เสนีย์ วิลาวรรณ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยเอก เสนีย์ วิลาวรรณ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ประจำปีพุทธศักราช 2554 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2472 ที่ตำบลราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
การศึกษา
[แก้]ศึกษาระดับประถมศึกษาที่ โรงเรียนวัดราษฎร์นิยม จังหวัดนนทบุรี ระดับมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี โดยเป็นนักเรียน ยุวชนทหาร รุ่นสุดท้าย
ศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษา ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
เป็นนักเรียนเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รุ่นสุดท้าย ระหว่าง พ.ศ. 2489-2490 (ต.ม.ธ.ก. รุ่นที่ 8)
การศึกษาระดับอุดมศึกษา จบ อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อด้วย ครุศาสตรบัณฑิต เป็น ค.บ.รุ่นแรก เมื่อหลักสูตรยังอยู่ใน แผนกครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากรับราชการที่มหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ศึกษาต่อจนจบ Master of Arts (M.A.) จากEastern Michigan University รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา
การรับราชการ
[แก้]พ.ศ. 2498 เป็นอาจารย์สอนภาษาไทยที่โรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อมีการรวมโรงเรียนเตรียมนายร้อยของทุกเหล่าทัพ กับโรงเรียนเตรียมนายร้อยตำรวจเข้าด้วยกันเป็น โรงเรียนเตรียมทหาร จึงย้ายไปเป็นอาจารย์สอนภาษาไทย ที่โรงเรียนเตรียมทหาร ตั้งแต่แรกสถาปนาโรงเรียน ใน พ.ศ. 2501 และโอนไปรับราชการที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2509
พ.ศ. 2509 ย้ายมารับราชการเป็นอาจารย์ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
เป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคนแรกจนเกษียณราชการ ตั้งแต่ภาควิชาเริ่มจัดสอนวิชาเอกภาษาไทย ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท สาขาจารึกภาษาไทยและสาขาจารึกภาษาตะวันออก ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก ตลอดเวลารับราชการที่คณะโบราณคดีเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่าง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2518 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2521 เกษียณอายุราชการ เมื่อ พ.ศ. 2532
นอกจากงานราชการแล้ว ยังมีผลงานการเรียบเรียงตำราและแบบเรียนภาษาไทยตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ใช้ในโรงเรียนต่างๆ เป็นจำนวนร้อยกว่าเล่ม
รางวัลระดับชาติ
[แก้]กระทรวงวัฒนธรรมประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสนีย์ วิลาวรรณเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ประจำปีพุทธศักราช 2554 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2554[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[2]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[3]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กระทรวงวัฒนธรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖๔๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๔๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๗๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2472
- ทหารบกชาวไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- นักภาษาศาสตร์ชาวไทย
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- บุคคลจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์