกำนัน' . นิตยสาร ฅ คน Magazine 97: มกราคม 2557
  10. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ""เอกณัฏ" บวชวัดชลประทานฯ แกนนำ กปปส.- อดีต ส.ส.แห่ร่วม". ผู้จัดการออนไลน์. 21 มิถุนายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "บ้านนี้สีฟ้า 13 05 56 เบรก 1". ยูทิวบ์. 13 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "บ้านนี้สีฟ้า 13 05 56 เบรก 3". ยูทิวบ์. 13 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "เขาเป็น? คำตอบจาก จม.หวาน เปิดใจที่แรก 'จิตภัสร์' แฟน ' เอกนัฏ' คู่จิ้นการเมือง". Thairath. 22 มิ.ย. 2558.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]