โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล St. Gabriel’s College | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ซ.ค. หรือ S.G. |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
คำขวัญ | Labor Omnia Vincit "ความวิริยอุตสาหะเป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ" |
สถาปนา | 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
ผู้ก่อตั้ง | เจษฎาจารย์ มาร์ติน เดอ ตูรส์ |
ผู้อำนวยการ | ภราดา ดร. สุรกิจ ศรีสราญกุลวงศ์ |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส |
สี | น้ำเงิน และขาว |
เพลง | มาร์ชเซนต์คาเบรียล |
เว็บไซต์ | http://www.sg.ac.th/ |
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (อังกฤษ: St. Gabriel's College) เป็นโรงเรียนชายล้วนขนาดใหญ่ ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ตั้งอยู่บนถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เปิดสอนนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 คำว่า "เซนต์คาเบรียล" ในชื่อโรงเรียนนั้น จึงมาจากชื่อคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ผู้ก่อตั้งโรงเรียน โรงเรียนเซนต์คาเบรียลเป็นโรงเรียนที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศ และคุณภาพของนักเรียนและศิษย์เก่าที่จบไป[ต้องการอ้างอิง]
โรงเรียนเซนต์คาเบรียลเป็นหนึ่งในสองของโรงเรียนในเครือฯ ที่ใช้สีประจำสถาบันคือ กรมท่าขาว (อีกโรงเรียนหนึ่งที่ใช้สีน้ำเงินขาวคือโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง) และมีเพียงวิทยาเขตเดียว เช่นเดียวกับ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยและโรงเรียนเซนต์หลุยส์
ประวัติของโรงเรียน
[แก้]ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงบลง โรงเรียนอัสสัมชัญได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เจษฎาจารย์มาร์ติน เดอ ตูรส์ และคณะที่ปรึกษา มีแนวความคิดที่จะเปิดโรงเรียนแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ เพื่อรองรับการขยายตัวของโรงเรียนอัสสัมชัญ ประกอบกับท่านได้รับข้อเสนอ จากบาทหลวงบรัวซา อธิการโบสถ์นักบุญฟรังซิสซาเวียร์ เสนอให้ที่ดินบริเวณถนนสามเสน เป็นสถานที่ก่อสร้าง
การขยายตัวมาเปิดโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ในฐานะสาขาที่สองของคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มิได้เกิดขึ้นท่ามกลางสภาพบ้านเมืองปกติ แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ห่างจากสงครามครั้งนั้นมาก แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม ทำให้วัสดุที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างขาดแคลน และมีราคาแพง ขณะที่แรงงานกรรมกรก็เป็นสิ่งหายากเช่นกัน
เจษฎาจารย์มาร์ตินจึงได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 โดยท่านเป็นนายช่างสถาปนิกออกแบบให้คำปรึกษาเอง และมีนายเบเกอแลง (Mr. Be'quelin) เป็นวิศวกร ในขณะที่ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนอยู่นั้น ได้ใช้บ้านของนายเบอลี่ เป็นโรงเรียนชั่วคราว ในปีแรกมีนักเรียนทั้งสิ้น 141 คน
โรงเรียนสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 ตามปฏิทินไทยเดิม (ตรงกับคริสต์ศักราช 1921 ของปฏิทินสากล) มีตึกหลังใหญ่เรียกว่า "ตึกแดง" โดยส่วนที่เป็นไม้ใช้ไม้สักทั้งสิ้น ซึ่งบริษัทบอมเบย์เบอรม่า เป็นผู้ติดต่อส่งวัสดุต่าง ๆ ในการก่อสร้าง คิดตามบัญชีที่บันทึกไว้ทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณ หนึ่งแสนเศษ ในระยะแรกรู้จักกันในนาม "โรงเรียนอัสสัมชัญ สามเสน" และได้รับบุคลากรจากโรงเรียนอัสสัมชัญไปช่วยก่อร่างสร้างตัว ด้วยเหตุนี้เองในปีแรกจึงมีนักเรียนมาสมัครเป็นจำนวนถึง 150 คน
สถานที่ตั้ง
[แก้]ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งโรงเรียนมีบริเวณติดต่อกับชุมชนที่หลากหลายมาก โดยอาณาเขตด้านหลังโรงเรียนติดกับโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ อ้อมมาทางด้านซ้าย ทางซอยสามเสน 13 (มิตรคาม) จะติดกับที่ดินของโบสถ์เซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ ซึ่งจะมีบ้านเรือนร้านค้าทางด้านติดถนนสามเสน แล้วถัดมาในซอยมิตรคามก็จะเป็นสุสานของโบสถ์ฯ และที่พัก ฝั่งตรงข้ามกับเขตโรงเรียนเดิม ก็รายล้อมด้วยสถานศึกษาอื่น ๆ ในละแวกโรงเรียนได้แก่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตรในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และหอสมุดแห่งชาติ
ปรัชญา
[แก้]ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนมี 2 อย่าง คือ
- จุดหมายของชีวิต คือ การรู้จักสัจธรรมความจริง และการเข้าถึงธรรมอันสูงส่ง อันเป็นบ่อเกิดของชีวิต
- มนุษย์ทุกคนต้องทำงาน ความวิริยะ อุตสาหะ เป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ (Labor Omnia Vincit)
อนึ่ง คำว่า "Labor Omnia Vincit" ดังที่ปรากฏอยู่ในตราประจำคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เป็นคำจากภาษาละติน
ตราประจำโรงเรียน
[แก้]ตราประจำโรงเรียนใช้ตราของคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ซึ่งสถาบันการศึกษาในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียลทั้งหมดใช้ตรานี้เป็นตราประจำสถาบันร่วมกัน ตรงกลางตราเป็นรูปโล่แบ่งสี่ซีก มีสัญลักษณ์ดังนี้
A.M. และ ช่อดอกซ่อนกลิ่นสีขาว
[แก้]A.M. มาจากคำละตินว่า "Ave Marie" หมายถึง "วันทามารีย์" หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง "Alma Mater" หมายถึง "โรงเรียนแม่" — ส่วนดอกซ่อนกลิ่น แสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ที่นักเรียนทุกคนต้องพยายามทำตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และ ใจ อยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม — ในส่วนนี้จึงมีความหมายรวมว่า โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านเกิดที่ทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัว มีพระนางมารีอาเป็นที่รักเคารพและบูชาร่วมกันไม่แยกแยะว่าใครมีหรือจน ความรักและความสุขที่มีต่อครอบครัว ต่อแม่ที่มีร่วมกันเป็นความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจเสมอ ไม่ว่าอยู่ ณ ที่แห่งใด
รูปเรือใบ และ ดาวเหนือเรือ
[แก้]เปรียบได้กับ "นาวาชีวิต" ที่จะต้องต่อสู้คลื่นลมและแสงแดดไปจนถึงฝั่ง เป็นคติให้ได้คิดเสมอว่า "ชีวิตคือการต่อสู้" มีดวงดาวอยู่ในท้องฟ้าเหนือเรือที่กำลังสู้คลื่นลม หมายถึงแสดงแห่งความหวัง ได้แก่ แสงธรรมแห่งศาสนา กับแสดงแห่งปัญญา จากสรรพวิทยาการที่ได้รับจากโรงเรียนรวมกันเป็นดวง ประทีป ส่องนำชีวิต (คือคนที่อยู่ในเรือ) ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ด้วยคุณธรรม และปัญญา
อักษร DS และไม้กางเขน
[แก้]ย่อจากภาษาฝรั่งเศส "Dieu Seul" หมายความว่า จะทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระเจ้า เป็นคติพจน์ของนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ ผู้สถาปนาคณะเซนต์คาเบรียล — โดยอีกนัยหนึ่ง D หรือ Divinity หมายถึงศาสนา ซึ่งเราทุกคนต้องมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ, เครื่องหมายกางเขน เป็นเครื่องหมายแห่งความรัก และความเสียสละ ดังที่พระคริสต์ได้ทรงสละชีวิตของพระองค์ด้วยความรัก ที่จะช่วยไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์, S หรือ Science หมายถึงวิทยาการ ความรู้ที่ทำให้เรามีเหตุผล เราทุกคนควรจะมุ่งหาความรู้อยู่เสมอ ยิ่งเรามีความรู้ฝ่ายโลกมากขึ้นเท่าได เราก็ยิ่งควรสนใจหาความรู้ฝ่ายธรรมให้มากขึ้นเท่านั้น
สำหรับพวงดอกไม้ที่ประดับโล่ เป็นมาลัยเกียรติยศที่จะเตือนใจทุกคนให้กระทำความดีให้เชิดชู และจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียงของสถาบันมิให้เสื่อมสูญสลายไป
สถานที่สำคัญภายในโรงเรียน
[แก้]ตึกมาร์ติน เดอ ตูรส์ หรือ ตึกแดง (พ.ศ. 2463)
[แก้]เป็นตึก 3 ชั้นเก่าแก่ที่สุด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2463 โดยท่านเจษฎาจารย์มาร์ติน เดอ ตูรส์ อธิการท่านแรกเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างเองด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก บัดนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนเซนต์คาเบรียลไปแล้ว ซึ่งได้รับการบูรณะและอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่โรงเรียน ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของหน่วยสนับสนุนการเรียนการสอน พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง ห้องเกียรติยศ และห้องประชุมแบบครบวงจร
ตึกเดอ มงฟอร์ต
[แก้]เป็นอาคาร 4 ชั้น ชั้นล่าง และชั้นสองเป็นโรงอาหารนักเรียน และหอประชุม มีห้องสมุดกลาง พิพิธภัณฑ์ผีเสื้อและแมลงของภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย พิพิธภัณฑ์เรือจำลอง พิพิธภัณฑ์แร่และซากฟอสซิล ห้องเรียนและฝึกซ้อมศิลปะการแสดงนาฏศิลป์(โขน) ดนตรีไทย และดนตรีสากล
ตึกจอห์น แมรี่
[แก้]เป็นอาคารที่พักของอาจารย์ชาวต่างชาติ มีประตูเชื่อมจากภายนอกโรงเรียน
ตึกเกรก ยิมเนเซียม (พ.ศ. 2514)
[แก้]เป็นตึก 5 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 มีสนามบาสเกตบอลในร่มพร้อมอัฒจันทร์เชียร์ ชั้นบนใช้เป็นห้องเรียนชั้นประถมศีกษาปีที่ 6 ห้องกิจกรรมทางภาษาต่างประเทศ(ภาษาจีน) และเป็นลานเอนกประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศีกษาปีที่ 6
ตึกฟาติมา ร.ศ.200 (พ.ศ. 2523)
[แก้]เป็นตึก 7 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นอาคาร 7 ชั้น โดยอาคารหลังนี้ใช้เป็นห้องเรียนชั้น ป.1-2 และ ป.5 ทุกห้องติดเครื่องปรับอากาศ สนามเทนนิส และสนามบาสเกตบอล รวมทั้งห้องคอมพิวเตอร์ระดับประถม ห้องกิจกรรมภาษาอังกฤษ ห้องพยาบาลแผนกประถมศึกษา ชั้น 7 เดิมที่เป็นสนามเทนนิส ปัจจุบันปรับเป็นห้องกิจกรรมย่อย มีสนามเด็กเล่นอยู่ชั้น 3
ตึกฮิวเบิร์ต เมโมเรียล (พ.ศ. 2529)
[แก้]สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นอาคาร 4 ชั้น มีที่จอดรถครู สระว่ายน้ำ ศูนย์ภาษาต่างประเทศโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ห้องสอบรวม และส่วนงานซ่อมบำรุงอาคารสถานที่ (ที่ตั้งของสมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล)
ตึกแอนดรูว์ เมโมเรียล 2000 (พ.ศ. 2544)
[แก้]เป็นตึก 6 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2544 ใช้เป็นสถานที่เรียนของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ห้องพยาบาลแผนกมัธยมศึกษา ห้องพักครูหมวดภาษาต่างประเทศ โบสถ์น้อยประจำโรงเรียน และห้องพักคณะภราดา
ตึกแม่พระ (พ.ศ. 2550)
[แก้]สร้างเมื่อ พ.ศ. 2550 เพื่อทดแทนตึกแม่พระหลังเดิม และตึกวิทยาศาสตร์ ซึ่งทรุดโทรมลงตามกาลเวลา และหมดสภาพการใช้สอย เป็นอาคารเรียน 6 ชั้น รวมรวมชั้นใต้ดิน ภายนอกประดิษฐานรูปปั้นพระแม่มารีทรงแผ่พระหัตถ์ประทานพรงดงามมาก ภายในอาคารมีลานจักรราษี เป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 มีโรงยิมเนเซียม ซึ่งมีสนามบาสเกตบอลในร่มขนาดมาตรฐาน โต๊ะกิจกรรมกีฬาปิงปอง และสระว่ายน้ำในร่มขนาดใหญ่สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โถงชั้นใต้ดินสามารถใช้เข้าแถวและจัดกิจกรรมอื่นๆได้ มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ครบวงจร ห้องกิจกรรมทางภาษา ห้องออดิทอเรียม ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของระดับชั้นมัธยมศึกษา ห้องแนะแนว ห้องปกครอง ห้องศิลปะ ห้องพลศึกษา และห้องปฏิบัติการส่งเสริมการคิด (Thinking lab)
ตึก 90 ปี เซนต์คาเบรียล (พ.ศ. 2553)
[แก้]เป็นอาคาร 5 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2553 เป็นห้องประชุมสัมมนา ห้องทำงานภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ ที่ทำงานฝ่ายบริหารอาคารสถานที่ ที่ทำงานสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ห้องปฏิบัติงานพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามแนวมนุษยปรัชญา และศูนย์การเรียนร่วมของนักเรียนผู้พิการทางสายตา มีทางเชื่อมกับสะพานลอยคนข้ามหน้าโรงเรียน
ตึก Annunciation หรือ ตึกแม่พระรับสาร (พ.ศ. 2555)
[แก้]สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2555 เป็นสถานที่เรียนของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติธรรม (มีพระบรมสารีริกธาตุจำลอง)
สนามมาร์ติน เดอ ตูรส์
[แก้]สนามฟุตบอลหญ้าเทียมขนาดใหญ่ที่ใช้หญ้าเทียมคุณภาพสูง ล้อมสนามสองด้านด้วยอัฒจันทร์เชียร์ที่มีหลังคาผ้าใบเลื่อนเปิดปิดได้
เจษฏาธิการและผู้บริหาร
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | ภราดา มาร์ติน เดอ ตูรส์ | ค.ศ.1920 - ค.ศ.1926 |
2 | ภราดา เฟเดอริก ยัง (สมัยที่ 1) | ค.ศ.1926 - ค.ศ.1932 |
3 | ภราดา ฮิวเบิร์ต (สมัยที่ 1) | ค.ศ.1932 - ค.ศ.1938 |
4 | ภราดา เฟเดอริก ยัง (สมัยที่ 2) | ค.ศ.1938 - ค.ศ.1941 |
5 | ภราดา เทโอฟาน เวอนาร์ด ชิน บุณยานันท์ | ค.ศ.1941 - ค.ศ.1944 |
6 | ภราดา เอลอยเซียส | ค.ศ.1944 - ค.ศ.1947 |
7 | ภราดา มงฟอร์ต เดอ โรซาริโอ | ค.ศ.1947 - ค.ศ.1953 |
8 | ภราดา ยอห์น มารี | ค.ศ.1953 - ค.ศ.1955 |
9 | ภราดา ฮิวเบิร์ต (สมัยที่ 2) | ค.ศ.1955 - ค.ศ.1961 |
10 | ภราดา มงฟอร์ต เดอ โรซาริโอ (สมัยที่ 2) | ค.ศ.1961 - ค.ศ.1966 |
11 | ภราดา อัลฟอนซัส เดอ ลิกัวรี โยธิน ศันสนยุทธ | ค.ศ.1966 - ค.ศ.1968 |
12 | ภราดา ดร. ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ | ค.ศ.1968 - ค.ศ.1974 |
13 | ภราดา ฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ (สมัยที่ 1) | ค.ศ.1974 - ค.ศ.1977 |
14 | ภราดา มีศักดิ์ ว่องประชานุกูล | ค.ศ.1977 - ค.ศ.1983 |
15 | ภราดา ฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ (สมัยที่ 2) | ค.ศ.1983 - ค.ศ.1985 |
16 | ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ | ค.ศ.1985 - ค.ศ.1991 |
17 | ภราดา อรุณ เมธเศรษฐ์ | ค.ศ.1991 - ค.ศ.1997 |
18 | ภราดา เลโอ โยเซฟ ดร. วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์ | ค.ศ.1997 - ค.ศ.2003 |
19 | ภราดา ดร. อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ | ค.ศ.2003 - ค.ศ.2013 |
20 | ภราดา ผศ.ดร. วินัย วิริยวิทยาวงศ์ | ค.ศ.2013 - ค.ศ.2018 |
21 | ภราดา ดร. มณฑล ประทุมราช | ค.ศ.2018 - ค.ศ.2022 |
22 | ภราดา ดร. สุรกิจ ศรีสราญกุลวงศ์ | ค.ศ.2022 - ปัจจุบัน |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- พระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ (SG 5434) มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่
- ภราดาประทีป ม. โกมลมาศ คณะภราดาเซนต์คาเบรียล อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
- หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- ขวัญแก้ว วัชโรทัย (SG 2418) รองเลขาธิการพระราชวัง
- แก้วขวัญ วัชโรทัย (SG 2419) เลขาธิการพระราชวัง
- พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (SG 4925) อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ประธานองคมนตรี, นายกรัฐมนตรีคนที่ 24
- ภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล อดีตอธิการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล, อดีตอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี, อดีตอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง, อดีตอธิการโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา , อดีตอธิการโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่, อดีตอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
- ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ได้รับยกย่อง "บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย", อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ประธานจัดงานกล้วยไม้โลก, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์คนแรกของสถาบันฯ และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย
- ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (SG 7750) อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ (SG 5951) เลขาธิการอังก์ถัด (UNCTAD), อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ไสว พัฒโน อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย,อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย,อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม,อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 8 สมัย
- กร ทัพพะรังสี (SG 5881) ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา, อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล (SG 6268) อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ , อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- สมัคร สุนทรเวช (SG 3657) หัวหน้าอดีตพรรคพลังประชาชน, อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 25
- พลเรือเอก ณรงค์ ยุทธวงศ์ ร.น. อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, สมาชิกวุฒิสภา
- พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์(SG 8306) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ (SG 4961) เป็นรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (SG 4799)
- ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (SG 5237)
- ร้อยเอก นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (SG 10117)
- ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- กล้านรงค์ จันทิก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ดุละดิลก ดุละลัมพะ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- พงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
- พันตำรวจเอก ยุทธบูล ดิสสะมาน เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
- พลเอก วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
- พลเอก วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- ศาสตราจารย์ วิโรจน์ เลาหพันธุ์ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
- ดร.รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร
- จุฑาธวัช อินทรสุขศรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ไชย ไชยวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ประกิจ ประจนปัจจนึก เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอก ปรีชา เปรมาสวัสดิ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (เขต 9 จตุจักร)
- ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- จุติ ไกรฤกษ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- องอาจ คล้ามไพบูลย์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- พลเอก รัชกฤต กาญจนวัฒน์ เสนาธิการทหาร (SG 7453)
- กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี (SG 7358)
- พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (SG 10527)
- นายแพทย์ พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน (SG 12766)
- ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (SG 14114)
- พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- ดร.สมชัย สัจจพงษ์ (SG 11054) อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)
- ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี (SG 9657) กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายวิจัยพัฒนา บริษัท ถ้วยทองโอสถ จำกัด
- พลเอก สสิน ทองภักดี (SG 12040) อดีตเสนาธิการทหารบก
- พยง ศรีวนิช (SG 14019) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย
- อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (SG 23771) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ และ ประธานสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี (Leicester City Football Club) ประเทศอังกฤษ
- อภิชาติ สุดแสวง (SG 14847) กงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรเลโซโท ประจำประเทศไทย
- พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (SG 11975) อดีตผู้บัญชาการทหารบกเเละอดีตสมาชิกวุฒิสภา
- ศิลปินและนักแสดง
- เรวัต พุทธินันทน์ (SG 7018) ผู้ก่อตั้ง บริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ หรือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ เจ้าของนามปากกา หมอ นักวาดการ์ตูนและภาพประกอบ เจ้าของรางวัล The Aydin Dogan Foundation's Cartoon Competition Award 2007 และ The ESCAP 50th Anniversary Cartoon Exhibition, Third Prize in 1997 ยังเป็นทีมงานเขียนภาพประกอบในพระราชนิพนธ์เรื่อง คุณทองแดง ฉบับการ์ตูน
- ศรราม เทพพิทักษ์ นักร้องและนักแสดง
- ธนชัย อุชชิน นักร้อง
- นภ พรชำนิ นักร้อง
- ธนา ลวสุต นักร้อง นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์
- วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ กูรู นักลงทุนบูติคโฮเตลและนักเขียน
- ธามไท แพลงศิลป์ นักร้อง
- ภาราดา ชัชวาลโชติกุล นักแสดง
- อนุภาษ เหลืองสดใส นักแสดง
- อัศวพัทธ์ อัศวธีรากุล นักแสดง
- ปฐมวรรธน์ วันสุขประเสริฐ นักแสดง
- วรปรัชญ์ เดชขจรวุฒิ นักแสดง
- อรรถนันต์ ปิยเศรษฐ์ นักแสดง
- นภันต์ธนัชย์ พ่วงออมสิน นักแสดง
- ณัชพัณณ์ ปรมะเจริญโรจน์ นักแสดง
- จุฑาวุฒิ ภัทรกำพล นักแสดง
- พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล (SG 30745) นักร้อง นายแบบ และนักแสดง
- ณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุล (SG 34046) นักร้อง นายแบบ และนักแสดง สังกัดจีเอ็มเอ็มทีวี
- ทีปกร ขวัญบุญ (SG 33092) นักแสดงและนายแบบ สังกัดจีเอ็มเอ็มทีวี
- ธนัท ด่านเจษฎา (SG 32513) นักร้องและนายแบบ สังกัดจีเอ็มเอ็มทีวี
- ปัณณวิชญ์ พัฒนศิริ นักแสดง
- ภาสวิชญ์ ธรรมสังคีติ นักแสดง สังกัด เทีย 51 จำกัด
หมายเหตุ ตัวอักษร SG หมายถึง หมายเลขประจำตัวนักเรียนของผู้นั้น
อ้างอิง
[แก้]- ธรรมนูญโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ปี พ.ศ. 2542 - 2544
- นิตยสารผู้จัดการ กันยายน พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2008-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- ศูนย์รวมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล เก็บถาวร 2005-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ศิษย์เก่าอย่างเป็นทางการ
- มูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
- สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล
- ศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล รุ่น 2527 (อโศกผลัดใบ) เก็บถาวร 2011-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- WebBlogเพื่อศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์