ข้ามไปเนื้อหา

ถนอม อ่อนเกตุพล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ถนอม อ่อนเกตุพล ปัจจุบันจัดรายการ ช่อง 5 รวมใจ ฟังชัดๆ ถนอมจัดให้ ทางช่องททบ.5 เอชดี และอดีตที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และโฆษกกรุงเทพมหานคร อดีตที่ปรึกษาและโฆษก สมัยผู้ว่าฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีต ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกรุงเทพมหานคร อดีตรองโฆษกกรุงเทพมหานคร อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายองอาจ คล้ามไพบูลย์

ประวัติ

[แก้]

เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ที่อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่มาเติบโตและใช้ชีวิตอยู่ที่อำเภอหัวไทร จังหวัดเดียวกัน[1] เป็นบุตรชายของนายปลื้มและนางแดง อ่อนเกตุพล จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนทรายขาววิทยา และโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ ระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท พัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

การจัดรายการวิทยุ

[แก้]

เข้าทำงานด้านสื่อมวลชน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ และสำราญ รอดเพชร[2] โดยทำงานเป็นสื่อมวชลชนสายการเมืองประจำทำเนียบรัฐบาลและผู้จัดรายการวิทยุมาก่อน ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ "ร่วมด้วยช่วยกัน" ทาง F.M.96.0 MHz โดยจัดรายการได้ดี จนได้รับรางวัลผู้จัดรายการยอดเยี่ยมของคลื่น และรางวัลเทพทองพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. 2545 และในระหว่างที่ทำงานเป็นผู้บริหารสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ได้เข้าไปมีบทบาทอย่างสูงในการเจรจากับ นักศึกษาพม่าที่บุกยึดสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2543 และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นผู้เจรจากับคนร้ายกรณี นักโทษชาวพม่า จี้จับผู้บัญชาการเรือนจำ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นตัวประกัน เมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยใช้เวลายาวนานถึง 10 ชั่วโมง

เคยจัดรายการอยู่ที่คลื่นวิทยุสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ F.M.99.5.0 MHz วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 15.30.00-18.00 น. ชื่อรายการ สารพันปัญหากฎหมาย และจัดรายการทางโทรทัศน์ดาวเทียม สถานีบลูสกายชาแนล รายการฟ้าวันใหม่ โดยคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน เวลา 08.00-09.00 น.และรายการอาสาประชาชน กับ รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร, นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เวลา 11.00-12.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ รวมถึงรายการวิเคราะห์คอลัมนิสต์ กับ นายเทพไท เสนพงษ์ เวลา 11.00-12.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์

การเมือง

[แก้]

ในการเลือกตั้งทั่วไปทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2548 นายถนอมได้ลงเลือกตั้งด้วย โดยลงในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ กรุงเทพมหานคร เขต 9 คือ เขตคลองเตยและเขตวัฒนา โดยแข่งขันกับผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย คือ น.ต.ศิธา ทิวารี โดยนายถนอมได้รับคะแนน 20,143 คะแนน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และอดีตที่ปรึกษาและโฆษก กทม.สมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พร้อมกับการเป็นสื่อมวลชนอิสระ นักเขียนอิสระ ผลงานได้แก่ ฝันให้ไกลไปให้ถึง ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน, เบื้องลึก เบื้องหลังรัฐบาลโอบามาร์ค และ ชีวิตที่เลือกได้ พ.ต.อ.สวัสดิ์ จำปาศรี

ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2553 ภายหลังจากการมีการวางเพลิงห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ บริเวณแยกราชประสงค์ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นายถนอมซึ่งเป็นโฆษกกรุงเทพมหานคร ได้มีบทบาทเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ตามสื่อต่าง ๆ ถึงบทบาทและหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ[3]

หลังจากนั้น ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (องอาจ คล้ามไพบูลย์)[4]

การจัดรายการโทรทัศน์

[แก้]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

[แก้]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายถนอมได้เข้าร่วมกับการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) โดยเป็นแนวร่วมคนหนึ่ง มีบทบาทเป็นโฆษกบนเวทีชุมนุมคู่กับนายสำราญ รอดเพชร และในบางครั้งยังเป็นผู้นำพาผู้ชุมนุมเดินไปในถนนสายต่าง ๆ อีกด้วย เช่น เป็นแกนนำผู้ชุมนุมเดินจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นวันที่ทางกปปส.กำหนดชุมนุมใหญ่ แบ่งเส้นทางการเดินขบวนออกเป็น 9 เส้นทาง[5] นอกจากนี้ยังทำหน้าที่แสดงหนังตะลุงมีเนื้อหาล้อเลียนรัฐบาลให้ผู้ชุมนุมได้ชมอีกด้วย ซึ่งต่อมาหลังการชุมนุมได้เสร็จสิ้นลง นายถนอมยังคงแสดงหนังตะลุงต่อไป โดยประยุกต์เข้ากับข่าวสารเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยใช้ชื่อรายการว่า "เท่งนุ้ยคุยข่าว" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ฟ้าวันใหม่และสถานีโทรทัศน์เคเบิลท้องถิ่นในภาคใต้

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยนายถนอมเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 28[6] [7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 22 09 58". ฟ้าวันใหม่. 22 กันยายน 2558. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "2 คน 2 คม 02 08 59 เบรก1". ฟ้าวันใหม่. August 2, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
  3. ถนอม หวั่นเพลิงลามไปตึกอื่น หลังดับเพลิงถูกขัดขวางการทำงาน[ลิงก์เสีย]
  4. ครม.เด้งปลัด กทม.ตบยุงสำนักนายกฯ “ถนอม” ขึ้นชั้นนั่งเลขาฯ รมต.สำนักฯ[ลิงก์เสีย]
  5. "เกาะติดม็อบ 9 ธ.ค.56 'วันเผด็จศึก'". เดลินิวส์. 9 ธันวาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-17. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)