อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี
อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มีนาคม พ.ศ. 2521 (42 ปี) |
พรรคการเมือง | กล้า |
คู่สมรส | พิณ สุวรรณภักดี |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ชื่อเล่น | เอ๋ |
อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการ พรรคกล้า คณาจารย์สถาบันทิศทางไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กทม. เขตจตุจักร ประธานกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย กรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า และอดีตคณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ[แก้]
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เกิดวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2521 ชื่อเล่น เอ๋[1] เป็นบุตรของ นายสมพงศ์ สุวรรณภักดี อดีตอัยการ กับ นางภคินี สุวรรณภักดี อดีตรองกรรมการผู้จัดการธนาคารมหานคร ซึ่งเคยถูกกล่าวหาในคดีทุจริตการปล่อยสินเชื่อของธนาคารมหานคร ต่อมาศาลพิพากษาถึงที่สุดว่านางภคินีเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ อ.3481/2559[2]
ชีวิตครอบครัว นายอรรถวิชช์ สมรสกับพิณ สุวรรณภักดี (สกุลเดิม บูรพชัยศรี) มีบุตร 2 คน[3]
นายอรรถวิชช์ มีงานอดิเรกคือ การสะสมรถโบราณ โดยได้ดำรงตำแหน่งเป็น เลขาธิการสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย และเป็นเลขาธิการที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมาอีกด้วย[4] นอกจากนี้แล้วยังมีค่ายมวยเป็นของตัวเอง ชื่อ "ส.สุวรรณภักดี" ที่มีนักมวยในสังกัดเป็นแชมเปี้ยนของเวทีมวยลุมพินีในรุ่นแบนตั้มเวต (118 ปอนด์) คือ ขวานเพชร ส.สุวรรณภักดี[5]
การศึกษา[แก้]
- ประถมศึกษา มัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล รุ่น 75 (ศิษย์เก่าดีเด่น)
- ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นรหัส 38 (ศิษย์เก่าดีเด่น)
- ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ประกาศนียบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ
- ประกาศนียบัตรแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งด้านนโยบายสาธารณะโดยสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า ปปร. รุ่น12
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการตลาดทุน วตท. รุ่น13
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรการพัฒนากรรมการบริษัทมืออาชีพ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) DCP รุ่น107
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง มหานคร รุ่น 3
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรนักบริหารระดับสูง “ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม” นมธ.รุ่น1
นายอรรถวิชช์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคได้แนะนำให้ไปเรียนต่อในระดับปริญญาโท จนสำเร็จการศึกษาในสาขากฎหมายการเงินการธนาคารจาก มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และลงสมัคร ส.ส.ครั้งแรกกับพรรคประชาธิปัตย์จนได้รับการเลือกตั้งในเวลาต่อมา
การทำงาน[แก้]
ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
นายอรรถวิชช์ เคยรับราชการสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง มีผลงานเด่นหลายเรื่อง อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การกำกับดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลให้อยู่ในระดับร้อยละ 28 ต่อปี ซึ่งโดยมากในยุคนั้น สินเชื่อส่วนบุคคล เช่น บัตรอิออน และแคปปิตอล โอเค จะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูง และการควบรวมกิจการบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม ธนาคารทหารไทย และธนาคารดีบีเอสไทยทนุ รวมถึงงานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน การธนาคาร หลายฉบับ
พ.ศ. 2551 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 4 คือ เขตจตุจักร, บางซื่อ, หลักสี่ ในนามพรรคประชาธิปัตย์ โดยร่วมทีมกับนายบุญยอด สุขถิ่นไทย และนายสกลธี ภัททิยกุล สามารถชนะเลือกตั้งแบบยกทีม
พ.ศ. 2554 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 9 คือ จตุจักร
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 นายอรรถวิชช์ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่าได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เพื่อไปร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่กับนาย กรณ์ จาติกวณิช อดีตรองหัวหน้าพรรคที่ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์มาแล้วก่อนหน้านั้นโดยได้กราบลานาย ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่นายอรรถวิชช์ให้ความเคารพนับถือเมื่อวันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 [6]
โดยในวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 9.30 น. นายอรรถวิชช์ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรณ์พร้อมผู้ร่วมก่อตั้ง 5 คนจะได้เดินทางไปยัง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ [7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2556 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2553 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2552 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)[10]
- พ.ศ. 2551 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ข้อมูล ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์
- ↑ https://pantip.com/topic/31295704/comment13
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี
- ↑ คบเด็กฯ : อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี กับงานชุบชีวิตรถโบราณ
- ↑ อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี - ปชป
- ↑ 'อรรถวิชช์'ลาปชป.อีกราย!เผยตกลงกับ'กรณ์'ทำงานการเมืองแบบ'ถึงไหนถึงกัน'
- ↑ "กรณ์"ถือฤกษ์10โมงครึ่ง14ก.พ.เปิดชื่อพรรคที่มี"พยางค์เดียว"
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2552
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2551
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ นายอรรถวิชช์
- บทสัมภาษณ์นายอรรถวิชช์ ในรายการ ThaisWatchTV
- ข้อมูลเพิ่มเติม
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2521
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคกล้า
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยบอสตัน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์